f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self Assessment Report : SAR ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านในปง
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านในปง
วันที่   16   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 134
Bookmark and Share


 

 

 

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

          โรงเรียนบ้านในปง ที่อยู่ 141 หมู่ 3 ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92220

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายวินิต  คงหน่อ เบอร์โทรศัพท์  

086 – 0194785 จำนวนครู 12 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 10 คน  พนักงานราชการ 1 คน   เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน จำนวนนักเรียนรวม 147 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 41 คน ระดับประถมศึกษา  106 คน 

 

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับ ปฐมวัย

      1.มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม                     

      1.มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม      

      1.มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านในปงมีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย  มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตา ประสานสัมพันธ์ได้ดี  มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด  มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง อีกทั้งส่งเสริมกิจกรรมให้เด็กมีความร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม  มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้มแย้ม  ไหว้ ทักทาย ส่งเสริมให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตร รู้จักดูแลความสะอาด มีวินัยในตนเอง ประหยัด และพอเพียง ยอมรับเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมปลูกฝังให้เด็กรู้จักประเพณี วัฒนธรรมด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้   มีทักษะการคิดพื้นฐาน แสวงหาความรู้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย   ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา ส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน สถานศึกษามีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เป็นการเรียนรู้ตามกิจกรรมประสบการณ์และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้สอดคล้องกับกับหลักสูตรและบริบทของโรงเรียน มีการจัดทำแผน   การจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยทั้ง 3 ระดับชั้น อนุบาล1-3 มีการประชุม วางแผนการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาอย่างมีระบบ รวมถึงครูได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลและจัดกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัยโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูจัดห้องเรียนที่เหมาะสมกับวัยของเด็กในด้านความสะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีมุมแสดงผลงานเด็ก มุมประสบการณ์ มีการรายงานผลการประเมินพัฒนา   การแต่ละภาคเรียนของปีการศึกษาแก่ผู้ปกครอง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาเด็กต่อไป

ผลการพัฒนา

          เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้                มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  มีพัฒนาการด้านสติปัญญา การสื่อสาร มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ สถานศึกษาได้จัดการศึกษาระดับปฐมวัยโดยมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของ สถานศึกษาได้อย่างชัดเจน มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง         4 ด้าน มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับการศึกษาปฐมวัยโดยสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีครูเพียงพอครบชั้นทั้ง 3 ระดับชั้นอนุบาล1-3  และได้รับการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อที่ปลอดภัย และมีการดำเนินงานกระบวนการบริหารจัด        การคุณภาพสถานศึกษาอย่างเป็นระบบที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กอย่างหลากหลาย

จุดที่ควรพัฒนา

          ความสะดวกในการใช้สื่อและเทคโนโลยีควรได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในด้านการบริการอย่างต่อเนื่อง

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนบริหารและจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนกำหนดมาตรฐาน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถใน                การวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร  และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย              การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ฐานข้อมูลย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรม  ให้ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี  มีความกล้าแสดงออกและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข และเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ละระดับชั้น มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาตามบริบทของสถานศึกษา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน พัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตจริง  จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ปฏิทินการปฏิบัติงาน  ปีการศึกษา 2565 ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มี             ความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ส่งผลต่อผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุน                          การบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพและบริบทของโรงเรียน มีการดำเนินงาน / โครงการ /กิจกรรมอย่างหลากหลาย    มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยั่งยืน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนิน               การตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุง  การจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ใน     การจัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ มีนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้ผู้เรียนรัก  การเรียนและเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุง  การจัดการเรียนรู้และสอนตามแผนการเรียนรู้อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆ  ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น                      มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพหลังจากใช้สื่อ

ผลการพัฒนา

          จากการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6  ผลการอ่านออกเขียนได้ ด้านการอ่านอยู่ในระดับดีขึ้นไป  คิดเป็นร้อยละ 69.33 ด้านการเขียน อยู่ในระดับดีขึ้นไป  คิดเป็นร้อยละ 65.16 นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล                     มีความสามารถในการสืบค้นความรู้ได้ด้วยตนเองโดยเชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ใน   การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จากการเรียนรู้และได้ปฏิบัติจริง นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 100 มีผลการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน          ในระดับดีขึ้นไปตามที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ 50.61 โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น สนองตามความมุ่งหมายของหลักสูตร ตามนโยบายของต้นสังกัดและกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล  และปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุม        ทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนร่วมด้วย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชน  แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ใน    การพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อม  ทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดหา พัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่อง โดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญดังนี้ ครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ให้นักเรียน นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้  มีแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการ   ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (กลุ่มเป้าหมายนักเรียนเรียนรวม) ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดง           ความคิดเห็น ได้แสดงออก เป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้นำเสนอผลงาน  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ใน          การจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจาก สื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการ           ชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเด็กกับครู  ครูกับเด็ก เด็กกับเด็ก  เด็กรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอนใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนา     การเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (PLC) เป็นชุมชนแห่ง      การเรียนรู้ทางวิชาชีพ และนำไปปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนรู้

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

โรงเรียนพัฒนาบุคลากรทุกคนให้มีความพร้อมในทุก ๆด้านอยู่เสมอ และส่งเสริมให้ผู้ปกครองเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีพัฒนาการไปตามวัย เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

 

 

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน   ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักเรียนอย่างหลากหลาย

จุดที่ควรพัฒนา

          ความสะดวกในการใช้สื่อและเทคโนโลยีควรได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในด้านการบริการอย่างต่อเนื่อง

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.