f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
วันที่   2   มิถุนายน   2566
เข้าชม : 426
Bookmark and Share


บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

          โรงเรียนวัดไตรสามัคคี  ที่ตั้ง 200  หมู่ที่ 5  ถนนเพชรเกษม  (ตรัง-กระบี่)  ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต  2  โทรศัพท์/โทรสาร 075-290248  E–mail : wattraisamakkee200@gmail.com  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา  เขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4, 9 ตำบลนาวง  หมู่ที่ 4 ตำบลบางดี  และหมู่ที่ 5 ตำบลวังคีรี

ข้อมูลผู้บริหารโรงเรียน

นายภูวดล  เม่งช่วย           ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี       เบอร์โทรศัพท์    0873888522

นางสาวจินดาวัลย์  นวลใย  รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี   เบอร์โทรศัพท์    0918686286

ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา

จำนวนครู  22  คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู  19  คน ครูอัตราจ้าง  3  คน เจ้าหน้าที่อื่นๆ  1  คน

ข้อมูลนักเรียน  (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2565)

จำนวนนักเรียน  รวม 419 คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา  94  คน ระดับประถมศึกษา  325 คน

ระดับการศึกษาปฐมวัย

          มาตรฐานที่  1  คุณภาพของเด็ก   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม   

          มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม   

          มาตรฐานที่  3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

สรุปผลภาพรวมของสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม     

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดไตรสามัคคี ได้มีได้มีกระบวนการพัฒนาเด็ก  ที่หลากหลาย ส่งเสริมและมุ่งพัฒนาคุณภาพเด็ก ให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีพัฒนาการเรียนรู้ในหลายๆ ด้าน หลากหลายวิธีเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  จัดกิจกรรมในห้องเรียน และนอกห้องเรียน  ส่งเสริมการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพอนามัย และสุขนิสัยที่ดี รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อม ที่ดีและเอื้อต่อการเรียนรู้   มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีสารประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ถึงผู้ปกครองเรื่องการดูแลตนเองของเด็ก และได้รับความร่วมมือจากเทศบาลตำบลนาวงในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก จัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสำคัญต่างๆ  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกอย่างเหมาะสมกับวัย รู้จักการรอคอย ยอมรับและ พอใจในความสามารถของตนเองและผู้อื่น ครูมีการจัดแผนการจัดประสบการณ์ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก จัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้ มีพฤติกรรมที่แสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย ได้ร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมตาวิเศษเห็นนะ กิจกรรมยามเช้า กิจกรรมหนูน้อยมารยาทงาม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในห้องเรียน การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข มีมารยาทตามวัฒนธรรมความเป็นไทยและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ส่งเสริมให้เด็กรู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ของตน และของส่วนรวม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงาน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ ได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะตัวอักษร เพื่อสอนให้เด็กจดจำรูปร่างของตัวอักษรและเสียงของตัวอักษร ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา มีนิสัยรักการอ่าน สนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัยจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก   ได้เรียนรู้นอกสถานที่ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้  มีวิธีการ แนวทาง และแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษานำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างมีระบบและกลไก ให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้ตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย จัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น รวมทั้งมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน  มีการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC)ประชุมวิชาการระดับปฐมวัยมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กและบริบทของท้องถิ่น ซึ่งคุณครูผู้รับผิดชอบระดับชั้นปฐมวัยได้ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา กลุ่มงานบริหารงานบุคคลมีการดูแลอัตรากำลังครูให้มีสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนนักเรียน มีการกำหนดภาระงานครูอย่างชัดเจน ได้ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดยใช้ โครงการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอน พัฒนา และประเมินหลักสูตร ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ ร่วมมือกับชุมชน และส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูอย่างต่อเนื่อง โดยให้ครูอบรมในเรื่องต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาและจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด รวมทั้งจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้มีแสงสว่างเพียงพอ มีการจัดทำป้ายนิเทศตามหน่วยการเรียน มีการส่งเสริมเละสนับสนุนการผลิตสื่อการสอนการจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เด็กเข้าใจถึงหน่วยการจัดประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ตรวจสอบ ปรับปรุงซ่อมแซม สื่อการสอนให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และเหมาะสมกับเด็ก จัดสื่อ เทคโนโลยีที่พร้อมกับการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก มีการติดตั้งโทรทัศน์แบบ Smart TV เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กับทุกห้องเรียน ครูสามารถสืบค้นข้อมูล สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็ก เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานและเข้าใจสิ่งต่างๆมีการส่งเสริมบทบาทครูและบุคลากรในระดับปฐมวัยให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาของสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ครูร่วมกำหนดโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทักษะด้านต่างๆให้แก่เด็กร่วมหาแนวทางในพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานทั้งในลักษณะรายบุคคล และรายกลุ่ม การส่งเสริมบทบาทครูในการประกันคุณภาพภายใน โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ การจัดเก็บร่องรอยการดำเนินงานอย่างชัดเจน ใช้ระบบบริหารจัดการคุณภาพการจัดการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ผลการพัฒนา

                นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดไตรสามัคคี มีพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีสุขนิสัยที่ดี มีนิสัยรักความสะอาด และดูแลรักษาความสะอาดได้ด้วยตนเอง มีความตระหนักถึงความปลอดภัย รู้จักการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และโรคต่างๆมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ มีวินัย รับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน สามารถเล่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ รู้จักดูแลรักษาความสะอาดทั้งภายในและนอกห้องเรียน รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ของตน และของส่วนรวม เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีทักษะทางภาษาที่ดี ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย สนทนาโต้ตอบ แนะนำตนเองกับผู้อื่นได้ มีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนัก รู้และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีการวางแผน ดำเนินงาน ตรวจสอบ และปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดโครงการ กิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาและดำเนินการตามโครงการ กิจกรรมที่กำหนดไว้โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงาน รวมทั้งนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงการจัดโครงการกิจกรรมอย่างต่อเนื่องครูเข้าใจธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก สัดส่วนครูที่เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน ครูผู้สอนในระดับปฐมวัย จบการศึกษาสาขาปฐมวัย และมีใบประกอบวิชาชีพครูทุกคน  ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการตรวจสอบสภาพของห้องเรียน สิ่งของเครื่องใช้ของเด็กที่เหมาะสมปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันตนจากโรคการเจ็บป่วยพื้นฐาน จัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยของเด็ก ส่งผลให้มีสื่อที่ใช้งานได้จริง เพียงพอ ปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยของเด็ก มีการจัดมุมประสบการณ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กได้ครบถ้วน มีมุมต่างๆ ได้แก่ มุมหนังสือนิทาน มุมบทบาทสมมติ มุมสร้างสรรค์ มุมบล็อก มุมเกมการศึกษา เป็นต้น รวมทั้งมีการสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ทุกห้องเรียนจัดให้มีโทรทัศน์ แบบ Smart TV เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน ครูจัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามพันธกิจของโรงเรียน โครงการประชุมผู้ปกครอง และการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ตรงตามสภาพจริงโดยนำข้อมูลการประเมินจากเพื่อนครูมาประกอบการพิจารณา ระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษามีความเหมาะสม และต่อเนื่อง มีการนิเทศระหว่างการปฏิบัติงานส่งต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาบูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจนเป็นแบบอย่างที่ดี และได้รับการยอมรับจากชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จากการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กรายบุคคลเพื่อจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็ก จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุขจัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนผ่านเล่นเพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในและนอกห้องเรียน ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ  เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ผลการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสติปัญญา ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในห้องเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้เด็กรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็ก โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์กับเด็กที่เหมาะสม มีการจัดเตรียมสื่อการสอนที่หลากหลาย และตกแต่งห้องเรียนด้วยสื่อต่างๆติดตามห้องเรียนและมีมุมประสบการณ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กได้ครบถ้วน สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติย่างมีความสุข ผลการดำเนินงานการประเมินพัฒนาการของเด็กตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ผลการดำเนินงานการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เด็ก และผู้ปกครอง  นำผลการประเมินพัฒนาการไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครู มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหน

จุดเด่น  

เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกาย การแสดงออกทางอารมณ์ การช่วยเหลือตนเองและรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากขึ้นมีทักษะการคิดและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้สึกดีต่อตนเอง ภูมิใจในตนเอง กล้าซักถามสิ่งที่อยากรู้ มีความมั่นใจ   กล้าแสดงออก มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีน้ำใจแบ่งปันของเล่นของใช้ให้กับเพื่อนๆ เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  มีบุคลากรเพียงพอและ ตรงตามวิชาเอก   มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดไว้อย่างชัดเจน สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพการดำเนินงานพัฒนาวิชาการเน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมายครูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเรียนปนเล่น (Play & Learn)    เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในทุกกิจกรรม เปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความต้องการและความสนใจของตนเองการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก และมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ Active Learning

จุดที่ควรพัฒนา

เด็กบางส่วนยังขาดความกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรม ขาดระเบียบวินัยในตนเอง  ระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษายังขาดความคล่องตัว ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ยังขาดการเชื่อมโยง การผลิต จัดหาสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

          ครูควรมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลก่อนจัดประสบการณ์เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของเด็กสามารถ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมจัดการเรียนการสอนโดยความสนใจของเด็ก และให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้จริงให้เด็กได้เรียนจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของตนเองและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนมากขึ้น  ควรจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา  มีการประเมินพัฒนาการให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนให้มากขึ้น ปลูกฝังระเบียบวินัยให้เกิดกับเด็ก ควรศึกษาเทคนิคการสอนหลายๆรูปแบบ เพื่อนำมาจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและเด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพมากยิ่งขึ้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานร่วมกัน  และจัดโครงการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้มากยิ่งขึ้นรวมทั้งครู ได้เรียนรู้งานที่หลากหลาย ยกระดับระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาให้มีความความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นให้หัวหน้างานมีอำนาจในการวางแผนและตัดสินใจในการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ให้อย่างรวดเร็วทันกับสถานการณ์

