f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment ReportSAR)
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น
วันที่   16   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 180
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น ที่อยู่ ๙๙ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 e-mail : banhuaynamyen1234@gmail.com ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายพัทธพงศ์  แก้วละเอียด ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้อง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น เบอร์โทรศัพท์ 080 142 7753 จำนวนครู ๖ คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู ๔ คน พนักงานราชการ ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน จำนวนนักเรียนรวม ๕๓ คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา ๑๒ คน และระดับประถมศึกษา ๔๑ คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ยอดเยี่ยม

1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ                 มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ      มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนได้มีการพัฒนานักเรียนระดับชั้นปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย การมีร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์  มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส สนุกสนาน มีจิตใจดีงาม สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสีต่างๆ พัฒนาการด้านสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และพัฒนาการด้านสติปัญญา รู้จักคิด ช่างสังเกต เรียนรู้ได้เหมาะสมตามวัย

ผลการพัฒนา

          เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมตามวัย มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาดเรียบร้อย สวยงาม มีสื่อการเรียนรู้เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ส่งผลให้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยที่กำหนดไว้

จุดเด่น

เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัยที่เหมาะสม  มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการด้านสติปัญญาดี รู้จักคิด ช่างสังเกต เรียนรู้ได้เหมาะสมตามวัย ครูตรงวิชาเอก

จุดที่ควรพัฒนา

เด็กยังขาดกระบวนการคิดรวบยอด ควรได้รับการส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดรวบยอด ฝึกทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ และจัดกิจกรรมให้เด็กโดยการเรียนรู้ผ่านการเล่น มีสื่อเทคโนโลยีชำรุด ไม่พร้อมต่อการใช้งาน และผู้ปกครองบางส่วนยังขาดความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของระดับชั้นอนุบาลตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนระดับปฐมวัยในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ส่งเสริมสมรรถภาพ                และสุนทรียภาพผู้เรียน มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน พัฒนาเครื่องเล่นสนาม พัฒนาบรรยากาศ จัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และจัดหาสื่อการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน พัฒนาห้องเรียนตามเกณฑ์ห้องเรียนคุณภาพระดับปฐมวัย         

    2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ยอดเยี่ยม

1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน                              มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ             มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   

     มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษาได้มีการพัฒนานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยมีการจัดกิจกรรมพัฒนาการอ่าน การเขียนให้ผู้เรียนมีความพร้อมและมีทักษะจำเป็นในการเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในแต่ละระดับชั้น มีกิจกรรมการสอนซ่อมเสริม กิจกรรมลดเวลาเรียน การเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการ มีการส่งเสริมผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยกำหนดไว้ในรายวิชาวิทยาการคำนวณไว้ในโครงสร้างหลักสูตรทุกระดับชั้น มีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง มีการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์โดยดำเนินการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ โดยจัดทำนวัตกรรม การส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนด้วยรูปแบบ KEETA  Model ของโรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น เพื่อเสริมสร้างในเรื่องสุขอนามัยร่างกาย การออกกำลังกาย และการมีอารมณ์ที่แจ่มใสเบิกบาน ให้นักเรียนและบุคลากรทุกคนมีชีวิตที่ดี

          สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของโรงเรียน นโยบายปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียน แผนปฏิบัติการประจำปี มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกปีการศึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลภายในจากผู้บริหาร 2 ครั้ง/ปี และจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานภายนอกอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนสนับสนุนให้ครูจัดทำผลงานทางวิชาการและวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครูทุกคนมีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงหลังจากชั่วโมงเรียนทฤษฎี ครูมีการรวมกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับองค์กรภายนอกและชุมชนที่อยู่ใกล้โรงเรียน เพื่อเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง

ผลการพัฒนา

          นักเรียนผ่านการประเมินตามตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาบรรลุตามเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อมน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มีสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดีงาม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

จุดเด่น

นักเรียนได้รับการพัฒนาการอ่าน การเขียน ได้รับการส่งเสริมให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข พัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง

สถานศึกษามีการส่งเสริมในด้านคีตะมวยไทยและมีผลงานการแข่งขันคีตะมวยไทยและทักษะพื้นฐานด้านกีฬา (มวยสากลสมัครเล่น) ซึ่งได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ จากการเข้าแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 อีกทั้งมีการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ โดยจัดทำนวัตกรรม การส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนด้วยรูปแบบ KEETA  Model ของโรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ ระดับเขตสุขภาพที่ 12 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

จุดที่ควรพัฒนา

ควรมีการพัฒนากระบวนการคิด การแสดงความคิดเห็น วิธีการแก้ปัญหา ปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านทุกที่ทุกเวลา ครูควรมีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้ครูและบุคลากรนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นในทุกรายวิชา และมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning และส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลาย นำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้นและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.