f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR)
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านไสมะม่วง
วันที่   16   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 143
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

                       

          ชื่อโรงเรียนบ้านไสมะม่วง ที่ 181 หมู่ที่ 3 ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายศุภโชค  สินกั้ง เบอร์โทรศัพท์ 089-4722605 เปิดสอนชั้นปฐมวัย ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6           ในปีการศึกษา 2565 มีจำนวนครูและบุคลากร จำนวน 11 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 1 คน ข้าราชการครู 7 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน  ครูธุรการ 1 คน จำนวนนักเรียนรวม 102 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 25 คน ระดับประถมศึกษา 77 คน เป็นสถานศึกษาที่ใช้หลักการบริหารโดยการมีส่วนร่วม แบ่งงานเป็น 4 กลุ่มงาน ในภาพรวมมีโครงสร้างการบริหารที่เป็นระบบบุคลากรเข้มแข็งร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ในการพัฒนาการศึกษา ดังผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ดังนี้

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

        1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                           มีผลการประเมินอยู่ในระดับ           ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ     มีผลการประเมินอยู่ในระดับ      ยอดเยี่ยม

1.3  มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ     ยอดเยี่ยม

 

กระบวนการพัฒนา

              มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

              เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเอง ได้โดยโรงเรียนได้พัฒนาเด็กในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การล้างมือ การล้างจานที่รับประทานอาหาร การล้างหน้าแปรงฟัน การแต่งตัว การเข้าห้องน้ำ   การรับประทานอาหาร ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ จัดกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระรู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันมีน้ำใจกับผู้อื่น การจัดกิจกรรมออกกำลังกายหลังปฏิบัติกิจกรรมหน้าเสาธงทุกวัน                 จัดค่าอาหารกลางวัน และบริการอาหารเสริม (นม) ให้กับเด็ก โรงเรียนมีการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่ การเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสมตามวัย มีกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมือ เช่น                  การวาดภาพระบายสี  การปั้นดินน้ำมัน การฉีก ตัด ปะกระดาษ ฯลฯ จัดบริการตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นประจำ ปรับปรุงอาคารสถานที่ให้ปลอดภัย พร้อมใช้จัดกิจกรรมการเรียน ด้วยรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ 6               กิจกรรมหลัก

 

 

 

 

              มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ

              สถานศึกษามีระบบบริหารที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ผู้บริหารเข้าถึงปรัชญา                    หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ให้คำแนะนำเอาใจใส่การจัดการศึกษา  มีการกระจายอำนาจในการบริหารงาน                  ทุกระดับชั้น เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นโดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กหากชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษารวมถึงการเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้และมีเวลาว่างมาให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านภูมิปัญญากับบุตรหลานย่อมเกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนที่ได้บุคลากรเพิ่ม ส่วนผู้ปกครองย่อมภาคภูมิใจที่ได้สอนบุตรหลานในโรงเรียน รวมถึงนักเรียนที่จะมีความเคารพและนับถือในตัวผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุนชน และเป็นการเปิดโอกาสให้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กร่วมกัน  มีการกำกับติดตาม ประเมินผล  จัดทำรายงานผลการดำเนินการประจำทุกปี เพื่อนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานและจัดประสบการณ์ให้กับเด็กอย่างเหมาะสมตามวัยและเกิดประสิทธิภาพ

              มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

              สถานศึกษาจัดให้มีการวิเคราะห์เด็กรายบุคคลโดยครูประจำชั้น เพื่อจัดกลุ่มเด็กให้เหมาะสม                  กับการพัฒนา มีกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยพัฒนาการของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ครูมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน ในด้านร่างกายมีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ในด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย เกิดจินตนาการอย่างอิสระในการฟังนิทาน                  การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี การฟังเพลงและการร้องเพลง ในด้านสังคม จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง สามารถเล่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม ในด้านสติปัญญา จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่างๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้ จัดกิจกรรมตามโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยเด็กได้ทดลองกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์                                จำนวน 20 กิจกรรม พร้อมทั้งโครงงานสืบเสาะที่ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดทักษะการสังเกต การแสวงหาความรู้และคำตอบได้ด้วยตนเอง จากผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560                                  ปีการศึกษา 2565 พบว่า นักเรียนปกติที่ผ่านเกณฑ์การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย คุณภาพระดับ 3                 ด้านร่างกาย จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านอารมณ์และจิตใจ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และด้านสติปัญญา จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สถานศึกษามีการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ปีการศึกษา 2565 โดยประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก โดยครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจวัตรประจำวัน และกิจกรรมโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย โดยได้รับความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และมีการนำผลการประเมินพัฒนาคุณภาพนักเรียน ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภา

