f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self Assessment Report : SAR ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดเขาพระ
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดเขาพระ
วันที่   17   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 152
Bookmark and Share


  

 

 

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

 

               โรงเรียนวัดเขาพระตั้งอยู่เลขที่ ๒๔  หมู่ที่ ๔   ตำบลคลองปาง  อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง  รหัสไปรษณีย์ ๙๒๑๖๐  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๒ ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓

              ปีการศึกษา ๒๕๖๕  มีครูจำนวน ๑๔  คน ครูประจำการ  ๑๔  คน ( ไม่นับรวมกับผู้บริหาร) มีนักเรียนทั้งหมด ๑๓๐ คน ระดับชั้นอนุบาล จำนวน  ๑๗ คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน  ๖๘  คนและระดับมัธยมศึกษา  จำนวน ๔๕ คน  ได้ดำเนินการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามระบบประกันคุณภาพภายในทางการศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษา ซึ่งได้ กำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน และ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ดังนี้

 

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย                            ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของเด็ก                                               ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ                         ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ ๓  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ                    ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

 

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน                        ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

 

          มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของผู้เรียน                                            ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

          มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ                          ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ ๓  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

         

จากการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน และ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสรุปผล การประเมินตนเองของสถานศึกษา  มีกระบวนการพัฒนา ผลการพัฒนา จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับ  ให้สูงขึ้น ซึ่งจะนำเสนอเป็นภาพรวมของแต่ละระดับการศึกษา ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของเด็ก

           กระบวนการพัฒนา

๑. จัดทำโครงการพัฒนาปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย  โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน โดยจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองทำการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ไว้ทุกเดือน  เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก ให้เด็กดื่มนมและแปรงฟันทุกวัน  เด็กได้ทำกิจกรรมที่บ้าน กับผู้ปกครอง เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วว่องไว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกหลักโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย มีการประเมินพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ให้เด็กปฏิบัติ

          ๒. จัดทำโครงการพัฒนาปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย  โดยจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านสุขนิสัย  โดยครูแจกใบงานตามหน่วยการเรียนรู้เพื่อให้เด็กปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่บ้าน สวมใส่เสื้อผ้า การเข้าใช้ห้องน้ำ การรับประทานอาหาร การอาบน้ำแปรงฟัน จัดเก็บที่นอน และของใช้ส่วนตัวได้เองโดยผู้ปกครองเป็นผู้ดูแล ติดตามส่งผลงานครูประจำทุกสัปดาห์

          ๓. จัดทำโครงการพัฒนาปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ โดยจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การวาดภาพ การฉีกปะภาพ การปั้นดินน้ำมัน  การพิมพ์ภาพ การเป่าสี และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ    

          ๔. จัดทำโครงการพัฒนาปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย โครงการโรงเรียนวิถีพุทธปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ยั้งยืน โดยครูจัดกิจกรรมสื่อสารสร้างข้อตกลงขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง  การช่วยเหลืองานบ้านพ่อแม่ และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และ เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา และวันธรรมสวนะตามความเหมาะสม

ผลการพัฒนา

          ๑. เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กันดี จำนวนเด็กอนุบาล  ๑๗ คน   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

          ๒. เด็กมีมีสุขภาพอนามัยและมีสุขนิสัยที่ดีสามารถเด็กปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ จำนวนเด็กอนุบาล ๑๗ คน คิดเป็น  ร้อยละ ๑๐๐

          ๓. เด็กรู้จักป้องกันตนเองจากโรคโควิด ๑๙ และรู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากการเล่นและการทำกิจกรรมเรียนรู้ จำนวนเด็กอนุบาล ๑๗ คน คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐

          ๔. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรีเล่นตามมุมประสบการณ์  จำนวนเด็กอนุบาล ๑๗ คน ร้อยละ ๑๐๐

          ๕. เด็กมีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์        มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัยบรรลุเป้าหมาย               ที่สถานศึกษากำหนด จำนวนเด็กอนุบาล ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๑๒

 

 

จุดเด่น  

๑. เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ มีทักษะในการเคลื่อนไหว ไปตามวัย มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตนเอง หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อโรคภัยและสิ่งเสพติด

          ๒. เด็กสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้ มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์

          ๓. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น มีความมั่นใจกล้าแสดงออก ด้านสังคม มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักแบ่งปัน ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทย และศาสนาที่ตนนับถือ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว รักการเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย

จุดที่ควรพัฒนา

๑. พัฒนาให้เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย และมีร่างกายสมบูรณ์ตามวัย และ

หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพ   ที่ถูกวิธีแก่ผู้เรียน และบุคลากรในโรงเรียน เน้นการออกกำลังกาย ทั้งผู้เรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนชุมชนด้วย

