f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment ReportSAR)
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหาดยาว
วันที่   22   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 125
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

     ชื่อโรงเรียน                 โรงเรียนบ้านหาดยาว

     ตั้งอยู่ที่                     เลขที่ 36 หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92110

     โทรศัพท์                    086-9963126

     E – mail                   Banhadyao@gmail.com 

     สังกัด                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

     ชื่อผู้บริหารโรงเรียน      นายธาดา  สู้ณรงค์  รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหาดยาว

     โทรศัพท์                    086-9963126

     จำนวนครูและบุคลากร    ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน  จำแนกเป็นข้าราชการครู 3 คน   ครูอัตราจ้าง 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน และวิทยากรอิสลาม จำนวน 1 คน

     เปิดสอนระดับ             ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

     จำนวนนักเรียน             รวม 59 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 2 และ 3 จำนวน 10 คน และระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 49 คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.     ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่  1  คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดี

มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดี

มาตรฐานที่  3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

          จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งผลการประเมินโดยรวมของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดี  ดังนี้           

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดี

1.  กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนบ้านหาดยาว จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่านให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพของตน ได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ เพื่อให้เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม จัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน ดังนี้ จัดกิจกรรมเสรีหรือกิจกรรมการเล่นตามมุม เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสใหเด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระตามมุมเล่น เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจ และความตองการของเด็ก ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย โดยจัดให้เด็กได้เลือกเล่นในมุมต่างๆ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย

 

 

2.  ผลการพัฒนา

           โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของนักเรียนระดับปฐมวัยทุกคน จำนวน 1   แล้วนำมาประเมินตามเกณฑ์ของสถานศึกษา พบว่า

   1. การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย พบว่า เด็กอนุบาล 2 และอนุบาล 3 จำนวน 1 คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายในระดับดี จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ 8(เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ ๘0) 

  2. การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กจำนวน ๑๐ คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ในระดับดี จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐ (เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ ๘๐)

  3. การประเมินพัฒนาการด้านสังคม เจำนวน ๑๐ คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านสังคมในระดับดี จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐ (เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยล 80)

  4. การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กจำนวน ๑๐ คน พบว่าเด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับดี จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยล 70 (เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ ๗๐) ระดับพอใช้จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐ 

3.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          1. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตดี ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับ ได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย โครงการอาหารกลางวัน โครงการ/กิจกรรมอื่นๆ นำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

         2. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย และนำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

          3. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย นำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

4. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ซึ่งมีโครงการ/กิจกรรมรองรับได้แก่ โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย  กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ นำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป

4.  จุดเด่น   

          เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุภัยและสิ่งเสพติด มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใสร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี       

5. จุดควรพัฒนา

                    -   ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน

          -   การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

          -   การพัฒนาปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เป็นนิสัย

          -   การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ

          -   การใช้วาจาที่สุภาพเหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการมี   ผลการประเมินอยู่ในระดับ :  ดี                 

1.  กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 256๕ ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย  สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และได้จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียน การสอน โรงเรียนได้จัดครูผู้สอนมีวุฒิการศึกษาปฐมวัยเหมาะสมกับชั้นเรียน 

สนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองทางด้านประสบการณ์และวิชาชีพ  เช่น  กิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โครงการพัฒนาบุคลากร กิจกรรมนิเทศการสอนครูตลอดปีการศึกษา กิจกรรมศึกษาดูงาน กิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอน จัดทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ เป็นต้น

มีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ สื่อสำหรับเด็กมุด ลอด ปีนป่าย สื่อเทคโนโลยี สื่อเพื่อการสืบเสาะหา มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดและสาธารณชน  ผู้บริหารส่งเสริมให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลงาน กิจกรรมของโรงเรียน ผ่าน facebook : โรงเรียนบ้านหาดยาว และกลุ่ม Line จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นประจำสม่ำเสมอ

