f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่ บทสรุปผู้บริหาร การประเมินตนเอง SAR
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดโคกเลียบ
วันที่   13   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 233
Bookmark and Share


สรุป

    

บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดโคกเลียบ ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เบอร์โทรศัพท์ : 075 - 286113  

E - Mail : kokleab.school@gmail.com เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

          ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาวสุภาพร เพียรดี เบอร์โทรศัพท์ 087 - 8942571

          จำนวนบุคลากร 14 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 9 คน พนักงานราชการ 1 คน 

และครูจ้างสอน 3 คน มีนักเรียน 208 คน จำแนกเป็นระดับชั้นอนุบาล 52 คน ระดับชั้นประถมศึกษา 156 คน 

 ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.  ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

1.3   มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

กระบวนการพัฒนา

ในปีการศึกษา  2565 โรงเรียนวัดโคกเลียบได้จัดกิจกรรมแบบองค์รวมโดยเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ด้านอารมณ์ จิตใจสามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมะสม ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดี                 ของสังคม และด้านสติปัญญา มีทักษะการคิดพื้นฐาน แสวงหาความรู้ และสื่อสารได้

ผลการพัฒนา 

1) เด็กร้อยละ 90.33  มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัย                      ของตนเองได้

2) เด็กร้อยละ 88.50  มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

3) เด็กร้อยละ 90.25  มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

4) เด็กร้อยละ 87.53  มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน                                และแสวงหาความรู้ได้

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย ให้เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ จากการลงมือปฏิบัติและการได้รับประสบการณ์ตรง มีการกำหนดจุดมุ่งหมายและการวางแผนในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทั้งรายบุคคล     กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม                 และสติปัญญา โดยคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญและพัฒนาเด็กแต่ละคนอย่างเต็มศักยภาพ

จุดเด่น

         เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมาย                        ที่สถานศึกษากำหนด และมีแผนงาน/โครงการในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เช่น โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย มีกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมเรียนรู้การทำผ้า                มัดย้อมจากสีธรรมชาติ กิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น/ไทยจากวันสำคัญ กิจกรรมหนูน้อยจิตอาสา กิจกรรมทัศนศึกษา เป็นต้น  โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย มีกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ เป็นต้น

จุดที่ควรพัฒนา 

โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกความรู้สึกอย่างเหมาะสม มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก ได้ทำกิจกรรมเท่าเทียมกันทุกคนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมทั้งรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน เรียนรู้ทักษะชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เหมะสมตามช่วงวัย แก้ไขขัดขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง จัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินแก้ปัญหาคิดวิเคราะห์ได้ตามวัย เช่น กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ จัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย  การเรียนรู้แบบ Active Learning กระตุ้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง การจัดกิจกรรมควรให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ใช้ประสาทสัมผัส ทั้งห้าและมีโอกาสค้นพบตนเองให้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง

 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดโคกเลียบดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2565 สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติ                และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมของเด็ก สอดคล้องกับหลักสูตร เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ จัดครูเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมทางการศึกษาปฐมวัยเข้าสอนอย่างเพียงพอกับชั้นเรียนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์            

โดยมีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรโดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมี   การนำความรู้มาจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริงทั้งเป็นกลุ่ม               และรายบุคคล จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนอย่างปลอดภัยและเพียงพอ เอื้อต่อการเรียนรู้   สื่อในห้องเรียนมีมุมประสบการณ์ในชั้นเรียนอย่างหลากหลาย มีกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย      มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผล       การประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด

ผลการพัฒนา

1) โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

2) โรงเรียนมีครูเพียงพอกับชั้นเรียน

3) โรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

4) โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

          5) โรงเรียนให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์  สำหรับครู

          6) โรงเรียนมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1)    โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของท้องถิ่น

2)    โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดอัตรากำลังครูให้ครบชั้นเรียน

3)    โครงการปรับปรุงและซ่อมแซมอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ควรระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาสนามเด็กเล่น ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้พร้อมใช้งาน จัดซื้อ/จัดจ้างทำเครื่องเล่นสนาม ให้เพียงพอต่อความต้องการ             ของเด็ก เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัย และปรับปรุงอาคารสถานที่ห้องเรียนปฐมวัยให้มีความปลอดภัย แสงสว่าง เพียงพอต่อจำนวนเด็ก และถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียนรู้

