[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านย่านซื่อ
วันที่   9   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 38
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

โรงเรียนบ้านย่านซื่อตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ที่ 2 ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ผู้บริหารสถานศึกษาชื่อนายเกียรติประวัติ เพ็ชรสวัสดิ์ โทรศัพท์ 091-8485001 มีบุคลากรทั้งหมด 6 คน จำแนกเป็น ข้าราชการ 2 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ  1 คน มีการจัดการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ

1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัย มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 10 คน

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 23 คน

รวมทั้งสถานศึกษามีนักเรียนจำนวน 33 คน

ทางโรงเรียนบ้านย่านซื่อ จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสรุปได้ดังนี้

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                               มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ             มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับดีเลิศ

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน                          มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

2.3มาตรฐานที่3กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                                                   มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับดีเลิศ

ระดับการศึกษาปฐมศึกษา

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านย่านซื่อ มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลายส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้การจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความสามารถ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเอง เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน แสวงหาความรู้และนำไปปรับใช้ในชีวิตได้

ผลการพัฒนา

- มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

- มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

- มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

- มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

จุดเด่น

เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเอง ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโตตามวัย ร่าเริงแจ่มใส กล้าคิดและกล้าแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย มีวินัยรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง สามารถพูดคุยสื่อสารและดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข มีความสามารถในการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์   การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนา

ควรปลูกฝังให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม ทิ้งขยะให้ลงถังขยะ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

การจัดการศึกษาปฐมวัยได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจนโดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ รวมทั้งได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเอง  ให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง 

ผลการพัฒนา

- มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

- ครูเพียงพอกับชั้นเรียน

- ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

- จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

- ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ สำหรับครู

- มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จุดเด่น

ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล โรงเรียนได้ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพจากการอบรมเชิงปฏิบัติการอีกทั้งมีการนิเทศภายในเพื่อ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอมีการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีระบบ มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

ควรสร้างการมีส่วนร่วม และแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ

     ดีเลิศ

    กระบวนการพัฒนา

การศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา มีความรู้คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุขมีการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย

ผลการพัฒนา

- เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

- เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

- บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

-พัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

จุดเด่น

ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์ สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับ   ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความ สุข มีระบบการนิเทศภายในเพื่อการพัฒนาการจัด   การเรียนการสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมสร้างสรรค์  ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างสมดุลรอบด้าน 

จุดที่ควรพัฒนา

โรงเรียนบ้านย่านซื่อมีอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามสำหรับเด็กปฐมวัยที่ค่อนข้างเก่า ชำรุด ทำให้เด็กปฐมวัยขาดโอกาสในการเล่นเครื่องเล่นสนามต่าง ๆ ที่สามารถเสริมสร้างทักษะและพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายในการเล่นเครื่องเล่นสนามต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับวัย

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา)

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัด     การเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้และการคิดคำนวณของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้และการคิดคำนวณตั้งแต่ระดับขั้น ป.1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน  ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด    ห้องคอมพิวเตอร์  ครูผู้สอนกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

ผลการพัฒนา

1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

1.1 ความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคำนวณ (ป.1 - ป.4) ระดับคุณภาพ ดี

1.2 ความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาระดับคุณภาพ ดี

1.3 ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมระดับคุณภาพ ดี

1.4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับคุณภาพ ดี

1.5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับคุณภาพ พอใช้

1.6 มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพระดับคุณภาพ ดี

       2. คุณลักษะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

          2.1 คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษาระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทยระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

2.3 ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

2.4 มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคมระดับคุณภาพ ดีเลิศ

จุดเด่น

นักเรียนอ่านได้ เขียนคล่อง นักเรียนทุกคนมีความสามารถด้านคิดคำนวณ เนื่องจากมีการเรียนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ มีการใช้เทคโนโลยีทุกชั้น การใช้สื่อการเรียนการสอน มีการประเมินครบทุกด้าน ตามคุณภาพของผู้เรียน

เด็กสามารถปฏิบัติตามได้ตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น นักเรียนสามารถอาราธนาศีลได้ทุกชั้น นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์  มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี  ผู้เรียนสามารถหลีกเลี่ยงยาเสพติด  ผู้เรียนร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เช่น ช่วยทำความสะอาดบริเวณ โรงเรียนและชุมชน เป็นผู้ที่รับฟัง       ความคิดเห็นของผู้อื่นจุดที่ควรพัฒนา

จุดควรพัฒนา

1. การยกระดับผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับ การพัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นโดยรวม แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ ในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป  จัดกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียน เปรียบเทียบความก้าวหน้าและการพัฒนานักเรียนให้ดีขึ้น

2. การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาผู้เรียนยังไม่ชัดเจนและลงไปที่เป้าหมายอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ผู้เรียนบางคนยังขาดทักษะในการแก้ปัญหา  บางคนขาดทักษะการวางแผน กระบวนการและขั้นตอนการทำงานยังไม่เกิดขึ้นและปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างเหมาะสม  โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน  ผู้เรียนในระดับชั้น ป.1-ป.3 ยังขาดเป้าหมาย และแรงจูงใจในการเรียน และผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะการสื่อสาร  โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

กระบานการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผล การนิเทศ ติดตาม และประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น        จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ  กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน

ผลการพัฒนา

2.1 มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

2.4   พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

2.5   จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

2.6   จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

จุดเด่น

สถานศึกษามีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษาตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา    ในทศวรรษที่ 2 คือ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ รักการเรียนรู้ และมีความพร้อมในการเรียนรู้ ในระดับที่สูงขึ้น ครูจัดกิจกรรมประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมประสบการณ์ ผู้บริหารมีความสามารถเป็นผู้นำวิชาการ จัดองค์กรและบริหารงานแบบมีส่วนร่วม สถานศึกษา มีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

จุดควรพัฒนา

1.  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการ ศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

กระบานการพัฒนา

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานกิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน  มีการบูรณาการ ภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด

ผลการพัฒนา

จากการดำเนินงานโครงการกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง  มีการบริหารจัดการชั้นเรียน   เชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน  ส่งผลให้ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ 3  อยู่ ในระดับดี

จุดเด่น

สถานศึกษามีการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียน บุคลากร และชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดให้มี                การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  เช่น ห้องสมุด คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางการให้บริการการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นมีการจัดกิจกรรมงานวันสำคัญและกิจกรรมด้านวัฒนธรรมประเพณี สนับสนุนให้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาและชุมชน กีฬา เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษา 

จุดควรพัฒนา

การปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษามากยิ่งขึ้น

แนวทางการพัฒนายกระดับให้สูงขึ้น

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยพัฒนาเด็กได้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและเด็กทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดเต็มศักยภาพแนวทางการจัดการศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยโรงเรียน บ้านย่านซื่อมีแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตดังนี้

1.1 พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมแต่ละปีเพื่อเติมเต็มให้มีความสมบูรณ์เพื่อนำไปพัฒนาเด็ก

1.2 ศึกษาและจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้สื่อ / กระบวนการสอนมีกระบวนการที่สมบูรณ์

1.3 พัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเด็กในระบบสารสนเทศของชั้นเรียนด้วยระบบเทคโนโลยี

1.4 ขยายแนวคิดการพัฒนาเด็กตามรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยปฏิบัติสู่สาธารณชนโดยวิธีการต่างๆเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานฝึกปฏิบัติงานครูนำความรู้เผยแพร่ด้วยการเป็นวิทยากรการเขียนหนังสือบทความ

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษา)

โรงเรียนบ้านย่านซื่อ มีแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตดังนี้

2.1 ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและงานของส่วนรวมรู้จักประหยัดมีทักษะความคิดสร้างสรรค์กล้าแสดงออก มีวินัยสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

2.2 พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติให้สูงขึ้น

2.3 ศึกษาและจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้สื่อ / กระบวนการสอนมีกระบวนการที่สมบูรณ์

2.4 ผู้บริหารมีความก้าวหน้าทางวิชาการมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาโรงเรียนในทุกด้าน

2.5 ครูมีความรับผิดชอบให้ความร่วมมือในการดำเนินงานต่างๆและจัดการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

2.6 มีการจัดโครงการกิจกรรมหลากหลายส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษเป็นบุคคลและดูแลนักเรียน       ที่ประสบปัญหาทั้งด้านการเรียนและพฤติกรรม

2.7 คณะกรรมการสถานศึกษาผู้บริหารครูผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและสถานศึกษา

2.8 ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์มีนิสัยรักการอ่านการแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาพัฒนาตนเองทั้งด้านการเรียนและการดำรงชีวิตเพื่อให้โรงเรียนมีการประเมินตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

จึงมีแนวทางการพัฒนาโดย

1.ทางด้านนักเรียนมุ่งส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพและตามความสนใจพัฒนาความสามารถทางด้านทักษะกระบวนการคิดทักษะการทำงานและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองปลูกฝังคุณธรรมและลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งทางด้านความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย นิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้ และจิตสำนึกต่อสังคมส่วนรวม

2.ทางด้านครูส่งเสริมให้ครูได้ปรับหลักสูตรจัดทำแผนการสอนและสื่อที่สอดคล้องกับความสนใจและศักยภาพของผู้เรียนทันต่อวิทยาการและความเปลี่ยนแปลงของโลกส่งเสริมให้ครูได้ปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบด้วยวิธีวิจัยและนำผลการวิจัยมาใช้อย่างจริงจัง

ความต้องการและการช่วยเหลือ

โรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีความขาดแคลนในด้านบุคลากร งบประมาณ จึงมีความต้องการความช่วยเหลือทั้งจากหน่วยงานต้นสังกัด  โดยการพิจารณาและให้การสนับสนุนด้านบุคลากร และด้านงบประมาณแก่โรงเรียนตามที่โรงเรียนเสนอขอรับการสนับสนุนเพื่อจะได้พัฒนาการศึกษาในทุกๆด้าน

 

 

                                                       

                                                                (นายเกียรติประวัติ เพ็ชรสวัสดิ์)

                                                                ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านย่านซื่อ

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 20 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self- Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 20 พ.ค. 2567
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ( Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 19 พ.ค. 2567
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านต้นปรง 17 พ.ค. 2567
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านแหลมไทร 17 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.