          ๒. จัดโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก เช่น กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   

( การทดลอง ) การใช้คำถาม ปริศนาคำทาย เป็นต้น เพื่อให้เด็กปฐมวัย เกิดการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิด

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

๑. พัฒนาให้เด็กมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย และมีร่างกายสมบูรณ์ตามวัย หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งมอมเมา จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธีแก่เด็ก  และบุคลากรในโรงเรียน เน้นการออกกำลังกาย ทั้งผู้เรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนชุมชนด้วย

๒. จัดโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก เช่นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

(การทดลอง) การใช้คำถาม ปริศนาคำทาย เป็นต้น เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิด

          มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ

          กระบวนการพัฒนา

          ๑. โรงเรียนได้ดำเนินการให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  โดยสถานศึกษาออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อม และไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ ผ่านการเล่น และการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการ และความแตกต่างของเด็กปกติ และกลุ่มเหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น

๒. ครูศึกษาปรัชญา และหลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา

          ๓. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และออกแบบหลักสูตร

สถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์ และการประเมินพัฒนาการเด็กใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรม มีการสังเกต และประเมินพัฒนาการ เป็นรายบุคคล

          ๔. สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยมีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน  สื่อสำหรับเด็ก มุมศิลปะ มุมแต่งตัว มุมบล็อก  สื่อเทคโนโลยี สื่อจากธรรมชาติ สื่อเพื่อการสืบเสาะหาความรู้

๕. โรงเรียนจัดระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สร้างการมีส่วนร่วม และแสวงหาการร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน เช่น มีการประชุมผู้ปกครอง อย่างน้อย ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง

ผลการพัฒนา

          โรงเรียนมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา และนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพจัดระบบ และกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมตระหนักรู้ และเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยได้เป็นอย่างดี

โรงเรียนได้สร้างการมีส่วนร่วม และแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น ได้เป็นอย่างดี จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

โรงเรียนมีการจัดการเรียนระดับปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล ๒ และ อนุบาล ๓ มีครูเพียงพอกับชั้นเรียน และมีครูจัดประสบการณ์เพิ่มเติมในด้านคอมพิวเตอร์ และพละศึกษา สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้อย่างหลากหลายส่งเสริมพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

ครูและบุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเอง ได้ตามความถนัด ความสนใจ และเต็มศักยภาพโดยเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้จากสภาพจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

          จุดเด่น

โรงเรียนมีกิจกรรม และโครงการส่งเสริมให้สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุนให้

สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมี กิจกรรม สนับสนุน ได้แก่ กิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา กิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียน กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียน และคุณภาพชีวิตของนักเรียนก่อนประถมศึกษา

          จุดที่ควรพัฒนา

๑. ครูผู้สอนพัฒนาตนเองเพื่อการสอนที่ดีขึ้นให้เป็นไปตามหลักสูตรที่ชัดเจนขึ้น

๒. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเอง ได้ตามความถนัด ความสนใจ และ 

เต็มศักยภาพโดยเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้จากสภาพจริงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และได้เรียนรู้อย่างหลากหลายไม่จำกัดเฉพาะในหนังสือ หรือสาระเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูตร

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

๑. ครูผู้สอนพัฒนาตนเองนำทักษะใหม่ๆในการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

๒. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้ตามความถนัด ความสนใจ และเต็มศักยภาพ โดยเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้จากสภาพจริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และได้เรียนรู้อย่างหลากหลายไม่จำกัดเฉพาะในหนังสือ หรือสาระเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูตร

๓. ควรจัดระบบนิเทศภายในอย่างต่อเนื่อง ครบวงจร นิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับ ประเมินผล และนำผลการประเมินเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ปัญหา และพัฒนาต่อไป

          มาตรฐานที่ ๓  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

          กระบวนการพัฒนา

          มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กรายบุคคล รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนิน การตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

          จัดทำโครงการพัฒนาปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย  โครงการโรงเรียนวิถีพุทธปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ยั่งยืน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญ   ทางศาสนา และวันธรรมสวนะตามความเหมาะสม

          จัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ได้รับประสบการณ์ตรง ซึ่งทางโรงเรียนได้กิจกรรมที่หลากหลาย เช่น โครงการพัฒนาปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย  โครงการทดลองวิทยาศาสตร์น้อย  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ฯลฯ

          ครูสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง จัดทำวิจัย และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์ ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

ผลการพัฒนา

          มีการตรวจสอบและประเมินเด็กอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาเด็ก รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้  จัดกิจกรรมได้จริง มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เติบโตตามวัย  มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  มีอารมณ์แจ่มใส  ร่าเริง  สนุกสนาน 

