f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self - Assessment Report SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๔
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหาดยาว
วันที่   23   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 355
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน                 โรงเรียนบ้านหาดยาว

ตั้งอยู่ที่                      เลขที่ 36 หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์92110

โทรศัพท์                    083-4264701 

E – mail                   Banhadyao@gmail.com 

สังกัด                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน       นายคุณากร ดำนิล

โทรศัพท์                    083-4264701

จำนวนครูและบุคลากร    มีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน  จำแนกเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  จำนวน 1 คน ข้าราชการครู 3 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน และวิทยากรอิสลาม จำนวน 1 คน

เปิดสอนระดับ             ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

จำนวนนักเรียน            ทั้งหมด 63 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 2 และ 3 จำนวน 13 คน

และระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 50 คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.     ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดี

          กระบวนการพัฒนา

          1. โรงเรียนบ้านหาดยาว จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนบ้านหาดยาวจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะปริมาณเหมาะสมตามวัยมีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอมีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นและอออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหว ร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแล รักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลง เกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และ ระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย โรงเรียนมีการออกแบบหลักสูตรบูรณาการที่ได้กำหนดหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและปลูกฝังเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพร่างกาย การออกกำลังกาย เพื่อให้เด็กสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ได้แก่ หน่วยการเรียนตัวเรา หน่วยการเรียนอาหารดีมีสุข และหน่วยการเรียนปลอดภัยไว้ก่อน ซึ่งส่งเสริมให้เด็กฝึกตั้งคำถามเพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองส่งผลให้สามารถพัฒนาคุณภาพของเด็กได้ดี

         2. โรงเรียนบ้านหาดยาว ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนมีความอดทนมีความมั่นใจกล้าพูดกล้าแสดงออกยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะดนตรีให้เด็กได้วาดภาพระบายสีเพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใสให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนานมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียนโดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และมีการจัดกิจกรรมร้องเล่นเต้นอ่านให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน ได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ เพื่อให้เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอยยอมรับและพอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสํานึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว มีการจัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพื่อฝึกการช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น  มีการจัดกิจกรรมนั่งสมาธิ  กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ เพื่อพัฒนาจิตใจ

3. โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ทักทาย และมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ เป็นต้น ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไข ข้อขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง จัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน ดังนี้ จัดกิจกรรมเสรีหรือกิจกรรมการเล่นตามมุม เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสใหเด็กได้เล่นกับสื่อสื่อและเครื่อง เล่นอย่างอิสระตามมุมเล่น เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจ และความตองการของเด็ก ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย โดยจัดให้เด็กได้เลือกเล่นในมุมต่างๆ

4. โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศ  ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง    มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย ผ่านทางไลน์กลุ่ม โรงเรียนจึงกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาให้เด็กอย่างน้อยร้อยละ๗5  ของเด็กทั้งหมดมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิด พื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ ในระดับดี   โรงเรียนได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย รวมทั้งโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

            ผลการพัฒนา

            โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของนักเรียนระดับปฐมวัยทุกคน จำนวน 13   แล้วนำมาประเมินตามเกณฑ์ของสถานศึกษา พบว่า

1. การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย พบว่า เด็กอนุบาล 2 และอนุบาล  3  จำนวน 13 คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายในระดับดี  จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 (เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ๘๐ )  จากกระบวนการพัฒนาส่งผลให้เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหว ร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแล รักษาสุขภาพอนามัยตนเองและปฏิบัติจนเป็นนิสัย  รับประทานอาหารหารกลางวันได้เอง  แปรงฟัน ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และ ระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์   ที่เสี่ยงอันตรายได้

2. การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ  เด็กจำนวน ๑๓ คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ในระดับดี  จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๖๒  (เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ๘๐ ) จากกระบวนการพัฒนาส่งผลให้เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสํานึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ  รู้หน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ชื่นชมและมีความสุขกับงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

  3. การประเมินพัฒนาการด้านสังคม  เด็กจำนวน ๑๓ คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านสังคมในระดับดี  จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๖๒   (เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ๘๐ ) จากกระบวนการพัฒนาส่งผลให้เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ทักทาย การนั่ง การเดินและมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ เป็นต้น ยอมรับหรือเคารพความ แตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไขข้อขัดแย้ง โดยไม่ใช้ความรุนแรง

  4. การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา เด็ก จำนวน ๑๓ คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับดี จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๙๒  (เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ๗๕) ระดับพอใช้จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๐๘  จากกระบวนการพัฒนาส่งผลให้เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคําถาม ในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคําตอบ อ่านนิทาน และเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิด รวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิด แก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้ สร้างสรรค์ผลงาน ตามความคิดและจินตนาการ เช่น งานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง การเล่นอิสระ เป็นต้น และใช้สื่อเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้

         จุดเด่น

         เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุภัยและสิ่งเสพติด มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใสร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

         จุดที่ควรพัฒนา

 

-  ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน

-  การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

                    -  การพัฒนาปลูกฝัง ในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหารล้างมือ                  ก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เป็นนิสัย 

-  การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ

-  การใช้วาจาที่สุภาพเหมาะสมกับวัย

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          1. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้         มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตดีซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับ ได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย โครงการอาหารกลางวัน โครงการ/กิจกรรมอื่นๆ เน้นให้ผู้เรียนได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ บริการห้องพยาบาลให้ผู้ป่วยได้ใช้บริการในยามเจ็บป่วย  และนำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

          2. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย  กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้  กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมนั่งสมาธิ กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ  กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ  และเชิญผู้ปกครองหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาให้ความรู้ หรือปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามให้กับเด็ก และนำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

          3. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย  กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ กิจกรรมนั่งสมาธิ กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ  กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ  เชิญผู้ปกครองหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาให้ความรู้ หรือปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามให้กับเด็กและจัดสภาพแวดล้อมสนามหญ้าและเครื่องเล่นสนามให้มีความดึงดูดความสนใจต่อเด็กมากขึ้น นำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

          4. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย  กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้  กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดสื่อการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน และทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้ทดลอง สังเกต ได้ลงมือปฏิบัติจริงรวมทั้ง เชิญผู้ปกครองหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาให้ความรู้  นำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

               มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดี

              กระบวนการพัฒนา

     1. โรงเรียนบ้านหาดยาว  ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย  สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และบริบทท้องถิ่น โดยผู้บริหาร ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัย และจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา  สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของท้องถิ่นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์  โดยจัดทำโครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย  การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  กิจกรรมเสรี  กิจกรรมกลางแจ้ง  กิจกรรมเกมการศึกษา  เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้บริหารโรงเรียนได้มีการกำกับ นิเทศ  ติดตาม การดำเนินงานโดยการเยี่ยมชั้นเรียน, การนิเทศภายใน เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

       2. โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียน การสอนหรือจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนได้จัดครูผู้สอนมีวุฒิการศึกษาปฐมวัยเหมาะสมกับชั้นเรียน  โดยโรงเรียนประชุมคัดเลือกครูผู้สอนปฐมวัยให้ตรงตามวิชาเอกและความถนัด เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้ตามภารกิจ ทั้งนี้ในระดับปฐมวัยได้จัดครูที่มีวุฒิการศึกษาปฐมวัยและ ครูที่ผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัย 

      3. โรงเรียนบ้านหาดยาว ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล โรงเรียนได้ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล  สามารถวิเคราะห์หลักสูตร  ออกแบบการจัดประสบการณ์  ประเมินพัฒนาการของเด็กโดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น สังเกต  สัมภาษณ์เด็ก  สอบถามผู้ปกครอง  โดยการส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนาจากองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ  อย่างต่อเนื่อง  สนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองทางด้านประสบการณ์และวิชาชีพ  เช่น  กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โครงการพัฒนาบุคลากร กิจกรรมนิเทศการสอนครูตลอดปีการศึกษา กิจกรรมศึกษาดูงาน กิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอน จัดทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ เป็นต้น

     4 . โรงเรียนบ้านหาดยาว จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่ม เล่นแบบร่วมมือร่วมใจ มีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ สื่อสำหรับเด็กมุด ลอด ปีนป่าย สื่อเทคโนโลยี สื่อเพื่อการสืบเสาะหาความรู้ โรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ  โดยจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ให้มีความปลอดภัยและเพียงพอ  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่ม  มีมุมประสบการณ์ เช่น มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีห้องสมุด สนามเด็กเล่น ที่รับประทานอาหาร ห้องน้ำ มีสื่อการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและเพียงพอ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ เครื่องเล่นสนามและสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์อย่างมีคุณภาพ  ครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดทั่วถึง โดยจัดทำกิจกรรมอนุรักษ์ พัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นต้น