4)    โครงการจัดซื้อ/จัดหาสื่อเทคโนโลยี สื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

โครงการ/กิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดเด่น

        1) มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น

          2) จัดครูได้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน

          3) มีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล

          4) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จุดที่ควรพัฒนา 

1) โรงเรียนควรพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อย่างต่อเนื่อง

2) สถานศึกษาต้องจัดครูได้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมทางการศึกษาปฐมวัยเข้าสอนอย่างเพียงพอกับชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง

3) โรงเรียนควรมีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรโดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเอง                    อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีการนำความรู้มาจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์                    และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการ                     ที่หลากหลายตามสภาพจริงทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ในการร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดอย่างต่อเนื่อง

4) โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์ในชั้นเรียน    อย่างหลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน บล็อก เกมการศึกษา เป็นต้น อย่างต่อเนื่อง

5) สถานศึกษาจะต้องอำนวยความสะดวก และให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศวัสดุ เพื่อสนับสนุน  การจัดประสบการณ์และพัฒนาครูเพิ่มขึ้น

6) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครอง                 และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

กระบวนการพัฒนา

          1) มีการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตามหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น มีการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา มีกิจกรรมที่พัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมครบทุกด้าน

2) มีการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย  ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก การรับประทานอาหาร                  ที่สะอาดถูกสุขลักษณะมีคุณค่าครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม การดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ      จัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างอิสระทั้งในร่มและกลางแจ้ง เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว    ทรงตัวได้ดี และใช้มือและตาประสานสัมพันธ์โดยการร้อยลูกปัด และการใช้กรรไกรตัดกระดาษ การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ เป็นต้น ด้านสุขนิสัยที่ดีของเด็กดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน โดยเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ดูแลตนเองเป็นกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การล้างหน้า แปรงฟัน การล้างมือ การใช้ห้องน้ำด้วยตนเอง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาดได้ด้วยตนเอง นอนพักผ่อนเป็นเวลา และออกกำลังกาย เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้แก่ กิจกรรมวาดภาพระบายสี กิจกรรมประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรมเคลื่อนไหวผ่านเสียงเพลง  การเล่นเกมกลางแจ้ง กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ กิจกรรมงานบ้าน เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้แก่ การใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด รดน้ำต้นไม้ การทิ้งขยะ การปฏิบัติตนตามมารยาทไทย การไหว้ การยิ้ม การทักทาย    กล่าวขอบคุณ ขอโทษ การมีสัมมาคารวะ การยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความคิด พฤติกรรม เป็นต้น  กิจกรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเองได้แก่  การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การเก็บของ การเก็บรองเท้า การอาบน้ำ สระผม เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้แก่  กิจกรรมการทำขนมวันสารทเดือนสิบ กิจกรรมเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ กิจกรรมทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับ      การสื่อสารได้แก่  กิจกรรมนิทานก่อนนอน กิจกรรมเล่าเรื่องจากภาพงานศิลปะ กิจกรรมสนทนาจากกิจกรรม               การเรียนรู้ กิจกรรมทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  เป็นต้น

         3) จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเหมาะสมกับวัยของเด็ก วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ ความชอบและความต้องการของเด็กที่หลากหลาย นอกจากนี้มีทั้งสื่อที่เป็นของจริง   สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นสื่อที่เอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และส่งเสริมการลงมือปฏิบัติจริงของเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้านอย่างสมดุล

        4) มีการประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กสำหรับการส่งเสริมความก้าวหน้าและช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อพบเด็กล่าช้าหรือมีปัญหาที่เกิดจากพัฒนาการและการเรียนรู้ ไม่มีการใช้แบบทดสอบใน การประเมิน

แต่ได้ทำการประเมินตามสภาพจริงที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ใช้วิธีการและวิธีการประเมินที่หลากหลายอย่างมีจุดหมาย เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ บันทึกพฤติกรรม บันทึกพัฒนาการ หรือแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