เด็กได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ผ่านการเล่น และการลงมือปฏิบัติจริง ตอบสนองความต้องการ และความแตกต่างของเด็กปกติ และกลุ่มหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับบริบทของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น

จุดเด่น  

๑. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ  สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

๒. โรงเรียนมีบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีสื่อ และเทคโนโลยี

เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน

จุดที่ควรพัฒนา

๑. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายใน และภายนอกห้องเรียนให้มากขึ้น

๒. การปลูกฝั่งการมีระเบียบวินัย และการเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

๓. การปลูกฝังพฤติกรรมการรักษาความสะอาดอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

๑. ควรร่วมพลังเครือข่ายศูนย์ปฐมวัย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาต่างๆในการปฏิรูป

การเรียนรู้ และก้าวเดินไปด้วยกันอย่างภาคภูมิใจบนพื้นฐานของความสำเร็จร่วมกัน

๒. พ่อ แม่ ครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของผู้เรียน 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนมีโครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถ

ในการอ่าน การเขียนและการสื่อสาร โดยมีการะบวนการพัฒนา ดังนี้

๑. กิจกรรมพัฒนาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย โดยดำเนินการประเมินผู้เรียนตามแบบวัดและประเมินผลของ สพป.ตรัง เขต ๒ และดำเนินการจัดทำแผนการซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทย

          ๒. กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน

โรงเรียนมีการวิเคราะห์ปัญหาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีที่ผ่านมา ศึกษามาตรฐานตัวชี้วัด ในแต่ละวิชาจัดทำแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด

๓. ให้มีการจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน       มีผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด เช่น การสอนซ่อมเสริม การจัดสอนติวเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ รวมถึง    มีการวัดและการประเมินผลของรายวิชาต่าง ๆ ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

๔. โรงเรียนวัดเขาพระดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดี เพื่อสร้างวินัยให้นักเรียน  เพื่อให้นักเรียนตระหนักรู้ถึงการสร้างจิตสำนึก ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นไปตามแนวทาง  ๒๙  ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ ค่านิยมหลักคนไทย ๑๒  ประการ และให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จึงดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  ที่ยั่งยืน

๕. โรงเรียนวัดเขาพระ ได้จัดกิจกรรมอนามัยโรงเรียน  มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันรักษาและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนมีสุขภาพสมบูรณ์  แข็งแรง  พร้อมทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคม

ผลการพัฒนา 

๑. ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา

จากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด

๒. ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

          จากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำให้นักเรียนสามารถอ่าน เขียน ผ่านเกณฑ์การประเมินแต่ละระดับชั้น ทำให้มีผลการอ่าน การเขียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อยู่ในระดับ ดีมาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ผลการอ่านออกเสียง ร้อยละ ๘๒.๖๒ และผลการอ่านรู้เรื่อง ร้อยละ ๘๙.๒๕ รวม ๒ สมรรถนะเฉลี่ยร้อยละ ๘๕.๙๓

๓. จากที่โรงเรียนวัดเขาพระได้จัดกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน และนอกห้องเรียน มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทำให้มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โดยแยกเป็นระดับชั้น ดังนี้ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๖๘.๔๒ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๗๙.๓๑ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๗๘.๒๖

๔. ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายของโรงเรียนวัดเขาพระ ทำให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ และมีสุขภาพในช่องปากอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๘๔.๖๕           

จุดเด่น  

๑. ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่าน คล่อง ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว     

          จุดที่ควรพัฒนา

๑. ผู้เรียนในระดับชั้น ป.๑ - ป.๖ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสม  ผู้เรียนในระดับชั้น    ม.๑ - ม.๓ ยังต้องได้รับการส่งเสริมในด้านทัศนคติที่ดี ต่อความเป็นไทย ไม่หลงใหลกับค่านิยมต่างชาติ จนเกิดการลอกเลียนแบบ ทำให้ลืมวัฒนธรรม อันดีงามของไทย

๒. เปิดให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑. โรงเรียนควรจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตร

สถานศึกษา มีแผนการจัด การเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง สร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และมีการเผยแพร่

 ๒. จัดให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 ๓. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้ง        ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้  โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

          มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ  

          กระบวนการพัฒนา

          ๑. โรงเรียนวัดเขาพระ ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาและจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ      กลยุทธ์ ให้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการชุมชน 

          ๒. โรงเรียนวัดเขาพระ  ได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดให้  

