f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านพรุใหญ่
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านพรุใหญ่
วันที่   13   มิถุนายน   2565
เข้าชม : 421
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

 

 

 

SAR

2564

 

 

 

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน บ้านพรุใหญ่  ที่อยู่  51/2 หมู่ที่ 2  ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  นางสาวจุฑาภรณ์  เชื้อเพ็ชร  เบอร์โทรศัพท์ 091-8505628

จำนวนครูข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 17 คน จำแนกเป็น  ข้าราชการครู 10 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน บุคลากรสนับสนุนอื่น ๆ 3 คน

จำนวนนักเรียน  รวม 126 คน  จำแนกเป็นระดับอนุบาล 41 คน ระดับประถมศึกษา 85 คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

          ระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปผลการประเมินภาพรวม อยู่ในระดับดีเลิศ

          1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                          มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ     มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          1.3  มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มุ่งเน้นให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัย โดยมีการปรับรูปแบบการสอน On-hand On-demand และ On-line โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่เน้นการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น กิจกรรมยามเช้า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ และโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เช่น การวาดภาพระบายสี การฉีก ตัดปะ การปั้นดินน้ำมัน เป็นต้น และกิจวัตรประจำวันที่เด็กปฏิบัติที่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมนันทนาการในให้แก่เด็กในรูปแบบ On line On-demand เด็กมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก - วัดส่วนสูง และทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยมี พ่อ แม่ ผู้ปกครองปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยครู

          มีการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตนเองในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองโดย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ออกกำลังกายในตอนเช้าเป็นประจำทุกวัน และยังมีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้นักเรียนได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว โดยมีเพลง เกม ประกอบจังหวะ และกิจกรรมกลางแจ้งให้เด็กได้มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ เพื่อให้เด็กความสามารถใช้กล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่ ส่งเสริมให้มีพัฒนาการด้านร่างกายได้เหมาะสมตามวัย

         โรงเรียนมีจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจ และมีการสังเกตพฤติกรรมเด็กมีบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมซึ่งส่งเสริมให้เด็กอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสมรู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น เด็กมีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจกล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่รับผิดชอบอดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต อยู่ร่วมกับผู้อื่นอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมฝึกทักษะทางภาษา เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครู ผู้ปกครองและเพื่อนฟัง รู้จักค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆตามวิธีการของตนเอง มีความสามารถการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ สามารถฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้ถูกต้อง

          ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ส่งผลให้โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยนรูปแบบปกติ (on-site) ทางโรงเรียนจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการในการจัดประสบกาณ์ให้กับเด็กเพื่อให้เหมาะสมกับสถานาการณ์ ความพร้อม และความสามารถของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูในการจัดประสบการณ์

          ผลการพัฒนา 

          จากการดำเนินการตามพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ตามกระบวนการที่ได้นำเสนอไปข้างต้น ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านพรุใหญ่มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับดีเลิศ ซึ่งเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด

จุดเด่น  (โดยภาพรวมทั้งสามมาตรฐาน)

          จากผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่า อยู่ในระดับดีเลิศ ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา อยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ

         ทั้งนี้ เป็นเพราะสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพเด็กอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก และแนวทางหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมบูรณาการปลูกฝังเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ส่งเสริมการมีบทบาทของชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ในด้านกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา มุ่งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน มีการวางแผน ออกแบบกิจกรรม และดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมิน และการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ วิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้  ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบและชวยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล ออกแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งเอื้อให้ผู้เรียนได้ค่อยๆ ต่อเติมแนวคิด ทักษะ และประสบการณ์จนกระทั่งเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้อาจเกิดขึ้นโดยที่ตระหนักในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ และไม่ได้ตระหนักว่าเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้อาจไม่ได้เกิดขึ้นอย่างทันทีแต่ต้องใช้เวลาที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น

         นอกจากนี้ สถานศึกษายังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในที่เน้นความเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น และมีความปลอดภัย มาอย่างต่อเนื่อง

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น          

          การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย พัฒนาเด็กได้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล และเด็กทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดเต็มศักยภาพ  แนวทางการจัดการศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านพรุใหญ่ จะต้องเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง บุคคลทั่วไป องค์กรและหน่วยงานที่มาศึกษาดูงาน ตลอดจนสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ที่ผลิตครูผู้สอนในระดับปฐมวัย

          โรงเรียนบ้านพรุใหญ่ มีแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต ดังนี้

          1. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม แต่ละปีเพื่อเติมเต็มให้มีความสมบูรณ์ เน้นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

          2. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาการคำนวณ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          2. ศึกษาและจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้มีสื่อ / กระบวนการสอนมีกระบวนการที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมอง

          3. พัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเด็ก ในระบบสารสนเทศของชั้นเรียนด้วยระบบเทคโนโลยี และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา

          4. ขยายแนวคิดการพัฒนาเด็กตามรูปแบบ การจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ปฏิบัติสู่สาธารณชน โดยวิธีการต่าง ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน  ฝึกปฏิบัติงาน ครูนำความรู้เผยแพร่ด้วยการเป็นวิทยากร การเขียนหนังสือบทความ

 

 

 

          ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปผลการประเมินภาพรวม อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพผู้เรียน                      มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

          1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน

               อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          กระบวนการพัฒนา

          การดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านพรุใหญ่ ให้ความสำคัญกับการจัดการแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของชุมชน ตลอดจนสภาพปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข และออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ได้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ฝึกทักษะกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติจริง ภายใต้บริบทขอลท้องถิ่น

          ผลการพัฒนา 

          จากการดำเนินการตามพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามกระบวนการที่ได้นำเสนอไปข้างต้น ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านพรุใหญ่มีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          การยกระดับคุณภาพการศึกษาต้องดำเนินการเป็นระบบ ทำในระยะยาว ไม่ใช่กิจกรรมพิเศษหรือโครงการเฉพาะกิจ ผู้บริหาร บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องมีความจริงจัง ปรับมุมมองการจัดการศึกษาให้กว้างไกล อย่ามองเพียงผลสัมฤทธิ์ที่อิงการวัดผลครั้งเดียว ระบบกระบวนการวัดและประเมินผลจะต้องทำให้ได้ผลตามสภาพจริงจึงจะสามารถแก้ปัญหาผู้เรียนได้อย่างจริงจัง นอกจากนี้ จำเป็นจะต้องเสริมในเรื่องของทักษะด้านอาชีพให้กับผู้เรียน

จุดเด่น  (โดยภาพรวมทั้งสามมาตรฐาน)

1. บุคลากรของสถานศึกษาอยู่ในช่วงวัยทำงานส่วนใหญ่อายุยังน้อย จึงมีความรวดเร็วกระฉับกระเฉง และมีทักษะการใช้เทคโนโลยี

2. ชุมชนโดยรูปมีแหล่งเรียนรู้และบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องของภูมิปัญญา

3. สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ภายในที่มีความหลากหลาย

         จุดที่ควรพัฒนา (โดยภาพรวมทั้งสามมาตรฐาน)

         1.  นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลของผู้เรียน และบุคลากร เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการนำข้อมูลมาใช้

         2.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมหรือการวิจัย

         3.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการเรื่องของทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะด้านอาชีพ



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.