 

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่  1  คุณภาพของผู้เรียน   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม           

       มาตรฐานที่ 3 กระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม                              

สรุปผลภาพรวมของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม                                                       

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดไตรสามัคคี  มีโครงการ/กิจกรรมที่ได้ดำเนินการส่งเสริมหรือบูรณาการ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านและชัดเจน  มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการสื่อสาร  ทั้งภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์  คิดคำนวณ  คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   ส่งเสริมให้ผู้เรียน  มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม  มีการนำไปใช้และเผยแพร่  และส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ส่งเสริมการใช้ชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายในสถานศึกษา อีกทั้งยังส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์  มีคุณธรรม  มีความรู้  ทักษะพื้นฐาน และเจตคติ  ที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการอ่าน การเขียนและการสื่อสาร มีกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีความเข้มข้นและเน้นการปฏิบัติจริง (Active  Learning)  เพื่อสร้างโอกาส ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ฝึกเขียนเรียงความในวันสำคัญต่างๆและส่งเสริมภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว สถานการณ์ปัจจุบันโดยให้ผู้เรียน นำเสนอคำศัพท์ภาษาอังกฤษทุกเช้าวันจันทร์ “English today”  ท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษในตอนเย็นก่อนเลิกเรียนครูและบุคลากรฝึกพูดสนทนาภาษาอังกฤษทุกวันจันทร์ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมวันคริสต์มาส ส่งเสริมนักเรียนในการเรียนรู้คำศัพท์ ทักษะ ภาษาอังกฤษ และวัฒนธรรมต่างชาติ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นกระบวนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ  พัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้  เน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริงโดยให้นักเรียนได้ลงมือทำ และมีวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการเตรียมความพร้อมการประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กิจกรรมเพิ่มความรู้ สู่การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( NT : National Test) ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และกิจกรรมสอนเสริมเพิ่มความรู้ O-NET ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT, NT และ O-NET ครูประจำชั้นและประจำวิชาใช้เวลาในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในการสอนเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดคำนวณผ่านโครงการตลาดนัดชุมนุม One  Project One Product  ฝึกคิด ฝึกทำ  และนำเสนอผ่านการฝึกฝนตลอดทั้งปีการศึกษา  มีการคำนวณต้นทุน กำไร ในบทบาทผู้ประกอบการ  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้ฝึกฝนทักษะการคิดคำนวณอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษของผู้เรียน กิจกรรมประกวดคิดเลขเร็ว  กิจกรรมแข่งขันซูโดกุ โครงงานคณิตศาสตร์ โดยส่งเสริมผู้เรียนในการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการในแต่ละระดับ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่าง  มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาผ่านโครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์แบบบูรณาการ ตามความถนัดและความสามารถของผู้เรียนทำให้เกิดการฝึกทักษะกระบวนการคิด  การทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้  กิจกรรมอยู่ค่ายแรมคืนลูกเสือ/ยุวกาชาด กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน กิจกรรมค่ายคุณธรรม กิจกรรมกีฬา/กรีฑา กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักเรียนชั้น ป.6 กิจกรรมโรงเรียนสุจริตเครือข่าย กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรม ICT กิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูที่สงเสริมใหผูเรียนมีทักษะการคิด านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ใหผู้เรียนไดลงมือ จัดกิจกรรมใหมีความสามารถดานการคิดอยางเปนระบบและนำเสนอความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับเครือข่ายสถานศึกษาเสมาสามัคคี ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา  ผ่านโครงการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษของผู้เรียน สนับสนุนและส่งเสริมความสามารถด้านวิชาการ  ดนตรี  ศิลปะ  นาฏศิลป์  ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้าร่วมแสดงและประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับต่างๆ โดยใช้ความรู้ความสามารถของผู้เรียนในการแข่งขันและการแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโดยกำหนดปัญหาหรือสถานการณ์ ฝึกแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน จัดกิจกรรมแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่ส่งเสริม  การเรียนรู้ตามความถนัดและสนใจของผู้เรียน  และกิจกรรมชุมนุม ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาจากการลงมือทำจนสร้างผลิตภัณฑ์สามารถใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือนำไปจำหน่ายภายใต้แนวคิด One Project One Product ดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โครงการวิถีชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง  โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน  โครงการส่งเสริมสุขภาพหนังศีรษะเส้นผม และผิวหนังนักเรียน โครงการโรงเรียน ปลอดขยะ (Zero Waste School)กิจกรรมเขตรักษาความสะอาด  ส่งเสริมความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมให้กับนักเรียนมาอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์แบบบูรณาการตามความถนัดและความสามารถของผู้เรียนการจัดการการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เช่น กิจกรรมอยู่ค่ายแรมคืนลูกเสือ/ยุวกาชาด กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน กิจกรรมค่ายคุณธรรม กิจกรรมกีฬา/กรีฑา กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักเรียนชั้น ป.6 กิจกรรมโรงเรียนสุจริตเครือข่าย กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรม ICT กิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มุ่งจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนนำองค์ความรู้ไปใช้สร้างสรรค์ชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม  ใช้เป็นผลงานเพื่อวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้อย่างน้อยคนละ 1 ผลงานต่อปี และสามารถนำไปใช้วัดและประเมินผลได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการวิถีชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจหลักการทำงานตามขั้นตอนและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่สนใจและถนัดในทักษะและความสามารถทางวิชาการได้เข้ารับการทดสอบ ฝึกฝน ส่งเข้าร่วมประกวดหรือแข่งขันในระดับต่าง ๆ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรมใหม่ ๆ สามารถนําเสนอผลงานได้ตามเกณฑ์ที่ครูตั้งไว้ สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เหมาะสมตามวัยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และ  มีคุณธรรม ผ่านโครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง (กิจกรรม ICT) ส่งเสริมให้มีพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ตอบสนองความสามารถ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบที่หลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูล หรือแสวงหาความรูจากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเองและสามารถจําแนกแยกแยะได่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รู้เท่าทันสื่อ  มีโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรมสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน และชัดเจนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดไตรสามัคคี พ.ศ. 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พ.ศ.2560)  มีระบบบริหารงานวิชาการที่เข้มแข็ง  มีการกระจายงานเป็นงานย่อย 61 งาน  เช่น งานนิเทศการจัดการเรียนรู้ งานนิเทศชั้นเรียน งานติดตามการค้างงาน  มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีที่ผ่านมา  เพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน  ทั้งรายกลุ่มสาระการเรียนรู้  รายชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน  กำหนดเป้าหมายผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การอ่านคิดวิเคราะห์  และเขียน  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้อย่างชัดเจน มีโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีกิจกรรมอย่างหลากหลายโครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถบูรณาการความรู้ ไปประยุกต์ใช้ มีค่านิยมที่ดีงามในการดำเนินชีวิต รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ และโครงการพัฒนาการอ่าน  เขียน การสื่อสาร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การสอนซ่อมเสริมการอ่าน กิจกรรมการเขียนเป็นรายบุคคล กิจกรรม“English today” นำเสนอ  คำศัพท์ภาษาอังกฤษทุกเช้าวันจันทร์ และกิจกรรมท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้เรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องได้รับการพัฒนาและได้เรียนรู้และจดจำ  มีทักษะการพูด  การสื่อสาร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษโดยสามารถสนทนาภาษาอังกฤษเบื้องต้นได้ มีโครงการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษของผู้เรียน  จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานตามขั้นตอนและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  โดยบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเป็นหลัก พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านส่งเสริมอาชีพ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพที่สุจริตและมีคุณธรรมในการประกอบอาชีพ มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ผ่านโครงการเปิดประตูสู่โลกกว้าง (กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้) นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมชุมนุมเพื่อส่งเสริมอาชีพ แต่ละชุมนุมศึกษาฝึกฝนทำผลิตภัณฑ์ 1 ผลิตภัณฑ์  เพื่อประโยชน์ใช้สอยในโรงเรียน  และจำหน่ายแก่ชุมชน  มีตลาดนัดตอนปลายปีเพื่อนำเสนอผลงานและให้บุคคลภายนอกมาอุดหนุนผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการฝึกอาชีพในห้องมีการแนะแนวเพื่อการประกอบอาชีพและมีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพสุจริตผ่านโครงการเปิดประตูสู่โลกว้าง(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) กิจกรรมแนะแนวนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 โครงการสายใยบ้านประสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสัมพันธภาพระหว่างบ้านและโรงเรียน  และผู้ปกครอง ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้ข้อมูล  ข้อเสนอแนะเพื่อร่วมกันพัฒนาโรงเรียนต่อไป รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนของผู้เรียนและครูทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อชุมชน เป็นการร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่าง บ้าน โรงเรียน  และชุมชนส่งเสริมคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี  มีความภูมิใจในท้องถิ่น  เห็นคุณค่าของความเป็นไทย  มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมความสามารถในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง  และหลากหลาย  และส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม มุ่งเน้นพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8  ประการและค่านิยมพื้นฐาน  12  ประการ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพด้านการเรียนรู้ตามหลักสูตรสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) ปลูกจิตสำนึกของผู้เรียน ซึ่งมุ่งเน้นการปฏิบัติ เพื่อนำความรู้ที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงเพื่อยกระดับการพัฒนาจิตใจให้มั่งคงมีคุณธรรม มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ช่วยเหลือนักเรียน มีการคัดกรอง พัฒนา และส่งต่อจัดหาทุนการศึกษา เยี่ยมบ้าน ช่วยเหลือนักเรียนสภาพครอบครัวแตกแยกหย่าร้าง บิดา มารดาเสียชีวิต ครอบครัวฐานะยากจน สภานักเรียน และแนะแนวศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กิจกรรมโรงเรียนสุจริตเครือข่าย  และมีระบบงานปกครองที่ดี เพื่อคอยดูแลควบคุมให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีคู่มือนักเรียนสำหรับการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ปฏิบัติได้จริง  ตรวจสอบได้ พัฒนาคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีให้กับผู้เรียน  ผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  และประเพณีไทย ปลูกฝัง ให้ผู้เรียน  