f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านเขากอบ
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านเขากอบ
วันที่   12   มิถุนายน   2565
เข้าชม : 290
Bookmark and Share


 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ชื่อโรงเรียน  โรงเรียนบ้านเขากอบ ที่อยู่ ๑๔๓  หมู่ที่ ๑ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง             

ชื่อผู้บริหาร   นางสาวกนกนุช  โตสุข   เบอร์โทรศัพท์  ๐๙๓-๕๘๒๘๕๑๘

จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  จำนวน  ๑๖ คน  จำแนกเป็นข้าราชการครู ๑๓ คน  ครูอัตราจ้าง ๑  คน   เจ้าหน้าที่ธุรการ  ๑  คน และนักการภารโรง  ๑ คน  

จำนวนนักเรียน  รวม  ๒๘๕ คน  จำแนกเป็นระดับอนุบาล  ๗๒  คน  ระดับประถมศึกษา ๒๑๓ คน       สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 ๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย 

 กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านเขากอบได้จัดกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้   ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน  มีความมั่นใจ  กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส  มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ  จัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน  จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม  เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชนและท้องถิ่น ครูได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม  มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน  มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้  มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้  ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ 

โรงเรียนจัดระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  ได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

 ผลการพัฒนา

๑. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย  แข็งแรง  มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  มีน้ำหนัก  ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน  เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว  ทรงตัวได้ดี  ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี  ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย   เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจ  ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม  รู้จักอดทนในการรอคอย  ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น  มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี   มีพัฒนาการด้านสังคม  ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  มีวินัยในตนเอง  ประหยัดและพอเพียง  มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน  มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย  ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล   เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา  สื่อสารได้  มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้  สามารถคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้  สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ 

๒. ครูได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

 จุดเด่น   

1. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์  มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

๒. ครูมีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลและจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา

. สถานศึกษาจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน  มีห้องเรียนที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก ปลอดภัย มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ

 จุดควรพัฒนา

๑.      จัดหาเครื่องเล่นสนามให้เพียงพอต่อความต้องการของเด็ก

๒.      พัฒนาระบบสาธารณูปโภคในโรงเรียนที่เอื้อต่อพัฒนาการเด็กและการจัดประสบการณ์ของครู

๓.   ประเมินเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม

 แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑.      นำกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวัฏจักรการสืบเสาะ ๑ เรื่อง/ปีการศึกษา ตามโครงการ

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สู่ห้องเรียนปฐมวัยทุกห้องเรียน

๒.      นำกิจกรรมการเรียนรู้แบบวิทยาการคำนวณสู่ห้องเรียนปฐมวัยทุกห้องเรียน

๓.      นำนวัตกรรมการสอนแบบโครงกการ Project Approach สู่ห้องเรียนปฐมวัย

      

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

มาตรฐานที่

  คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

 

มาตรฐานที่

๒  

  กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่

  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

 

ผลการประเมินตนเองในภาพรวมของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

  กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านเขากอบจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี  จัดกิจกรรมพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์และแก้ปัญหา        มีความสามารถในการอ่านการเขียน  จัดทำบัญชีคำพื้นฐานให้นักเรียนอ่านทุกวัน  ส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์  โครงงานคุณธรรมทุกห้องเรียน  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่          พึงประสงค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย  มีทักษะชีวิต เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา  จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และสื่อการสอนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

ผลการพัฒนา

          ผู้เรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี  มีสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและคิดคำนวณ      อ่านคล่อง เขียนคล่องตามมาตรฐานการอ่านการเขียนในแต่ละระดับชั้น  สามารถเขียนสื่อสารได้ดี  รู้จัก     การวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์ได้อย่าง  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ยอมรับความแตกต่างและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง  มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง  นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษา  โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

 จุดเด่น

          ๑.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีความสามารถในการอ่าน     การเขียน การใช้เทคโนโลยี  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีสุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะชีวิต  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

          ๒.  โรงเรียนมีเป้าหมาย  วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ เป็นระบบโดยใช้กระบวนการ PDCA  และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ  ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ

          ๓.  ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีความสามารถในใช้สื่อและเทคโนโลยี นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและหลากหลาย

 จุดที่ควรพัฒนา

๑.  ควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดคำนวณและพัฒนาความสามารถด้าน     การสร้างนวัตกรรมให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถรอบด้านและพร้อมรับ   การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน 

          ๒.  ควรสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในกรรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

          ๓.  ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  ส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)  เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน  ตลอดจนส่งเสริมการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาการสอนของครู

 แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

๑.      วางแผนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นระบบในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  จัดกิจกรรม

ส่งเสริมการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณและพัฒนาความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมให้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย

            ๒.  จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ให้แก่นักเรียนอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง  โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

 ๓.  พัฒนาครูด้านเทคนิคการสอน  ส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยีและการจัดทำนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน  ตลอดจนส่งเสริมการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

 ๔.  พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อให้โรงเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

 ๕.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา




ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.