      5. โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้อํานวยความสะดวก และให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู โรงเรียนได้จัดให้มีระบบอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงเรียน  โทรทัศน์ที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์  ตลอดจนสื่อการเรียนรู้  เพื่อสนับสนุนครูในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก และการพัฒนาตนเอง โดยจัดทำโครงกิจกรรมซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย  กิจกรรมรักการอ่าน  จัดกิจกรรมพัฒนาสื่อการจัดการเรียนการสอน ครูผลิตสื่อการสอนเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการนิเทศการสอนเพื่อติดตามการใช้สื่อ

      6. โรงเรียนบ้านหาดยาว กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาอัตลักษณ์สถานศึกษากำหนด และดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดําเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นําผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมและจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง ให้หน่วยงานต้นสังกัด เป็นจุดเน้นของกระบวนการบริหารและการจัดการ  โรงเรียนบ้านหาดยาว มีผู้บริหารที่เข้าใจถึงปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็ก ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา  ให้คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษา มีการกระจายอำนาจ การบริหารงานทุกระดับชั้น  มีการประชุมกลุ่มย่อย  โรงเรียนบ้านหาดยาวได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย  ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ  โดยจัดทำโครงการประชุมผู้ปกครอง  โครงการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นต้น  โรงเรียนบ้านหาดยาวได้ประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐาน ที่สถานศึกษากำหนดและดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลและ ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดําเนินงาน และ จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นําผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายใน  มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดและสาธารณชน  ผู้บริหารส่งเสริมให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลงาน กิจกรรมของโรงเรียน ผ่าน facebook : โรงเรียนบ้านหาดยาว และกลุ่ม Line จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นประจำสม่ำเสมอ

              ผลการพัฒนา

    1.โรงเรียนบ้านหาดยาวมีหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ส่งผลให้สามารถจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น

     2.โรงเรียนมีครูครูผู้สอนมีวุฒิการศึกษาปฐมวัย ส่งผลให้สามารถจัดการศึกษาได้ตามภารกิจ มีความรู้ ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ครูปฐมวัย

               3. โรงเรียนบ้านหาดยาว ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก สามารถวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา  มีทักษะในการจัดประสบการณ์  และประเมินพัฒนาการของเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย  รวมทั้งส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ  ส่งผลให้ครูมีความรู้ความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย  สามารถวิเคราะห์หลักสูตร  ออกแบบการจัดประสบการณ์ ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายคน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

    4. โรงเรียนบ้านหาดยาว มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเพียงพอกับนักเรียนทุกชั้น ทั้งทางด้านอาคารสถานที่  เครื่องอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ  และความพร้อมในการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้  ทั้งภายในและภายนอก มีห้องเรียนที่ปลอดภัย ส่งเสริมการเรียนรู้และมีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย

   5. โรงเรียนมีการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ โดยได้จัดให้มีระบบอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงเรียน  โทรทัศน์ที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์  ส่งผลให้ครูได้รับความสะดวกในการจัดประสบการณ์ และสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

    6. ผู้บริหารมีระบบบริหารที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา มีการประเมินผลและ ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดําเนินงาน และ จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี  นําผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด  ส่งผลให้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา  มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง  ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ  ผู้บริหารส่งเสริมให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลงาน กิจกรรมของโรงเรียน ผ่าน facebook : โรงเรียนบ้านหาดยาว และกลุ่ม Line  จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางกลุ่มไลน์ เป็นประจำสม่ำเสมอ

           จุดเด่น

 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลการดำเนินงานตามวิธีการที่ผู้สอนพัฒนาประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ  นักเรียนได้เรียนรู้จากการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปรากฏผลต่อบุคคลต่อไปนี้ 

1.     นักเรียน           

นักเรียนส่วนมากมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความพร้อมสามารถเรียนต่อในระดับชั้นต่อไปที่สูงขึ้นได้ 

2.     ครูผู้สอน       

เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนและคณะครูได้   

3.  ผู้บริหาร         

ใช้เป็นเครื่องมือในการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดประสบการณ์ให้นักเรียนของครูผู้สอนระดับปฐมวัย