รู้และเข้าใจหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นเหรียญโปรยทานบูรณาการศาสตร์พระราชา ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำเหรียญโปรยทาน โครงการสายใยบ้านประสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมให้นักเรียนได้ร่วมกันสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ร่วมกิจกรรมประเพณีวันสารทเดือนสิบเชิญผู้ที่มีความรู้ความสามารถในชุมชนมาสอนการทำขนมวันสารทเดือนสิบ ถือเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษให้ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปมีกระบวนการพัฒนาให้ผู้เรียนมีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายและส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษากิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน มีสภานักเรียน จัดให้มีการเลือกตั้งประธานนักเรียน ซึ่งได้รับการเลือกมาจากสมาชิกในโรงเรียนทำหน้าที่เป็นผู้แทนภายในโรงเรียนในการร่วมพัฒนาโรงเรียนต่อไปเป็นการจำลองประชาธิปไตยในโรงเรียนแบบเต็มรูปแบบตั้งแต่รับสมัครผู้แทน ตรวจสอบคุณสมบัติ เลือกเบอร์  หาเสียง  และเข้าคูหาเลือกตั้ง  แถลงนโยบายต่อสภานักเรียน  โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริม ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจสติปัญญาความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านเพศวัยเชื้อ ชาติศาสนาภาษาวัฒนธรรมประเพณี โครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง กิจกรรมลดเวลาเรียนได้เลือกทำกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ตามความถนัดของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการปรับตัวมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น พัฒนาผู้เรียนให้ค้นหาศักยภาพและความชอบของตนเอง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการเข้าค่ายกลางวัน (Day Camp) ลูกเสือ-ยุวกาชาด ได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตอาสาของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และระบบงานบริหารกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น  ส่งเสริมผู้เรียนให้มีสุขภาวะทางร่างกายที่ดี สุขภาพกาย สุขภาพจิตและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ผ่านโครงการต่าง ๆ มีกิจกรรมอบรมนักเรียนแกนนำสาธารณสุข (อย.น้อย) กิจกรรมอบรมให้ความรู้และแก้ไขภาวะโภชนาการสำหรับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ กิจกรรมอบรมเด็กไทยฟันดีสำหรับนักเรียนแกนนำและนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพฟันและเหงือก กิจกรรมสุขภาพดียามเช้าให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ  กิจกรรมอบรมสถานศึกษาปลอดภัย Safety first  กิจกรรมวัดไตรสามัคคี “วิถีใหม่” (New normal)  โครงการอาหารกลางวันเพื่อให้ผู้เรียน ทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันครบถ้วนตามหลัก โภชนาการและถูกหลักอนามัย มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน  ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ส่งเสริมมารยาทในการรับประทานอาหาร  โครงการส่งเสริมเสริมสุขภาพหนังศีรษะ เส้นผม และผิวหนังโดยการตรวจสุขภาพหนังศีรษะและการเป็นเหา เพื่อคัดกรองปีละ 2 ครั้งจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เรียนและผู้ปกครองที่เป็นเหาแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีสุนทรียภาพด้าน ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ และกีฬา มีกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมต่าง ๆ ให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรใน โรงเรียนห่างไกลอบายมุข ผ่านการอบรมโครงการ D.A.R.E (Drug Abuse Resistance Education) เพื่อตอตานการใชยาเสพติดในเด็กนักเรียน ใชหลักการปองกันและปราบปราม ใหเปนศูนยกลางในการเรียนรู เปนการสรางภูมิคุมกันใหแกผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตสังคมอยู่สม่ำเสมอ  ให้ผู้เรียนมีจิตอาสาผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ) พฤติกรรมดีด้านสัมพันธภาพทางสังคม ใส่ใจความรู้สึกของผู้อื่น เต็มใจแบ่งปันกับผู้อื่น มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ-ยุวกาชาด การบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชนและสถานที่สาธารณะ กิจกรรมเวรทำความสะอาดห้องเรียนทุกเช้าเย็น  เขตพื้นที่รับผิดชอบทุกตอนเช้าก่อนเข้าแถว  กิจกรรมผู้นำทำกิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้าและตอนเย็น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์  กิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชนในวันสำคัญต่าง ๆ   มีการจัดทำแผนพัฒนาทั้งระยะยาวและปลายปี มีการกำหนดกลยุทธ์     การบริการ และการจัดการโดยได้เชื่อมโยงกลยุทธ์/นโยบายรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาชาติ และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น มีการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา  เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นปัจจุบันทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่องและเป็นแบบอย่างได้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนางานจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ    เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษามีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน มีการดำเนินการจัดทำโครงการประกันคุณภาพสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบายการศึกษา และแผนการศึกษาชาติ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2565)   ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ซึ่งคณะทำงานได้กำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรม หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา งบประมาณ การประเมินผล และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และมีแผนการนิเทศ ติดตามและ ประเมินผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมต่างๆ    จัดทำคู่มือปฏิบัติงานบริหารงาน 4 งาน   ได้แก่ งานบริหารวิชาการ  งานบริหารงบประมาณ  งานบริหารงานบุคคล  และงานบริหารทั่วไป ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูล สารสนเทศ และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ วางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา อิงแนวคิด/ทฤษฎีทางการบริหาร การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน  วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวชี้วัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนโครงการได้ทันท่วงที  กำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ หรือรูปแบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา    มีการดำเนินการเกี่ยวกับสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community)  โดยจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา ในการนำปัญหาทั้งด้านการจัดการเรียนรู้  การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น การสร้างกลุ่ม PLC กลุ่ม “W.T. Team เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ประชุมครูในทุกเดือนกำกับติดตามผลการดำเนินงานที่ได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ ปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ใช้กระบวนการ PDCA ในการบริหารงานและจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้เครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนได้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จัดทำโครงการการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษของผู้เรียน   ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถด้านวิชาการ  ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิชาการ มีการจัดทำ MOU เพื่อส่งเสริมคุณภาพทางการศึกษากับเครือข่ายสถานศึกษา เน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริงโดยให้นักเรียนได้ลงมือทำและมีวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน เทียบเคียงระดับประเทศ  และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  NT, O-NET ให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น มีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้  ครบทุกกลุ่มสารการเรียนรู้  สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรอบหลักสูตรท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษามีการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางอาชีพ  ผ่านโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา สนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้รับการอบรมให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่งและสอดคล้องกับหน้าที่ที่ปฏิบัติดำเนินการโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา มีการจัดดูแล  ปรับปรุง  ซ่อมแซม  ตกแต่ง บำรุงรักษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้มีสภาพสะอาด เป็นระเบียบ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย (Safety First ) จัดการอบรมการป้องกันการเกิดอัคคีภัยในสถานศึกษา โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็กกับมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero waste) จัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน  รวมถึงห้องพิเศษต่างๆให้มีสภาพเหมาะแก่การใช้งาน  สร้าง  พัฒนา  และนำนวัตกรรมระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการข้อมูลสารสนเทศ  เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC)  โปรแกรมบริหารจัดการผลการเรียน School MIS   โปรแกรมบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ปพ.5  การจัดตารางสอนอัจฉริยะ  ระบบปัจจัยพื้นฐาน (Conditional Cash-transfer : CCT) นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ การเผยแพร่สารออนไลน์ Wattrai News ผ่าน Line ห้องเรียน Facebook และเว็บไซต์ (Website) บริหารจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีความเชื่อมโยงภายในและภายนอก  สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการจัดการเรียนรู้  จัดการเรียนการสอนแบบ Active  Learning  ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกคิดและปฏิบัติจริงดำเนินโครงการพัฒนาการอ่าน เขียน การสื่อสาร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นโครงการที่พัฒนาทักษะ  ทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน  ไปพร้อมๆ กัน  จำลองสถานการณ์จริงโดยการยกตัวอย่างหรือการใช้บทบาทสมมติ (Role play) ฝึกความเป็นผู้นำและความกล้าแสดงออกให้ผู้เรียน ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเน้น มีกระบวนการกำกับ ติดตามผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนการเรียนที่ครูได้จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดำเนินการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้  ในโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม  จัดหาสื่อ อุปกรณ์  นวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน มีการดำเนินงานบริหารวิชาการ มีงานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาห้องสมุด ซึ่งมีกรอบการดำเนินงานในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ใน ด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง มีแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก ดำเนินการโครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเหรียญโปรยทาน รับผิดชอบโดยฝ่ายงานส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการให้ครูใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเชิญวิทยากรภายนอกในการให้ความรู้ รวมทั้งเป็นการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาตลอดจนวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  มีการกำกับ  ติดตามการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน ดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับการอบรมการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โครงการประกันคุณภาพสถานศึกษา ให้ได้รับการนิเทศการจัดการชั้นเรียน ตกแต่งห้องเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมประชาธิปไตยในห้องเรียน และมีการเสริมแรงเชิงบวกในห้องเรียน การมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผู้อื่น สามารถเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันดำเนินงานบริหารวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ คือ งานวัดผล ประเมินผล  จัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบการวัด และประเมินผลของสถานศึกษา  การกำกับติดตาม ให้ความช่วยเหลือการวัดผล ประเมินผล เทียบโอนประสบการณ์ ผลการเรียนและอนุมัติผลการเรียน  รวมทั้งจัดระบบสารสนเทศด้านการวัดผลประเมินผล จัดกิจกรรมประชุมสุดสัปดาห์เพื่อสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์จะมีการประชุมทุกวันศุกร์ เวลา 14.30 – 15.30 น. ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รายงานผลการดำเนินการงานนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และจัดทำบันทึกการนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูทั้งโรงเรียน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ต่อไป

