f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report:SAR)
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านคลองลุ
วันที่   19   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 283
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา   

  ชื่อโรงเรียนบ้านคลองลุ ที่อยู่ 88/1 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองลุ  อำเภอกันตัง   จังหวัดตรัง  รหัสไปรษณีย์ 92110  เบอร์โทรศัพท์ 075-292709 E–mail : klonglu.ll@gmail.com  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก ระดับก่อนประถม และระดับประถมศึกษา 

         เขตพื้นที่บริการ 3 หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านคลองลุ , หมู่ที่ 2 บ้านท่าดาน , หมู่ที่ 7 บ้านท่าจูด

         ปัจจุบันมีผู้บริหารโรงเรียนชื่อ นางสาวสุริยาพร  ฮ่องช่วน 

         จำนวนครู 10 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู 9 คน  ครูอัตราจ้าง 1 คน

         จำนวนนักเรียน รวม 124  คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล  28  คน ระดับประถมศึกษา  96  

         โรงเรียนบ้านคลองลุ มุ่งพัฒนานักเรียนทุกคนให้ได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการ เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมในทุกๆด้านอย่างมีคุณภาพตามหลักสูตร เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม นำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การพัฒนาโรงเรียนในทุกๆด้านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีประสิทธิภาพที่ดี   สอดคล้องกับ

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน“พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษามีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญอยู่อย่างพอเพียงประสานความร่วมมือจากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบ”

อัตลักษณ์ของโรงเรียน “มีความรู้และมีทักษะด้านกีฬา เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกายและจิตใจ มีสมรรถภาพร่างกายตามเกณฑ์ที่กำหนด”    

          เอกลักษณ์ของโรงเรียน  “น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมความรู้ด้านศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย นำมาปฏิบัติ”  

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.3    มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

 

1.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          กระบวนการพัฒนา

              สถานศึกษาจัดอาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม)ให้กับเด็ก โดยจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารกลางวันและดื่มนมทุกวัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุกเดือนส่งเสริมสุขภาพอนามัย จัดประสบการณ์ให้เด็ก มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ เพื่อให้ทำงานอย่างมีความสุข มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม ครูจัดกิจกรรมให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยจัดกิจกรรมพัฒนาทางด้านสติปัญญา มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการงานศิลปะ

          ผลการพัฒนา

            เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ รู้จักหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ อุบัติภัยที่เสี่ยงอันตราย ระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย เป็นคนร่าเริงแจ่มใส ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย ชื่นชมในศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหวสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน เด็กมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและปฏิบัติตนตามศาสนาที่ตนนับถือได้

จุดเด่น

เด็กมีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานมีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปฏิบัติตนตามศาสนาที่ตนนับถือผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก

จุดที่ควรพัฒนา

ควรจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความมั่นใจ ความกล้าแสดงออกให้กับเด็ก ครูกับผู้ปกครองควรร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพฤติกรรมของเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน การทำข้อมูลเด็กรายบุคคล แล้วนำผลมาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1การจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มอย่างหลากหลาย

2ส่งเสริมครูในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และเน้นให้เด็กปฐมวัยปฏิบัติ (Active Learning)

3. ส่งเสริมพัฒนาครูเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านทักษะและการใช้นวัตกรรมในงานที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายพร้อมติดตามนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ครอบคลุมพัฒนาการ    ทั้ง 4 ด้าน จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียนซึ่งครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยตามโครงการพัฒนาบุคลากรทุกคนมีโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ครูได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อนำมาใช้จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก โดยเข้ารับการอบรม สัมมนาของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่นจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์ต่าง  ๆให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดโดยมีคณะกรรมการสถานศึกษามามีส่วนร่วมในการจัดทำและให้ความเห็นชอบมีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ผลการพัฒนา

สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีครูเพียงพอกับชั้นเรียนและเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน ซึ่งครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยทุกคนครูสามารถวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยและมีทักษะในการจัดประสบการณ์โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญและการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนคำนึงถึงความปลอดภัย มีมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบเสาะหาความรู้และจัดกิจกรรมให้กับเด็ก มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเพียงพอและหลากหลายมีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ ที่สถานศึกษากำหนด มีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายใน โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วม ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีและจัดส่งรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด 

จุดเด่น

สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่นมีครูเพียงพอกับชั้นเรียนและเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอนมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบเสาะหาความรู้และจัดกิจกรรมให้กับเด็กมีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศวัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเพียงพอและหลากหลายมีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยมีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษามีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในโดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วม

          จุดที่ควรพัฒนา

ส่งเสริมพัฒนาให้ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์แบบอิงมาตรฐานโดยใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยยกระดับการจัดประสบการณ์เทียบเคียงมาตรฐานสากล หาเทคนิควิธีการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ ศึกษาและจัดทำวิจัยชั้นเรียน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

แผนงานด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ของห้องเรียนอนุบาลให้ได้มาตรฐาน มีสื่อสนาม เด็กเล่นทีดี

 

1.3  มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          กระบวนการพัฒนา

           จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนที่สอนโดยครูและภายนอกห้องเรียน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์ต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็กประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครอง เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          ผลการพัฒนา

            ครูจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้ง 4 ด้าน จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีพื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ครูมีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันและนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์กับผู้ปกครองเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาเด็ก

จุดเด่น

มีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญาด้านอารมณ์และจิตใจ และด้านสังคมสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีพื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ครูมีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุและวัยของเด็ก

จุดที่ควรพัฒนา

สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในสถานศึกษาระหว่างสถานศึกษาผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบและกำหนดการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

