f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผนแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม
วันที่   19   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 272
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน                โรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม 

ตั้งอยู่ที่                     เลขที่ 1๕๖ หมู่ 5 ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 

สังกัด                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน      นางสาวสายขวัญ  ยังช่วย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม

เบอร์โทรศัพท์              0๘๓-๓๕๕๙๙๐๐

จำนวนครู                  มีบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๑๐ คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 7 คน  พนักงานราชการ ๑ คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน

จำนวนนักเรียน            ทั้งหมด 117 คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา 26 คน

ระดับชั้นประถมศึกษา 91 คน

เปิดสอนระดับ             ชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

          ๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ยอดเยี่ยม

. กระบวนการพัฒนา

   โรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีรูปแบบการจัดการเรียนสอนเป็น ๓ รูปแบบ ได้แก่ On-Line  On-demand และOn-hand ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ของจังหวัดตรัง ครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการ เทคนิค รูปแบบที่ทันสมัย น่าสนใจ ผ่านเครื่องมือสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ โดยจะมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านช่องทาง Application ต่าง ๆ เช่น Line Facebook : Online Learning ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดโครงการ กิจกรรมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามสภาพที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

. ผลการพัฒนา

    เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์กัน มีสุขนิสัยการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีและปฏิบัติจนเป็นนิสัยได้ ปฏิบัติตนในการหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีพฤติกรรมร่าเริงแจ่มใส รู้จักยอมรับ ชื่นชม และพอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น กล้าพูด กล้าแสดงออก เหมาะสมกับวัย รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นตามโอกาส ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมาะสมกับวัย รู้จักปฏิบัติตนได้ตามมารยาทไทย มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย รู้จักคิดแก้ปัญหาตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้ และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

๓. จุดเด่น

              เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายสถานศึกษา               กำหนด มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตร มีโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาให้บรรลุเป้าหมาย ปรัชญา  วิสัยทัศน์และจุดเน้นการศึกษาปฐมวัย มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารและผู้ปกครองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

๔. จุดควรพัฒนา

                    ๔.1 ควรส่งเสริมให้เด็กดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและปฏิบัติจนเป็นนิสัยดูแลเด็กให้รู้จักการหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะในปัจจุบันมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙
                    ๔.2 ควรส่งเสริมให้เด็กรู้จักการไหว้การยิ้มทักทายมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่  การมี
มารยาทในการพูด การรู้จักใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

          ๔.3 ครูพัฒนาเทคนิคการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิด สร้างสรรค์ และส่งเสริมด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง

๕. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

                    ๕.๑ พัฒนาเกี่ยวกับการใฝ่เรียน ใฝ่รู้ สนใจเรียนรู้รอบตัว การซักถาม สำรวจ ทดลอง การสังเกต       การพูดคุย ไต่ถาม การถ่ายทอดความคิด และทดลองวิธีการใหม่ ๆ ที่แตกต่าง
                    ๕.2 ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ให้มากขึ้นและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

 มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

. กระบวนการพัฒนา

    โรงเรียนบ้านทุ่งยางงามได้ดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาโดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการวางแผน และจัดอัตรากำลังครูให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและห้องเรียน  ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดทักษะและมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ   เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนปฐมวัย มีการจัดสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งมีสื่อและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้

. ผลการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น มีครูเพียงพอต่อชั้นเรียน ครูมีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของครูเครือข่ายปฐมวัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่สะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

๓. จุดเด่น

    โรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น และลงมือปฏิบัติจริงการจัดการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีครูจบการศึกษาปฐมวัยและครูประขำการที่ผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัยครบชั้น    ทำให้การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการส่งเสริมพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านวิชาชีพแก่ครู และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และมีการเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัด

การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
          ๔. จุดควรพัฒนา

                    ๔.1 ใช้สื่อและเทคโนโลยีการสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์และพัฒนาการของเด็ก

                    ๔.2 จัดกิจกรรม PLC ในสายชั้นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

           ๕. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          ๕.1 สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง  มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
                    ๕.2 ส่งเสริมและพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมแบบ Active Learning กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมสะเต็มศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

. กระบวนการพัฒนา

    โรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม ดำเนินการส่งเสริมให้ครูระดับปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน คือด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างสมดุล และเต็มศักยภาพ โดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบและบูรณาการการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-9) โดยผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการความสนใจความสามารถตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบ มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีมาบูรณาการการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย

. ผลการพัฒนา

   ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มศักยภาพ เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ครูสามารถจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน และเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้เด็ก ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือการวัด และวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุม เหมาะสมกับวัยเด็ก ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย 

๓. จุดเด่น

จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลศักยภาพ โดย ครูมีการวิเคราะห์เป็นรายบุคคล มีการจัดทำแผนประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถ ซึ่งกิจกรรมที่หลากหลายสามารถสนองตอบการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล เด็กได้เล่นเรียนรู้ ลงมือและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุง แก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

      ๔. จุดควรพัฒนา

              ๔.๑ ครูควรได้รับการอบรมการพัฒนาศักยภาพของด้านการผลิตสื่อการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  มีการติดตามและประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 

    ๔.2 ครูจัดกิจกรรมให้เด็กแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

    ๔.3 การนำผลสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของครู มาเป็นประเด็นในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน

๕. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

    ๕.1 ส่งเสริม และพัฒนาการใช้สื่อเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ให้มากกว่าเดิม

              ๕.2 เชิญวิทยากรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง  เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้  ลงมือทำ  และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.