          ๓. โรงเรียนวัดเขาพระ ได้ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา ให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนใน การจัดระบบบริหารงานบุคคล มีสารสนเทศและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดและครอบคลุมความต้องการอัตรากำลังและสาขาวิชาที่ต้องการ 

          ๔. โรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย บริเวณโรงเรียนจัดสภาพบริเวณโรงเรียนสะอาดเป็นระเบียบ

          ๕. โรงเรียนวัดเขาพระ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีการพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ทางการศึกษา เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และแหล่งการเรียนรู้ตรงตามที่หลักสูตรกำหนด

          ผลการพัฒนา

๑. มีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น ผู้บริหาร  ครู

ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร

๒. หลักสูตรมีองค์ประกอบครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ คือ มีวิสัยทัศน์ จุดหมาย คุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ โครงสร้างเวลาเรียน คำอธิบายรายวิชา แนวทางดำเนินการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล

๓. หลักสูตรผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

๔. มีการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนรู้ มีระบบการนิเทศ ติดตามการใช้

หลักสูตร มีการนำผลการนิเทศติดตามและการประเมินการใช้หลักสูตรมาปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่องและในการจัดกระบวนการเรียนรู้

จุดเด่น

๑. โรงเรียนวัดเขาพระ มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนวัดเขาพระ  ได้ใช้เทคนิค  การประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรโรงเรียนวัดเขาพระ 

๒. ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และการจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

๑. เปิดให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

          ๒. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

          แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑. ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำบริหารจัดการด้านการศึกษาบรรลุเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์ ปรัชญาและจุดเน้นที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมและให้บริการแก่ชุมชน จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๒. โรงเรียนจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา

๓. โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมี     ความปลอดภัย กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ ตามโครงการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ ๓  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กระบวนการพัฒนา

๑. โรงเรียนมีโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  รวมถึงการบูรณาการรูปแบบและเทคนิคต่างๆในการจัดการเรียนรู้  การจัดทำแผน การจัดการเรียนรู้  การผลิตสื่อ การใช้สื่อเทคโนโลยีนวัตกรรมในการสอน   การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง  การสอนแบบโครงงาน  การทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างจริงจังรวมไปถึงการยกระดับคุณภาพของสถานศึกษา  ผู้บริหาร  ครู และนักเรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น

          ๒. ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยเน้น การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก       ให้เด็กรักครู ครูรักเด็กและเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข จัดให้มีกิจกรรมแนะแนวให้ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษาได้พูดคุยกับนักเรียนในชั้น การจัดชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการสภานักเรียนเข้ามีบทบาทในการดำเนินการ มีครูเวรประจำวันคอยรับ-ส่งนักเรียนที่ประตูทางเข้าโรงเรียน

          ๓. โรงเรียนวัดเขาพระได้จัดการเรียนได้จัดการเรียนรู้และส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกผลจัดกิจกรรมเพื่อนำไปปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน เต็มศักยภาพตามมาตรฐานผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร การอบรมศึกษาดูงาน การจัดทำ PLC ในกลุ่มสาระต่างๆ 

ผลการพัฒนา 

          ๑. ครูออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอนที่หลากหลายและใช้สื่อเทคโนโลยี       ในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข คอยให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำ คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาของผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิต มีการสร้างข้อตกลงในชั้นเรียน ตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และมีความยุติธรรมในการบริหารจัดการด้านพฤติกรรมของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติเชิงบวก

๒. มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะ สมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

๓. ผู้เรียนมีศักยภาพด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้  เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ มีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ร่วมกลุ่มกัน ร่วมกันแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน รวมทั้งการแสดงออก การแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงาน

จุดเด่น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยการคิด         ได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่เรียนอ่อน นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสอนเพิ่มเติมเสริมความรู้ให้กับนักเรียนทุกคนทุกระดับชั้น  นักเรียนได้เรียนรู้โดยการลงมือกระทำ ได้ปฏิบัติจริง นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

๑. ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาและกิจกรรมที่สอดคล้องกับตามต้องการ ตามความถนัดรายบุคคลให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น

๒. ครูควรปรับปรุงจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้สึกอยากมีส่วนร่วมและมีความสุขในการทำกิจกรรม

๓. ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

๔. ครูควรจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นตามความสามารถในการวิเคราะห์ของนักเรียนสม่ำเสมอ

แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

            ๑. โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศและความสามารถพิเศษ

  ๒. โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน

  ๓. มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เช่น การเยี่ยมบ้านผู้เรียน การคัดกรองและจำแนกเป็นกลุ่มตามสภาพของผู้เรียน (SDQ)

 

 

       
 
 
   

 

 

 

 

(นายกิตติศักดิ์  ชุมใหม่)

ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเขาพระ

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.