           จุดที่ควรพัฒนา

            ส่งเสริมและพัฒนาครูปฐมวัยในการนำวิธีการใหม่ๆ มาใช้จัดกิจกรรมการวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กรอบด้านให้มากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะเครื่องเล่นสนามและจัดทำระบบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ถูกต้อง ครอบคลุมทันสมัยพร้อมใช้งาน จัดให้มีการตรวจสอบ ประเมินผล จัดทำรายงานเพื่อปรับปรุง พัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1. สถานศึกษาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

          2. สถานศึกษาจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียนเพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ

3. ส่งเสริมการเข้าร่วมการอบรมและแสวงหาความรู้ในการพัฒนางานของครูปฐมวัย ให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครองและชุมชนส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเหมาะสมตามวัยจัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับทุกชั้นเรียน มีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล ตรงความต้องการของครู

           4. ประสานความร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลิตสื่อร่วมช่วยกันจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน มีการดูแล บำรุง รักษา เครื่องเล่นสนาม คำนึงถึงความปลอดภัยของมีมุมประสบการณ์มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย

          5. สถานศึกษามีการวางแผนในการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

               6.  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ผู้เรียน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

    มาตรฐานที่  3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

         กระบวนการพัฒนา

1. โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้กำหนดเป้าหมายด้านกระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ในระดับคุณภาพดี ครูศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำกำหนดการจัดประสบการณ์  จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์กิจกรรมเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกม โดยบูรณาการกิจกรรมอย่างหลากหลายที่สอดคล้องกับแนวคิดแบบ Active Learning มีการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง 

 2. โรงเรียนบ้านหาดยาว ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเด็ก การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดกิจกรรมทัศนศึกษานำนักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา  เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ได้กำหนดกิจกรรมที่ส่งเสริมการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวโดยส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบของโครงงาน เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแสวงหาความรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่เรียนรู้  เช่น เด็กสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆ ผ่านการได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้กลิ่น ได้ลิ้มรสและความสุขใจ พอใจ เรียนรู้สัญลักษณ์ต่าง ๆ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

3. โรงเรียนบ้านหาดยาวได้ดำเนินการ พัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้  เพื่อปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ โดยครูได้จัดบรรยากาศและสภาพห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ห้องเรียนมีบรรยากาศสีสันสดใส  สะอาด อากาศถ่ายเทแจ่มใส  กว้างขวางพอเหมาะ  มีมุมเสริมทักษะ เสริมประสบการณ์อย่างหลากหลายโดยเด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน  สร้างสื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ได้อย่างเหมาะสม

4. โรงเรียนบ้านหาดยาว ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  คิดค้นเครื่องมือและนำเทคนิคการวัดผลที่มีความเหมาะสมมาใช้ในการวัดพฤติกรรมการแสดงออกใช้วิธีในการเก็บข้อมูลหลากหลายวิธี ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ  และกำหนดเกณฑ์ในการประเมินให้มีความชัดเจนและมีจำนวนมากพอที่จะประเมินผลที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กได้อย่างมั่นใจ  โดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง  เช่น  การประเมินพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก การให้ผลสะท้อนกลับด้านการจัดประสบการณ์  การแสดงความชื่นชมผลงานนักเรียน  ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง  และนำผลการประเมินที่ได้ไปวิเคราะห์ผลเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของเด็ก  จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 เรื่อง

              โรงเรียนมีโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

1.     กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

2 . กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มีกิจกรรมการสืบค้น การทดลอง การแสดงความคิดเห็น

. โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย

. กิจกรรมพัฒนา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

. กิจกรรมการนิเทศภายใน

          ผลการพัฒนา

1. ครูมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคลจัดทำแผนประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละ ๘๐ เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด  ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาอย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง

          2. ครูมีการจัดประสบการณ์สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข  ร้อยละ ๘๐ ซึ่งเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด  ส่งผลให้ครูสามารถจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทํากิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล หลากหลายรูปแบบ  เช่น การเรียนรู้จากโครงงานวิทยาศาสตร์  กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย  การศึกษาแหล่งรู้ ห้องสมุด จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

