f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านท่าส้ม
วันที่   12   มิถุนายน   2566
เข้าชม : 200
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนบ้านท่าส้ม ที่อยู่ เลขที่ 1 หมู่ 9 ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์  92110 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 โทรศัพท์/โทรสาร 0 7529 2133               E-mail : bantasom.2455@gmail.com เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  นายวิเพลิน  ชุมพล เบอร์โทรศัพท์ 08 0521 6030

จำนวนครู  1๒  คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 1๐ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน บุคลากรสนับสนุนอื่นๆ (วิทยากรอิสลาม ธุรการ นักการภารโรง) 3 คน

จำนวนนักเรียน รวม 243 คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา 72 คน ระดับประถมศึกษา 171 คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

 

 

 

มาตรฐานการศึกษา

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

 

 

 

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านท่าส้มจัดกระบวนการพัฒนานักเรียนระดับชั้นปฐมวัย ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น มีครูครบชั้นที่ตรงตามเอกและความถนัด ครูเข้ารับ  การอบรมพัฒนาตนเองในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความต้องการของครู มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย มีข้อมูลสารสนเทศถูกต้องครบถ้วน ดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และประชุมผู้ปกครองนักเรียนเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยเด็กได้รับการฝึก การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก การทรงตัว การควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ส่งเสริมการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมตามวัย สนุกกับการเรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เด็กได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย มีมุมประสบการณ์ จัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเน้นให้เด็กได้ปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่ครูจัดในกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมตามหลักสูตรปฐมวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและนำผลการประเมินไปรับปรุงเพื่อพัฒนาการของเด็กต่อไป

 

ผลการพัฒนา

 

          ผลการพัฒนาการเด็กในด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา จากการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย มีผลการประเมินพัฒนาการอยู่ใน ระดับ ยอดเยี่ยม คือ เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดีใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนได้ ปฏิบัติตนตามข้อตกลง เกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม อดทนในการรอคอย เช่นการเข้าแถวหน้าเสาธง  การเข้าแถวรับประทานอาหาร เป็นต้น ยอมรับและพอใจในความสามารถผลงานของตนเองและผู้อื่น มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกมากขึ้น ช่วยเหลือแบ่งปัน อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด เช่น เก็บของได้แล้วแจ้งครูเพื่อคืนเจ้าของ ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านสังคมเด็กช่วยเหลือตนเองใน    การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น แต่งกายแบบไทย การไหว้ การยิ้ม การทักทายกล่าวคำสวัสดี ขอบคุณ และขอโทษเมื่อทำผิด เป็นต้น ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิด รวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้  สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ เช่น งานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง การเล่นอิสระ เป็นต้น

 

จุดเด่น

          โรงเรียนบ้านท่าส้ม มีแผนงาน โครงการ กิจกรรม และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างชัดเจน และเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกด้าน มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีครูครบชั้นที่ตรงตามเอกและความถนัด มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในด้านการจัดประสบการณ์ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมและมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา สูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย มีข้อมูลสารสนเทศถูกต้องครบถ้วน ดำเนินการอย่างเป็นระบบ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นอย่างดี มีการส่งเสริมด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง

 

จุดที่ควรพัฒนา

          1. จัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้มีการฝึก พัฒนาการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยตนเองให้มากขึ้น

2. จัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีได้มีการฝึกกิจกรรมการเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าแสดง และมีความมั่นใจในตนเอง

3. โรงเรียนควรส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมถึงซ่อมแซมสื่อดิจิตอลเทคโนโลยีให้มีสภาพดี มีความทันสมัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

4. โรงเรียนควรส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัย ในด้านแหล่งเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

 

๑. ปลูกฝังและพัฒนาให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย และความรับผิดชอบในตนเอง

๒. การนำผลสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของครู มาเป็นประเด็นในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียน

๓. จัดหาสื่อและของเล่นส่งเสริมพัฒนาการให้มีความหลากหลายและเพียงพอต่อการใช้งาน รวมถึงซ่อมแซมสื่อดิจิตอลเทคโนโลยีให้มีสภาพดี มีความทันสมัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

         