ผลการพัฒนา 

          ผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ปรากฏดังนี้ โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการอ่าน การเขียน และการสื่อสารและการคิดคำนวณ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ  ระดับคุณภาพ  ดีเลิศ  มีผลการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม คะแนนเฉลี่ยการทดสอบ (Reading Test : RT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คะแนนเฉลี่ย รวม 2 ด้าน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 63.06 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้  มีผลการคัดกรองการอ่าน การเขียน จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.90 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้ มีผลการเรียนในวิชาภาษาไทย ระดับ 2 ขึ้นไป สูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบ (NT : National Test) ความสามารถด้านภาษาไทย  สูงกว่าระดับประเทศและ ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบ O-net ในวิชาภาษาไทย  ระดับประเทศ ผ่านการทดสอบการอ่าน-เขียนคำศัพท์จากกิจกรรม English  For  Today โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการคิดคำนวณ  พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป  ระดับคุณภาพ  ดีเลิศ   มีผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ 2 ขึ้นไป สูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบ (NT : National Test) ความสามารถคณิตศาสตร์ ต่ำกว่าระดับประเทศ  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบ O-net ในวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่ากว่าระดับประเทศ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 35.24 ร้อยละ 7.18 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้  โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  และมีผลการประเมินการคิดวิเคราะห์  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการคิด  ในระดับดีขึ้นไป โครงการ/กิจกรรมที่มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถ ในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับคุณภาพยอดเยี่ยมผู้เรียนผ่านการประเมินกิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โครงการ/กิจกรรมที่มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการแก้ปัญหาพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษและมีความเป็นเลิศด้านกีฬาและกรีฑาได้รับรางวัลลำดับที่ 1-3 จากการแข่งขันระดับเขตพื้นที่และหน่วยงานต่างๆ  จำนวน  4 รายการ โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม  พบว่า ผู้เรียนผ่านการประเมิน  ในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ  ดี  โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินผ่านในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาเฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับคุณภาพ ดี  โครงการ/กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  พบว่าผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ปีการศึกษา 2565 ระดับโรงเรียนกับระดับ จังหวัด ระดับสังกัด และระดับประเทศ ได้คะแนนวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์และวิชา วิทยาศาสตร์สูงกว่าระดับสังกัด ระดับจังหวัดและระดับประเทศส่วนวิชาภาษาอังกฤษคะแนนสูงกว่าระดับสังกัดแต่ต่ำกว่าระดับจังหวัดและระดับประเทศ  ในภาพรวมทั้ง 4 วิชา คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ทั้งระดับจังหวัด ระดับสังกัด และระดับประเทศและ มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบ O-net รายวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  และภาษาอังกฤษโดยภาพรวมสูงกว่าระดับประเทศ โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถและทักษะทางวิชาการของผู้เรียน  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  ทักษะในการทำงาน  ระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ  ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม    ผลการประเมินด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ทั้งคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย  ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม  พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้ โครงการ/กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร จิตอาสา พบว่า ผู้เรียนมีทักษะ การอยู่ร่วมกัน การทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงานเป็นหมู่คณะและความสามัคคีเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านคุณลักษณะที่ดีต่างๆ ได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพจากประสบการณ์ตรงและการเรียนรู้เพิ่มเติม ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โครงการ/กิจกรรมอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ  โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  สามารถนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ได้ โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง การส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา  ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถทักษะชีวิต  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกาย ด้านจิตสังคม พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมิน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมที่ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด/ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษาบรรลุผลในการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 – 2565  การประชุมเพื่อวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา  จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง   ผลการประเมิน  ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  การดำเนินงานกิจกรรมการดำเนินแนวทางการกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ หรือรูปแบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา  โดยใช้กระบวนการ  PDCA ในการบริหารงานและจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการจัดทำและการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการประจำปี มีผลการดำเนินการเกี่ยวกับสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)  จากการจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา ในการนำปัญหาทั้งด้านการจัดการเรียนรู้  ผลการดำเนินการโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และนำผลที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมในโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งมีการรายงานข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงกิจกรรม  โครงการเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณให้มีความเหมาะสมต่อไป ผลการประเมิน  ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง บุคคล  โดยแบ่งเป็น  4 งาน  ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล และงานบริหารทั่วไป  บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ร่วมทำงานเป็นทีม ชุนชนให้ความร่วมมือในด้านการบริหารจัดการการศึกษา มีการนิเทศ  กำกับ ติดตาม  และประเมินผล ภายใน จากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานภายนอกสม่ำเสมอผลการประเมิน   ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมการพัฒนางานวิชาการ จากการดำเนินงานในโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม โรงเรียนมีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้  ครบทุกกลุ่มสารการเรียนรู้  สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรอบหลักสูตรท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษาและมีผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับดีขึ้นไปโครงการ/กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การดำเนินงานในโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรมมีนักเรียนและผู้ปกครองพึงพอใจต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 90 มี ผลการประเมิน   ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับส่งเสริมให้ครู และบุคลากรได้พัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผลการประเมิน  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา ผลการประเมิน ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการบริหารจัดการ  มีการสร้าง พัฒนา และนำนวัตกรรมระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการข้อมูลสารสนเทศ ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการจัด  การเรียนรู้  ดำเนินการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ในโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม ผลการประเมิน  ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้  การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผลการประเมินระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรม พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้ โครงการ/กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผลการประเมิน   ระดับคุณภาพ  ดีเลิศ    โครงการ/กิจกรรม ที่มีการบริหารจัดการ เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข  ผลการประเมิน  ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  โครงการ/กิจกรรมพัฒนาการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบกิจกรรมการสร้างเครื่องมือวัดประเมินผลที่หลากหลายการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ การดำเนินงานนิเทศ ติดตาม ผลงานนักเรียน  โครงการ/กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมิน  ระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม  งานสนับสนุน PLC (Professional Learning Community)