ผลการพัฒนา

               มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

               ผลการประเมินพัฒนาการ 4 ด้านของนักเรียนปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 นักเรียนมีผลการประเมินพัฒนาการ ดังนี้

               (1) นักเรียนมีพัฒนาด้านร่างกาย อยู่ในระดับดีเลิศ  คิดเป็นร้อยละ 100

               (2) นักเรียนมีพัฒนาการด้านอารมณ์ อยู่ในระดับดีเลิศ คิดเป็นร้อยละ 100

               (3) นักเรียนมีพัฒนาด้านสังคม อยู่ในระดับดีเลิศ คิดเป็นร้อยละ 100

               มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ

              (1) สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบริบทของท้องถิ่น

              (2) สถานศึกษาจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาบุคลากร ครูปฐมวัยเข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting เพื่อพัฒนาตนเองในเรื่องต่างๆ มากกว่า 20 ชั่วโมง/ปี   

              (3) สถานศึกษามีห้องเรียนคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้บริการ มีการติดตั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

               มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

               (1) การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ โดยครูวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับบริบทของเด็ก โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน จากผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ปีการศึกษา 2565 พบว่า นักเรียนปกติที่ผ่านเกณฑ์การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย คุณภาพระดับ 3 ด้านร่างกายจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านอารมณ์และจิตใจ จำนวน 25 คนคิดเป็นร้อยละ 100 และด้านสติปัญญา จำนวน 25 คนคิดเป็นร้อยละ 100

               (2)  การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย พบว่า เด็ก มีพัฒนาด้านร่างกาย ในระดับดีเลิศ คิดเป็นร้อยละ 100

              (3) การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ พบว่า เด็กมีพัฒนาด้านอารมณ์ ในระดับดีเลิศ คิดเป็นร้อยละ 100 เด็กแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม กล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

              (4) การประเมินพัฒนาการเด็กด้านสังคม พบว่า เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100

 

 

               (5) การประเมินพัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา พบว่า เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่างๆ เกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้เหมาะสม เด็กได้เกิดทักษะการสังเกต การแสวงหาความรู้และคำตอบได้ด้วยตนเองจากการเข้าร่วมโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยอย่างมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100

          จุดเด่น

          เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี เติบโตตามวัย มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบริบทของท้องถิ่น  ระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ครูมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดประสบการณ์ ด้วยรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ 6 กิจกรรมหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพของเด็กตามวัย เด็กได้รับการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัย ได้เล่น ได้สัมผัส ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสมตามวัยของพัฒนาการ และปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ซึ่งสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง โดยครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านตามวัย บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อาคารสถานที่สะอาด ปลอดภัย จัดให้มีมุมประสบการณ์ สื่อและเทคโนโลยีที่หลากหลายเหมาะสมตามวัยของเด็ก

          จุดที่ควรพัฒนา

          (1) ควรจัดให้มีสื่อ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอ  

          (2) ส่งเสริมสนับสนุน การจัดหาสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และควรมีสื่อสำหรับเด็กมุด ลอด ปีนป่าย เพื่อการสืบเสาะหาความรู้ และพัฒนาการทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์

          (3) ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิด การสังเกตและการมีเหตุผลโดยเน้นการจัดกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการป้องกันการทุจริตให้เหมาะสมกับวัย

          (4) ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสังเกต การคิดและการมีเหตุผล

 

 

 

 

 

 

 

 

        2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                           มีผลการประเมินอยู่ในระดับ           ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ     มีผลการประเมินอยู่ในระดับ      ยอดเยี่ยม

1.3  มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ     ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

              มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

              สถานศึกษาได้พัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี 6 ด้าน และการพัฒนาคุณลักษณะ                อันพึงประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้

1.1         การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                       (1) สถานศึกษาได้พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสารและคิดคำนวณ    โดยส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการพัฒนาสื่อและใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีการสอนซ่อมเสริมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และคณิตศาสตร์  ให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่านเขียนตามบัญชีคำพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้มีการประเมินความสามารถในการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (RT) การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนในระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ การทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติ (O-net) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

                       (2) สถานศึกษาได้พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ

อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นและแก้ปัญหา โดยการจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา

นักเรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย และมีการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ด้าน ประเมินการอ่าน คิด