2.  ผลการพัฒนา

          1.  โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย

2.  โรงเรียนมีครูครูผู้สอนมีวุฒิการศึกษาปฐมวัย

3.  โรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 

4.  โรงเรียนส่งเสริมการเรียนรู้และมีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย

5.  โรงเรียนมีการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

6.  ผู้บริหารมีระบบบริหารที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลงาน กิจกรรมของโรงเรียน ผ่าน facebook : โรงเรียนบ้านหาดยาว และกลุ่ม Line  จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางกลุ่มไลน์ เป็นประจำสม่ำเสมอ

3.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1. สถานศึกษาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

          2. สถานศึกษาจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน เพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ

3. ส่งเสริมการเข้าร่วมการอบรมและแสวงหาความรู้ในการพัฒนางานของครูปฐมวัย ให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครองและชุมชนส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเหมาะสมตามวัยจัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับทุกชั้นเรียน มีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล ตรงความต้องการของครู

           4. ประสานความร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลิตสื่อร่วมช่วยกันจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน มีการดูแล บำรุง รักษา เครื่องเล่นสนาม คำนึงถึงความปลอดภัยของมีมุมประสบการณ์มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย

          5. สถานศึกษามีการวางแผนในการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

6.  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ผู้เรียน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

4.  จุดเด่น

ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลการดำเนินงานตามวิธีการที่ผู้สอนพัฒนาประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ  นักเรียนได้เรียนรู้จากการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปรากฏผลต่อบุคคลต่อไปนี้ 

1.     นักเรียนส่วนมากมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความพร้อมสามารถเรียนต่อในระดับชั้นต่อไปที่สูงขึ้นได้ 

2.     ครูผู้สอน เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนและคณะครูได้   

3.  ผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือในการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดประสบการณ์ให้นักเรียนของครูผู้สอนระดับปฐมวัย

5.  จุดควรพัฒนา

           ส่งเสริมและพัฒนาครูปฐมวัยในการนำวิธีการใหม่ๆ มาใช้จัดกิจกรรมการวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กรอบด้านให้มากขึ้น และเพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะเครื่องเล่นสนาม และจัดทำระบบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ถูกต้อง ครอบคลุมทันสมัยพร้อมใช้งาน จัดให้มีการตรวจสอบ ประเมินผล จัดทำรายงานเพื่อปรับปรุง พัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ :  ดีเลิศ

1.  กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้กำหนดเป้าหมายด้านกระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ในระดับคุณภาพดี ครูศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำกำหนดการจัดประสบการณ์ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเด็ก การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด กิจกรรมทัศนศึกษานำนักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา  เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย พัฒนาบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ เพื่อปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 

         โรงเรียนมีโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

          1.  กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

          2.  กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มีกิจกรรมการสืบค้น การทดลอง การแสดงความคิดเห็น

          3.  โครงการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย

          4.  กิจกรรมพัฒนา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

          5.  กิจกรรมการนิเทศภายใน

2.  ผลการพัฒนา

1.  ครูมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคลจัดทำแผนประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละ ๘๐ เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด 

          2. ครูมีการจัดประสบการณ์สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข  ร้อยละ ๘๐ ซึ่งเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่

3. ครูร้อยละ ๘0 มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย 

4. ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ร้อยละ ๘0 ซึ่งเป็นไปค่าเป้าหมาย    

3.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1.  ส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4  ด้านของเด็กปฐมวัย

          2.  ส่งเสริมให้ครูระดับปฐมวัยทุกคน สร้างโอกาสให้เด็กปฐมวัยทุกคนในการได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข ผ่านการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ให้กับเด็กระดับปฐมวัยทุกคน

          3.  ส่งเสริมให้ครูผู้สอนระดับปฐมวัยทุกคน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

          4.  ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  คิดค้นเครื่องมือและนำเทคนิคการวัดผลที่มีความเหมาะสมมาใช้ในการวัดพฤติกรรมการแสดงออก ใช้วิธีในการเก็บข้อมูลหลากหลายวิธี ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย

4.  จุดเด่น

          ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล และจัดกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการอย่างเหมาะสมให้ผู้เรียน โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กอีกทั้งครูมีการประเมินพัฒนาของเด็กตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย มีการวัดและประเมินการพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลายและสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง

5.  จุดควรพัฒนา

          1.  โรงเรียนกำหนดแผนการพัฒนาศักยภาพครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาให้ครูเป็นครูมืออาชีพเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กและมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ โดยโรงเรียนมีการนิเทศติดตามนิเทศการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง

          2.  ครูควรจัดประสบการณ์สอน โดยการนำเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย มุ่งพัฒนา ส่งเสริม ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เต็มศักยภาพ           

 

 

 

 

 

 

  

2.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     2.1 มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดี

     2.2 มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

     2.3 มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

          จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งผลการประเมินโดยรวมของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดีเลิศ  ดังนี้           

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดี

1.  กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในแต่ละระดับชั้น

2.  ผลการพัฒนา

            ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้เรียนมีมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดี  ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเอง ดังนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 49 คน อ่านออกเขียนได้ในระดับ ดี ขึ้นไป ร้อยละ  81.75 มีความสามารถในการสื่อสารเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบระดับชาติ 3 ปีย้อนหลังยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษา (NT)  ในบางวิชา และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติในบางวิชาและระดับชั้นที่สอบ ผู้เรียนไม่มีอัตราความเสี่ยงการติดสิ่งเสพติด  มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง ไม่มีการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน  โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน ครูจัดการเรียนการสอนส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน

3.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1.  พัฒนาด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย การทำความเคารพสถาบัน การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

      2.  พัฒนาด้านการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

      3.  ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

4.  จุดเด่น

            1.  นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ใฝ่เรียนรู้ เป็นพลเมืองที่ดีและมีทักษะในศตวรรษที่ 21

            2.  สามารถดูแลสุขภาพร่างกายและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและสิ่งเสพติด

            3.  มีคุณธรรม จริยธรรมและมีค่านิยมที่พึงประสงค์

            4.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

            5.  มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 

            6.  โรงเรียนมีนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกปี 

            7.  ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง สามารถจัดการเรียนรู้ ได้อย่างมีคุณภาพ มีการนิเทศ การสอนโดยครูผู้สอนเป็นทั้งผู้สังเกตการณ์สอน และเป็นผู้รับการสังเกตการสอน โดยมีกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

5.  จุดควรพัฒนา

            การปรับทัศนคติให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านทุกที่ทุกเวลาและสื่อรอบ ๆ ตัว ต้องส่งเสริมให้เป็นนิสัยและสามารถนำเสนอผลงานได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้องเหมาะสม  โรงเรียนยังต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในเรื่องของการกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลรอบข้าง เพื่อให้เกิดความรักสามัคคี รู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเป็นมีนิสัยทั้งในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรของโรงเรียน  

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.  กระบวนการพัฒนา

โรงเรียน มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา กำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน มีการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  ดำเนินงานพัฒนาครู และบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและ การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านหาดยาว มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม 

2.   ผลการพัฒนา

ผู้เรียนได้มีการพัฒนาวิชาการเน้นคุณภาพรอบด้าน ครูและบุคลากรมีความเชี่ยวชาญ ทางด้านวิชาชีพ  ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านหาดยาวได้เป็นอย่างดี การจัดการศึกษานำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุง  ทำให้พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง  มีการบริหารอัตรากำลัง  ทรัพยากรทางการศึกษา  และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  การนิเทศภายใน  ทำให้นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร  และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนา ร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมได้

3.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อที่หลากหลาย ส่งเสริมครูให้มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  การสนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนในการแข่งขันทักษะทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

4.   จุดเด่น

โรงเรียนบ้านหาดยาวมีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา มีกิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และมีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

มีผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และมีความสามารถในการบริหารจัดการ จึงทำให้การบริการจัดการด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศของโรงเรียนเป็นหมวดหมู่และเป็นปัจจุบัน ทำให้การบริหารจัดการของโรงเรียนมีประสิทธิภาพ  มีระบบบริหารที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมกำหนด มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด และดำเนินการตามแผน มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการติดตามผลการดำเนินงาน และมีการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีแล้วนำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยมีผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมี ส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด

หลักสูตรสถานศึกษามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่นการนิเทศภายใน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ  และนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ จัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด  ความสามารถและความสนใจ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการ ความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน  

ครูได้ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับความรู้ ความสามารถ หรือคุณวุฒิทำให้งานมีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชนในการจัดการศึกษา  ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ นำผลที่ได้จากการรับมอบหมายมาปรับใช้พัฒนาโรงเรียนจนส่งผลให้ผู้เรียน  ผู้ปกครอง  และชุมชนเกิดความพึงพอใจในผลของการบริหารการจัดการศึกษา ผู้บริหารให้คำแนะนำ  คำปรึกษาทางด้านวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพและเต็มเวลา 

ห้องเรียน อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัยมีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในสภาพใช้การได้ดี  สภาพแวดล้อมร่มรื่นและมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน  มีการจัดโครงการ  กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน  มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง  

โรงเรียนให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารในการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ตรงโดยบริการ Wireless network ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

5.  จุดควรพัฒนา

            การพัฒนาครูและบุคลากรควรมีการจัดการอบรมให้ครูทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ผลักดันให้ครูเข้ารับการพัฒนาตามมาตรฐานตำแหน่งและมีการปรับวิทยฐานะให้มากขึ้น  และสร้างความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ โดยจัดให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 

ซ่อมแซม บำรุงรักษาอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมให้มีความสะอาด ร่มรื่น และเชิญชวนผู้เรียนให้เข้าใช้ห้องสมุดให้มากขึ้น และมีกิจกรรมเสริมสร้างความรู้กับนักเรียนเพื่อสุขอนามัยที่ดีของตัวผู้เรียนเอง มีกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพ  โดยการนำอาชีพต่าง ๆ  มาสาธิต หรือนำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ตลอดเวลาทั้งครู ผู้ปกครอง  ผู้เรียน  และรวมไปถึงหน่วยงานราชการอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.  กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมอย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยกระบวนการ Active Learning ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของผู้เรียน และสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีการเสริมแรงทางบวก ชื่นชมผู้เรียนที่กล้าแสดงออก ตอบคำถามได้ถูกต้อง ให้ความรักและเมตตาต่อศิษย์อย่างเท่าเทียมกัน ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่เหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการรายงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ผู้ปกครองรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ครูเน้นการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นกัลยาณมิตร ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีการนิเทศชั้นเรียนแบบศึกษาชั้นเรียน มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) นำผลไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น ครูมีการพัฒนาตนเองด้วยการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ทำให้ครูมีความสามารถในการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และบริหารจัดการการเรียนการสอนร่วมกัน ดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง เพื่อแก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในเรื่องการเรียนและคุณภาพชีวิต

2.   ผลการพัฒนา

ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง ส่งผลให้การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และได้นำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดทักษะการคิด มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้สามารถแก้ปัญหาทางการเรียนของผู้เรียนได้    

3.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1.     ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active  Learning และส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลาย   

2.     พัฒนาระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม

3.     สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

 

4.   จุดเด่น

โรงเรียนมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น มีกิจกรรมการสอนที่หลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งครูผู้สอนมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการเรียนการสอน โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการคิด การปฏิบัติจริง มีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้  ได้คิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการเรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ครูมีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับนักเรียนมีการนำวิทยากรจากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และการศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

5.  จุดควรพัฒนา

ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น มีประสบการณ์ตรง และสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้กลับไปใช้พัฒนาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข  การจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพเข้าสอนตรงเวลา และให้ความรู้กับผู้เรียนอย่างเต็มที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาให้ครูโรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆมีความมุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมมือกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ  และประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและชุมชน ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันได้ตลอดเวลาทั้ง ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และรวมไปถึงหน่วยงานราชการอื่น ๆ ใกล้เคียง

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.