ผลการประเมิน  ระดับคุณภาพ  ดี

จุดเด่น 

ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูงกว่าระดับประเทศ  และเป็นไปตามเป้าหมายของโรงเรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่โดดเด่นที่หลักสูตรกำหนด            แต่งกายสะอาด  มารยาทงาม สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนอยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐาน ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูง ตามเกณฑ์ ผู้เรียนมีระเบียบวินัย จนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชนในเรื่องความมีวินัยการเคารพกฎระเบียบของโรงเรียนซึ่งบัญญัติไว้ในคู่มือนักเรียนสถานศึกษามีการบริหาและ                 การจัดการอย่างเป็นระบบ มีคู่มือการบริหารงาน  4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล และงานบริหารทั่วไป สถานศึกษาได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี  มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน  ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ  มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ  ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาสถานศึกษา  มีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานแต่ละด้านอย่างครบถ้วนและเหมาะสม  มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการเน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย  ครูมีความตั้งใจ  มุ่งมั่น    ในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิดได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการ  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเอง ได้ลงมือปฏิบัติ ได้ร่วมทำงานเป็นกลุ่ม โดยครูคอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำเมื่อเกิดข้อสงสัยและให้คำแนะนำเพิ่มเติม ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ กล้าคิด กล้าแสดงความสามารถของตนเอง แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานยังต้องเร่งพัฒนาการอ่านคล่อง  เขียนคล่อง  และคิดเลขเร็ว  ด้านการวิเคราะห์สังเคราะห์ การนำเสนอ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล  พัฒนาทักษะการพูด และการกล้าแสดงออกให้มากยิ่งขึ้น  และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม  ต้องเน้นการอ่านคล่อง  การเขียนคล่องและสวย    และฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดนิสัยรัก           การอ่านทำให้ขาดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง           ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง  มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา  และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษายังขาดความคล่องตัว  ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ยังขาดการเชื่อมโยง และการนำมาใช้ยังไม่ราบรื่น  ยังมีการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน  ไม่สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว  และขาดความถูกต้องแม่นยำ ครูและบุคลากรขาดความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาตรฐานคุณภาพห้องเรียนยังไม่เป็นเอกภาพและการนิเทศติดตามชั้นเรียนขาดความต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

โรงเรียนต้องรีบนำมาตรฐานตัวชี้วัดคุณภาพลงสู่แผนงาน/โครงการอย่างเป็นรูปธรรมมีกิจกรรมรองรับชัดเจน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อการกำหนดเป้าหมายอย่างครอบคลุมทุกด้านก่อนการจัดการเรียนการสอนแต่ละภาคเรียน เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยฝ่ายต่างๆ ต้องจัดทำข้อมูลอย่างรอบด้านและรวมเก็บไว้ที่ส่วนกลางของโรงเรียน  เช่นรวมไว้ที่งานสารบรรณหรืองานธุรการ ให้ผู้สอนสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว  ราบรื่น  ไม่มีการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน ถูกต้องแม่นยำ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพห้องเรียนและมีการนิเทศติดตามชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนงบประมาณเพื่อผลิตใช้สื่อ  จัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศ  และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้พอเพียงต่อความต้องการของผู้เรียน  ส่งเสริมการฝึกทักษะกระบวนการคิดอย่างต่อเนื่อง  โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โดยเน้นฝึกความรับผิดชอบ  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  สอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาและสังคมโลก

 

ลงชื่อ             

(นายภูวดล   เม่งช่วย)

  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.