ผลการพัฒนา

1)   ครู (ปฐมวัย) ทุกคนจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

2)   เด็กร้อยละ 100 ได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

3)   ครู (ปฐมวัย) ทุกคน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

4)   ครู (ปฐมวัย)ทุกคนประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็ก                       ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1)   จัดกิจกรรมพัฒนา EF สำหรับเด็กปฐมวัย

2)   จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย

3)   จัดกิจกรรมทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย

4)   จัดกิจกรรมปรับปรุง ซ่อมแซม จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน

5)   จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย

6)   จัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

จุดเด่น

        1) ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ               มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตนเอง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร

          2) เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เรียนรู้                         อย่างมีความสุข

จุดที่ควรพัฒนา 

          1) การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ อย่างต่อเนื่อง

          2) สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข อย่างต่อเนื่อง

          3) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่อง

          4) ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุง                                 การจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก อย่างต่อเนื่อง

2.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

   2.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

   2.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

   2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมิน                      

                 อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

           ผู้เรียนอ่านและเขียนได้เหมาะสมตามระดับชั้น สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เข้าใจ ชัดเจน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลให้มี  ผลการทดสอบการอ่านระดับชาติ (NT) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา ผู้เรียนกล้าแสดงออก มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ โดยมีการสืบค้นข้อมูล                  หรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่า  สิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด  มีระเบียบวินัย  เคารพกฎกติกา  ระเบียบของสังคม  มีมารยาทงามและเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย  และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม จนเป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชน  เป็นต้น

        

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

          ผู้บริหารมีความตั้งใจ  มีความมุ่งมั่น  มีหลักการบริหาร  และมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงาน  สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และคณะกรรมการสถานศึกษามีความตั้งใจ และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 กลุ่มงาน                     ยึดหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SMB) ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุม                   แบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผล                  การจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการพัฒนาครู                      และบุคลากรทางการศึกษาให้มี ความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง มีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องครบถ้วน ทันสมัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ที่กระตุ้นผู้เรียน                       ให้ใฝ่เรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ ได้อย่างมีคุณภาพ  มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวม ข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐาน               ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษา มีการระดมทรัพยากร เพื่อการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาจากผู้ปกครองนักเรียน ส่งผลให้โรงเรียนมีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ                 จัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากการคิด ได้ปฏิบัติจริง                           ด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจัดการเรียนการสอน  โดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิด                   และปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน ครูได้รับการพัฒนาตามโครงการพัฒนาวิชาชีพ และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ พัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่หลากลาย มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 เรื่อง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน 

 

จุดเด่น

           ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเหมาะสมตามระดับ มีทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 

           กระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยใช้                        กระบวนการ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาส่งผลให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา จุดเน้น และเป้าหมายที่กำหนด จนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและท้องถิ่น 

ครูมุ่งมั่นในพัฒนาตนเอง และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียน                        มีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด

 

จุดที่ควรพัฒนา

  กระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ  ควรมีการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของสถานศึกษา                อย่างรอบด้าน ทั้งด้านตัวผู้เรียนโดยการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้เครื่องที่เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน ด้านตัวครู ศึกษารูปแบบเทคนิคการจัดเรียน               การสอนที่หลากหลาย เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในและภายนอก เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

           การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น ส่งเสริมให้ครู                       เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้     มากยิ่งขึ้น

           พัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผล                    การนำไปใช้ และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง พัฒนาให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษ    ให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้  สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ ๆ เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรี    มากขึ้น สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมกิจกรรม ร่วมคิด   ร่วมทำ เพื่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันของโรงเรียน โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ/อบรม/สัมมนา                   และศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง           

          สถานศึกษามีการประสานการระดมทรัพยากร โดยประสานทุกภาคส่วนเพื่อระดมทรัพยากรต่าง ๆ                ทั้งความคิด ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาการปรับปรุงคุณภาพด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน รวมถึงการระดมงบประมาณ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรภายในโรงเรียนและนำมาใช้ ในการสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูและบุคลากรภายในโรงเรียน 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.