3. ครูร้อยละ ๘0  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย  ซึ่งเป็นไปค่าเป้าหมายที่กำหนด  ครูจัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่ แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม  เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน  เช่น ป้ายนิเทศ การดูแลต้นไม้ ดูแลความสะอาดห้องเรียน  ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์ สำหรับการเรียนรู้กลุ่มย่อย บล็อก  สื่อ DLTV  สื่อออนไลน์  สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้คิดและหาคําตอบ

4. ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ร้อยละ ๘0 ซึ่งเป็นไปค่าเป้าหมายที่กำหนด  โดยครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจําวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม  เช่น  การสังเกต สัมภาษณ์ แบบประเมินพัฒนาการเด็ก พัฒนาการจัดประสบการณ์และมีการนำผลการประเมินเป็นข้อมูลในการปรับปรุง  พัฒนาคุณภาพเด็กให้ดียิ่งขึ้น โรงเรียนบ้านหาดยาว มีการรายงานและเปิดเผยผลการประเมินคุณภาพของเด็กสมุดรายงานผลพัฒนาการของเด็กต่อผู้ปกครองนักเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง และนำเสนอการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมต่างๆ  โดยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของโรงเรียน เฟสบุ๊คของโรงเรียนบ้านหาดยาว จดหมายข่าวผ่านเพจโรงเรียน, กลุ่ม Line  ผู้ปกครองนักเรียน, การประชุมผู้ปกครอง การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน รวมถึงการจัดส่งรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาให้หน่วยงานต้นสังกัดและผู้เกี่ยวข้องในทุกปีการศึกษา

         จุดเด่น

          ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล และจัดกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการอย่างเหมาะสมให้ผู้เรียนโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กอีกทั้งครูมีการประเมินพัฒนาของเด็กตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย มีการวัดและประเมินการพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลายและสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง

         จุดที่ควรพัฒนา

          1. โรงเรียนกำหนดแผนการพัฒนาศักยภาพครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาให้ครูเป็นครูมืออาชีพเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กและมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพโดยโรงเรียนมีการนิเทศติดตามนิเทศการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง

          2. ครูควรจัดประสบการณ์สอน โดยการนำเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย มุ่งพัฒนา ส่งเสริม ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เต็มศักยภาพ

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1. ส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4  ด้านของเด็กปฐมวัย อาทิเช่น การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคม และกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา         ให้กับเด็กปฐมวัยทุกคนอย่างเต็มศักยภาพ

          2. ส่งเสริมให้ครูระดับปฐมวัยทุกคน สร้างโอกาสให้เด็กปฐมวัยทุกคนในการได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข ผ่านการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ให้กับเด็กระดับปฐมวัยทุกคน

          3. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนระดับปฐมวัยทุกคน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ตลอดจนมีความสามารถในการผลิตสื่อ และใช้สื่อ เทคโนโลยี ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก

          4. ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  คิดค้นเครื่องมือและนำเทคนิคการวัดผลที่มีความเหมาะสมมาใช้ในการวัดพฤติกรรมการแสดงออกใช้วิธีในการเก็บข้อมูลหลากหลายวิธี ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย

สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ : ดี

 

2.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดี

  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

โรงเรียนบ้านบ้านหาดยาว จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 –6  มีนักเรียน จำนวน 63  คน  ครูผู้สอน 3 คน  จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2564 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้          

            มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนบ้านหาดยาว มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดี  ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเอง ดังนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 50 คน อ่านออกเขียนได้ในระดับ ดี ขึ้นไป ร้อยละ  74.00 มีความสามารถในการสื่อสารเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบระดับชาติ 3 ปีย้อนหลังยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษา (NT)    ในบางวิชา และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติในบางวิชาและระดับชั้นที่สอบ ผู้เรียนไม่มีอัตราความเสี่ยงการติดสิ่งเสพติด  มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง ไม่มีการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน  โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน ครูจัดการเรียนการสอนส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านหาดยาว มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา กำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน มีการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  ดำเนินงานพัฒนาครู และบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและ การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านหาดยาว มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน  ปรับปรุง  พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม 

            มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ  และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียน เรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข เน้นทักษะการคิด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางการเรียนของนักเรียน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

1.     ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active  Learning และส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลาย   

2.     พัฒนาระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม

3.     สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มี

ความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.