ครูได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อนวัตกรรม จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ นำมาจัดทำสื่อการสอนประกอบแผนการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมหลัก 6 หลักและเน้นผู้เรียนให้ลงมือ ปฏิบัติได้รับประสบการณ์จริง และจัดกิจรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานที่เด็กชอบและสนใจ

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

           2.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

           2.2  มาตรฐานที่ 2   กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ ในระดับ ดีเลิศ

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

           2.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

                 กระบวนการพัฒนา

                   โรงเรียนบ้านคลองลุส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมทักษะในการทำงานที่เน้นการลงมือปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เน้นให้เกิดทักษะในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสามารถในการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครบตามมาตรฐานตัวชี้วัดตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีงาม มีจิตอาสา รักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี กล้าแสดงออก ยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่มีความหลากหลาย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                   ผลการพัฒนา

                   ด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามเกณฑ์  การอ่านของสถานศึกษา พบว่าผู้เรียน มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 52.08  ผลการประเมินการอ่านในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80.23  คิดวิเคราะห์ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 52.08  และเขียนในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 78.09  ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 73.59 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สืบค้นข้อมูล ความรู้จากอินเตอร์เน็ตนำมาใช้ในการทำโครงงานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงงานคุณธรรมชิ้นงาน ทำให้ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ผู้เรียนทุกคนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไปของสถานศึกษาคิดเป็นร้อยละ 100  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น สามารถดูแลสุขภาพกาย มีสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริง แจ่มใส และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

        จุดเด่น

   โรงเรียนบ้านคลองลุจัดให้มีโครงการและกิจกรรมที่รองรับสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมีความเท่าเทียมกัน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง

        จุดที่ควรพัฒนา

        ครูควรมีการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆและมีความหลากหลายอยู่เสมอ โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

           1. โรงเรียนมีการกำหนดกรอบโครงการและกิจกรรมที่มีความครอบคลุม มีการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการและกิจกรรมที่มีความเร่งด่วนในการที่จะนำมาปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นมาเป็นพื้นฐานในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน

          2. มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้ครูได้ทราบถึงปัญหา ข้อดี ข้อบกพร่องของผู้เรียนแต่ละคน ครูจะได้คิดนวัตกรรม ชิ้นงาน ใบงาน เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามความสามารถของแต่ละบุคคล

2.2  มาตรฐานที่ 2   กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ    ยอดเยี่ยม

                กระบวนการพัฒนา

                    โรงเรียนบ้านคลองลุมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนไว้อย่างชัดเจน มีการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทฤษฎี  KLTEAM โมเดลในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนตรงตามหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญทางอาชีพ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

              ผลการพัฒนา

           โรงเรียนบ้านคลองลุมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่มีความชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนในทุกๆด้านเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตรงตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมและพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความ  ร่มรื่น สวยงาม เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่เพียงพอเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

      จุดเด่น

       โรงเรียนมีระบบการประกันคุณภาพภายใน มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมทุกด้าน มีการกระจายอำนาจบริหารงาน 4 ฝ่ายอย่างชัดเจน ชุมชนให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการเป็นอย่างดี

       จุดที่ควรพัฒนา

                 บุคลากรขาดความชำนาญในการใช้สื่อเทคโนโลยีในการผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่างๆที่มีความทันสมัย และขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่ตรงตามวิชาเอกในบางวิชา

        แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

               1. ส่งเสริม และกระตุ้นความสนใจให้ครูได้รับการอบรมเทคนิคการสร้างสื่อเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆจากหน่วยงานที่มีการจัดอบรมออนไลน์ เพื่อให้ครูได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญสามารถนำเทคนิคต่างๆมาจัดทำสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน

                      2. สถานศึกษามีการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้มีความคลอบคลุมทุกพื้นที่และสามารถใช้งานได้

         2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ ในระดับ ดีเลิศ

               กระบวนการพัฒนา

             โรงเรียนบ้านคลองลุได้จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดและได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมตามโครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ครูมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้ มีการส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มีกิจกรรมวางทุกงาน อ่านทุกคน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนหันมาอ่านหนังสือให้มากขึ้น มีการบริหารจัดการเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก มีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการนิเทศติดตามเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้

                 ผลการพัฒนา

      นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการทำงาน จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงจนเกิดความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปบูรณาการในการดำเนินชีวิตประจำวัน นักเรียนได้เรียนรู้การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบไลน์ช่วยให้ครูและนักเรียนเข้าถึงระบบการจัดการเรียนการสอนที่ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)  โรงเรียนมีห้องสมุดสำหรับให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ มีแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูมีการวัดและประเมินผลด้วยกระบวนการที่หลากหลาย และครอบคลุมพฤติกรรมในทุกๆด้าน มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ในโอกาสต่อไป

      จุดเด่น

       สถานศึกษาจัดกระบวนการการเรียนการสอนผ่านกระบวนการคิดและฝึกให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงมีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมีการบริหารจัดการเชิงบวก วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย นำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

        จุดที่ควรพัฒนา

               โรงเรียนยังขาดการติดตามในส่วนของการจัดทำเอกสารที่เป็น เอกสาร หลักฐาน ร่องรอยของการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งผลให้บางกิจกรรมดำเนินกิจกรรมไปแล้วแต่ยังขาดการรายงานหรือการบันทึกร่องรอยการดำเนินงานให้เป็นปัจจุบัน

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

                1. โรงเรียนมีการติดตามในส่วนของการจัดทำเอกสารที่เป็น เอกสาร หลักฐาน ร่องรอยของการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน

                      2. ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำปัญหาที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนมาแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น

        

 สุริยาพร  ฮ่องช่วน

(นางสาวสุริยาพร  ฮ่องช่วน)

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองลุ



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.