f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report :
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านช่องหาร
วันที่   12   มิถุนายน   2566
เข้าชม : 299
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

ชื่อโรงเรียน               บ้านช่องหาร   

ที่อยู่                      เลขที่ ๒๐๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ

                            จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๒๒๒๐

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน    นางนุชนาฎ ภักดีชน  เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๗-๖๒๗๗๗๕๐

จำนวนครู                    7 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการ 4 คน พนักงานราชการ ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน

         เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน

จำนวนนักเรียน         รวม ๑๐9 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล ๒๕ คน ระดับประถมศึกษา ๘4 คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาของเด็กทุกด้าน

- พัฒนาการด้านร่างกาย ได้มีการดำเนินการโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนได้มีการ

พัฒนาการ เช่น การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพถูกสุขลักษณะ ดื่มนมทุกวัน จัดให้มีการชั่งน้ำหนัก - วัดส่วนสูง ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมผ่านกิจกรรมประจำวัน ๖ กิจกรรมหลัก

- พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ โรงเรียนจัดกิจกรรมประจำวัน ๖ กิจกรรมหลัก โดยให้เด็กมี

โอกาส ร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ครูสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก สนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถตามความถนัดและความสนใจ

- พัฒนาการด้านสังคม จัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ประจำวันที่เน้นการปฏิบัติ

จริง การช่วยเหลือตนเอง การเรียนรู้ การปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญและประเพณีท้องถิ่น

- พัฒนาการด้านสติปัญญา โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาการด้านสติปัญญาตาม

แผนจัดประสบการณ์ประจำวัน โดยมุ่งเน้นกิจกรรมให้เด็กฝึกทักษะการคิดหาเหตุผลจากสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้

 

ผลการพัฒนา

นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีสุขนิสัยที่ดี ดูแลความปลอดภัยได้ สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถช่วยเหลือตนเอง มีมารยาท มีทักษะการคิดพื้นฐาน และสามารถโต้ตอบ เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้

 

จุดเด่น

         เด็กมีน้ำหนัก - ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข มีร่างกายสมส่วน เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการด้านอารมณ์ - จิตใจดี เรียนรู้อย่างมีความสุข สุขภาพจิตดี             มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข ด้านสังคม มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย มีทักษะทางด้านภาษา สามารถพูดคุย โต้ตอบสื่อสารได้   

จุดที่ควรพัฒนา

เด็กบางคนยังต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาวะส่วนตัวที่ดี เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักดูแลอนามัยของตนเองได้ดีขึ้น เช่น ความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นต้น ด้านวินัย เช่น การเก็บของเข้าที่ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย พัฒนาให้เด็กมีความซื่อสัตย์ ต่อตนเองและผู้อื่น พัฒนาทักษะด้านกระบวนการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการคิดหาเหตุผล

๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กำหนดหน่วยการเรียนรู้ เพื่อนำมาจัดประสบการณ์กิจกรรมประจำวัน จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาการเด็ก จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยี และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ผลการพัฒนา

โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน มีครูเพียงพอกับชั้นเรียน ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จุดเด่น

         โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ๒๕๖๑ ที่มีครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วม เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา   

จุดที่ควรพัฒนา

          สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัย เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย

 

 

 

 

 

๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยเน้นพัฒนาการในทุกๆด้าน โดยผ่านการจัดกิจกรรมพัฒนาประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์ประจำวัน เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ผลการพัฒนา

โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน จัดโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมสนับสนุนและประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ นำผลมาปรับปรุงพัฒนาเด็ก ผลการดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมาย

จุดเด่น

         โรงเรียนมีครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิ/ความรู้และประสบการณ์ด้านการดูแลเด็กปฐมวัย มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เข้าใจในพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ห้องเรียนมีพื้นที่เพียงพอในการจัดกิจกรรม มีบรรยากาศเอื้อต่อ   การเรียนรู้ เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข

จุดที่ควรพัฒนา

          ครูควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามาจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็กอย่างหลากหลาย

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

                 ๑. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

                    ๒. โครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย

                    ๓. โครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                    ๔. โครงการกิจกรรมวันสำคัญ

                    ๕. โครงการพัฒนาบุคลากร

                    ๖. โครงการสัมพันธ์ชุมชน

 

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

 

 

 

 

 

 

๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้ ทุกระดับชั้น มีโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพ

นอกจากนี้โรงเรียนได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม มีการอบรมคุณธรรม ร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนา ตลอดปีการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะตามคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผลการพัฒนา

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อฝึกทักษะให้ผู้เรียนสามารถอ่านออก และเขียนได้ตามระดับชั้น รู้จักวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย สามารถแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ แยกแยะได้ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อ และสังคมที่เปลี่ยนแปลง มีผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานในระดับ ดีเลิศ

ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

 

ที่

ประเด็นย่อย

ระดับคุณภาพ

.

มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

ดีเลิศ

.

มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

ดีเลิศ

.

มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ดีเลิศ

.

มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ดี

.

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ดี

.

มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ยอดเยี่ยม

 

สรุป

ดีเลิศ

 

 

 

 

 

ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ที่

ประเด็นย่อย

ระดับคุณภาพ

1.

การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ยอดเยี่ยม

2.

ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

ยอดเยี่ยม

3.

การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ยอดเยี่ยม

4.

สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

ยอดเยี่ยม

 

สรุป

ยอดเยี่ยม

 

จุดเด่น

โรงเรียนบ้านช่องหารมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ 

จุดที่ควรพัฒนา

- ผู้เรียนในระดับขั้น ป.๑ - ป.๖ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการสรุปความคิด การใช้ภาษาในการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสม

- การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการยกผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง และจริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป

๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีการจัดระบบการบริหารจัดการ มีการกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ     กลยุทธิ์ ดำเนินงานงานพัฒนางานวิชาการที่เน้นผู้เรียนรอบด้านทุกกลุ่มเป้าหมายจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมและสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

ผลการพัฒนา

จากการดำเนินโครงการ/กิจกรรม การใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่ มีผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานในระดับ ดีเลิศ

 

 

 

ที่

ประเด็นพิจารณา

ระดับคุณภาพ

1.

การมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนด

ยอดเยี่ยม

2.

มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

ดีเลิศ

3.

ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

ดี

4.

พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

ยอดเยี่ยม

๕.

สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ดีเลิศ

๖.

จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

ดีเลิศ

 

สรุป

ดีเลิศ

 

จุดเด่น

         โรงเรียนมีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการ ประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ซัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้น    การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัด        การเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา  

จุดที่ควรพัฒนา

๑. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

๒. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการศึกษา 

๓. โรงเรียนควรจัดให้มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ มีการนิเทศ ติดตามที่ชัดเจน

 

๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีการวางแผนในการพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม มีโครงการพัฒนาระบบนิเทศภายใน กิจกรรมการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนนิเทศกันเองสร้างความตระหนักเพื่อให้ครูนำหลักสูตรแกนกลางมาใช้สู่ห้องเรียน มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำผลการวิจัยมาแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนของผู้เรียน

 

 

ผลการพัฒนา

จากการวางแผนโดยจัดทำโครงการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการต่างๆ ของนักเรียนบรรลุตามมาตรฐานการศึกษามีผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับ ดีเลิศ

ที่

ประเด็นพิจารณา

ระดับคุณภาพ

.

จัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

ยอดเยี่ยม

.

ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ดีเลิศ

.

มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

ดีเลิศ

.

ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

ยอดเยี่ยม

๕.

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

ดีเลิศ

 

สรุป

ดีเลิศ

 

จุดเด่น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยการคิดได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          ๑. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

         ๒. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

๓. การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผล การนำไปใช้ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.