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

มาตรฐานการศึกษา

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดีเลิศ

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ดีเลิศ

 

กระบวนการพัฒนา

          สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกำหนดโครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนควบคู่ไปกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนให้พัฒนาขึ้น ในหลากหลายวิธีการ เช่น โครงการส่งเสริมรักการอ่าน โครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการ กิจกรรมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ฯลฯ มีการบูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง นำศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนา ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อ         การจัดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมให้มีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานกิจกรรมอย่างหลากหลาย มีแผนการจัด    การเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อ   การเรียนรู้ มีการบริหารจัดการห้องเรียนเชิงบวกเด็กรักครู ครูรักเด็ก เด็กรักการเรียนรู้สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริง ประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย ให้ข้อมูลย้อนกลับและนำมาพัฒนา

ผลการพัฒนา

          ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน มีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสูงกว่าระดับประเทศ และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ และกลุ่มสาระภาษาไทยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ และระดับประเทศ ทั้งนี้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าความเป็นไทย เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญ ทางศาสนา เห็นคุณค่าและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนความแตกต่างทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และความคิดเห็นที่แตกต่าง ผู้เรียนมีร่างกายแข็งแรง อารมณ์ดี สุขภาพจิตดีและไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข

          สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของการบริหารจัดการศึกษา สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนไว้อย่างชัดเจน มีการประชุมวางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา เป็นไปตามโครงสร้างการจัดการคุณภาพการศึกษาและสอดคล้องกับสภาพปัญหา ครูและบุคลากรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตนเอง ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนางานและผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีความปลอดภัย มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ เหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษา

          ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานกิจกรรมอย่างหลากหลาย ผ่านกระบวนการคิดและการฝึกปฏิบัติจริง (Active Learning) มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมกระบวน  การจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ มีการบูรณาการชิ้นงาน จัดทำสื่อการเรียนรู้ โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ

 

จุดเด่น

          มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชน ท้องถิ่น ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา และเรียนรู้อย่างมีความสุข มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ครูรักเด็ก เด็กรักครู ครูมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง นำศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ทักษะอาชีพ พัฒนาทักษะความรู้ควบคู่คุณธรรมผ่านโครงงานคุณธรรม โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและการฝึกปฏิบัติจริง (Active learning) มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล การดำเนินงาน และการจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา มีข้อมูลสารสนเทศนักเรียนรายบุคคล และมีเอกสารประจำชั้นเรียนที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานใน  การวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้ครู บุคลากร และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษา พัฒนาและปรับปรุงด้านอาคารสถานที่ ระบบสาธารณูปโภค ให้มีความพร้อมทั้งด้านการใช้งานและความปลอดภัยตามมาตรฐาน สภาพแวดล้อมสวยงาม สะอาด ร่มรื่น เอื้อต่อการเรียนรู้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

จุดที่ควรพัฒนา

1. ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียน

2. ความสามารถในการสร้างชิ้นงานจากระบวนการคิดวิเคราะห์สู่การสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน

3. ครูนำงานวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาของนักเรียนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สนับสนุนให้ครูนำกระบวนการ PLC มาใช้ในการวางแผนการแก้ปัญหาและทำกิจกรรมร่วมกัน

4. มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) และผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

(O NET) ให้สูงขึ้น

. พัฒนาและปรับปรุงสื่อเทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนให้มีสภาพดี มีความทันสมัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1. ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนให้กับผู้เรียนผ่านกิจกรรมที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เช่น ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน จัดกิจกรรมที่กระตุ้นส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนเกี่ยวกับนิสัยในการใฝ่รู้และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง

2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนด้านวิชาการและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานจากระบวนการคิดวิเคราะห์ จากการเรียนรู้โดยนำองค์ความรู้มาสร้างชิ้นงานหรือนวัตกรรม

3. ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามโครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติ

5. จัดหางบประมาณในการปรับปรุงสื่อเทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนให้มีสภาพดี มีความทันสมัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนจากสื่อที่หลากหลาย

 

 

 

 

                                                                   (นายวิเพลิน  ชุมพล)

    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าส้ม




ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.