วิเคราะห์และเขียน ในทุกระดับชั้น

                             (3) สถานศึกษาได้พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมโดยการจัดเรียนการ

สอนที่ให้นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่ม เน้นกระบวนการแก้ปัญหา การสร้างชิ้นงาน รวบรวมองค์ความรู้ด้วยตนเอง   

เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การนำนวัตกรรมไปใช้ และเผยแพร่

                       (4) สถานศึกษาได้พัฒนาให้ผู้เรียนความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการ

สื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง ซึ่งได้การจัดการเรียนการสอนในสาระที่ 4 เทคโนโลยี ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี

                       (5) สถานศึกษาได้พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้น

พื้นฐาน โดยกำหนดเป้าหมายในการจัดกระบวนการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งผลปรากฏว่าผู้เรียนร้อยละ

60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีผลการเรียนแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ใน

ระดับ 3 ขึ้นไป

                       (6) สถานศึกษาได้พัฒนาให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

โดยให้ความรู้ ฝึกทักษะการปฏิบัติงานและปลูกฝังเจตคติต่องานอาชีพให้แก่นักเรียนผ่านรายวิชาการงานอาชีพ

และมีการวัดแววความสามารถพิเศษของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6

                   1.2 การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์

                        สถานศึกษาได้พัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี มีความสามารถ 4 ด้าน ดังนี้

                         (1) การมีคุณลักษณะ และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

                         (2) การมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

                         (3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย

               มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริการและจัดการ

                        (1) สถานศึกษาได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา ซึ่งได้จากการวิเคราะห์สภาพปัญหา ข้อมูลสารสนเทศ ผลจากการนิเทศ ติดตาม และตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยคณะครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ  และกิจกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                         (2) สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วม และหลักการบริหารแบบ PDCA ในการบริหารงานคุณภาพ ที่ใช้ควบคุมและพัฒนากระบวนการขององค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณะครูและบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ผ่านการเห็นชอบโดยคณะกรรมการสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ 

 

              มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

             (1) สถานศึกษามีจัดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง จัดทำแผนการเรียนรู้ และจัดกระบวนการเรียนการสอนมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning ทั้งยังมีการจัดโครงการทัศนศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้นอกสถานที่

             (2) สถานศึกษาจัดโครงการทางด้านการศึกษาที่หลากหลาย ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

             (3) สถานศึกษามีห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ เป็นแหล่งรวมของสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และผู้เรียนได้ใช้ห้องสมุดในการค้นคว้าหาความรู้นอกห้องเรียน

 

             (4) มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สถานศึกษาจัดบรรยากาศในการเรียนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ มีการยอมรับซึ่งกันและกัน มีความอบอบอุ่น และสามารการควบคุมการมีระเบียบวินัยได้ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการชั้นเรียน จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะแก่การเรียนรู้ โดยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกภายในชั้นเรียนให้มีไว้อย่างเพียงพอ เป็นระเบียบ พร้อมใช้งานตลอดเวลา ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน กระดานดำ บอร์ดสำหรับจัดนิทรรศการ มีสื่อ/อุปกรณ์สืบค้นโดยระบบ ICT เป็นต้น นอกจากนี้การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การให้ทุนการศึกษาตามระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยยากจน กิจกรรมการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน การประชุมผู้ปกครอง ทำให้ผู้เรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ส่งผลให้ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง

          ผลการพัฒนา

          มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

1.1         ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                            (1) ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และมีพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับช่วงวัย คิดเป็นร้อยละ 97.40

                            (2) ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ ของแต่ละระดับชั้น คิดเป็นร้อยละ 90.90

                             (3) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาได้ คิดเป็นร้อยละ 90.90

                             (4) ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมโดยการรวบรวมองคความรู้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 97.40

                             (5) ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 97.40

                             (6) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 84

                             (7) ผู้เรียนมีผลการประเมินความสามารถในการอ่าน (RT) อยู่ในช่วงคะแนนที่คิดเป็นร้อยละ 86.11 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

                             (8) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) อยู่ในช่วงคะแนนที่คิดเป็นร้อยละ 47.87 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี

                             (9) ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ (ONET) มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 28.59

                             (10) ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 97.40

 

 

 

                   1.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                         ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีงาม ยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี คิดเป็นร้อยละ 97.40

 

             มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริการและจัดการ

                   (1) สถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของท้องถิ่น และสถานศึกษา ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา

                   (2) สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียน มีการพัฒนาห้องเรียนคอมพิวเตอร์ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ

                   (3) สถานศึกษาได้ติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการคุณภาพการศึกษาโดยจัดการประชุมครูและบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ผ่านการเห็นชอบโดยคณะกรรมการสถานศึกษา

                   (4) สถานศึกษาได้ขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมพิเศษของโรงเรียนจากผู้เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสานศึกษา และมีการสอบถามความคิดเห็นเพื่อประเมินคุณภาพ และความพึงพอใจในการจัดการศึกษา โดยได้นำมูลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

            (5) สถานศึกษาได้ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่ กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียน มีการพัฒนาห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม และมีทักษะชีวิต

                   (6) สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางอาชีพโดยครูและบุคลากร ร้อยละ 100 ได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

                   (7) สถานศึกษาได้จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ เช่น การจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะแก่การเรียนรู้ มีมุมต่างๆของห้องเรียน เช่น มุมส่งเสริมการอ่าน มุมของเล่น การดำเนินการซ่อมเปลี่ยนประตูห้องเรียนทำให้ห้องเรียนมีสภาพพร้อมใชงาน  นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน เช่น เครื่องเล่นสนามเด็กเล่นบริเวณทางเดินระหว่างอาคารให้มีความร่มรื่น ปลอดภัย เหมาะแก่การเรียนรู้

                   (8) สถานศึกษาได้กิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ ได้แก่ การติดตั้งทีวีในห้องเรียน ติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตทุกอาคารเรียนเพื่อกระจายสัญญาณ WIFI  ให้ครูผู้สอนใช้ในการจัดการเรียนการสอน และผู้ปกครองและประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศของสถานศึกษาได้ง่าย

 

 

              มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

                   (1) นักเรียนร้อยละ 100 เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และโครงการโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และมีทักษะจากกระบวนการเรียนรู้

                   (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะอย่างหลากหลายที่เกิดจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ผู้เรียนกล้าแสดงออก สามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น  มีทักษะชีวิต และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ

                   (3) ผู้สอนร้อยละ 95 มีการผลิตและพัฒนาสื่อการสอน นวัตกรรม เช่น สื่อออนไลน์ บัตรคำ บัตรภาพ เกม ชุดแบบฝึก และได้นำนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสอนส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีความสุขในการเรียนรู้ นอกจากนี้ ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้ใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนซึ่งช่วยเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

จุดเด่น

              มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

    โรงเรียนบ้านไสมะม่วง มีการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จรายปี คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลมีกิจกรรมและโครงการที่หลากหลายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีความรู้ ความสามารถ ตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

    สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติ ทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ บูรณาการความรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้และบริบทของชุมชน ส่งเสริมให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองนักเรียนมีทักษะในการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต กล้าแสดงออก รักการออกกำลังกาย รู้จักการยอมรับในกฎกติกาของสังคม

               มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริการและจัดการ

                    สถานศึกษามีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มงาน ประกอบด้วย กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานทั่วไป กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารงานงบประมาณ คอยกำกับ ดูแลองค์กร และพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี โดยดำเนินงานตามปฏิทินที่กำหนดไว้มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาชาติ ตามนโยบายของรัฐบาล และต้นสังกัดทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานด้านวิชาการ เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ ให้เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้ปกครองนักเรียนแต่ละชั้นในการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงาน และมีการจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

              มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

          สถานศึกษาได้ดำเนินการให้ครูมีจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learnig ให้ผู้เรียนได้ลงปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ครูเรียนรู้การประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำผลกลับมาพัฒนาผู้เรียน นอกจากนี้ ได้นำศาสตร์ของพระราชาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการเรียนการสอน

 

จุดที่ควรพัฒนา

          (1) จัดกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่านออกเขียนได้ การคิดคำนวณ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน นำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

                                (2) ควรเพิ่มเครือข่าย และขยายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการประเมินคุณภาพภายในและพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง

                   (2) จัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับผู้เรียน

                    (3) ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลด้วยระบบออนไลน์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

 

แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

                    (1) พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ชิ้นงาน และมีการสร้างเวทีให้ผู้เรียนเผยแพร่ผลงาน ในช่องทางต่างๆ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงให้มากขึ้น โดยมีการวางแผน การจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และมีการประเมินความสามารถ ในการคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

                    (2)  พัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณเป็น  อย่างเป็นระบบ

                    (3)  ส่งเสริมให้ครูผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน และ ผู้ปกครองเพื่อการสร้าง การร่วมมือในการดูแลนักเรียน

                    (4) จัดระบบนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

         

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.