f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ
วันที่   9   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 209
Bookmark and Share


 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ  ตั้งอยู่เลขที่ 43/1 หมู่ที่ 4 ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง                           สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 หมายเลขโทรศัพท์ 061-6594894 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปัจจุบันมีรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ  คือ นางณัฐนันท์  ดาบทอง  โทรศัพท์ 061-6594894  มีบุคลากรครู จำนวน 8 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู 4 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน 1 คน  นักการภารโรง 1 คน   มีการจัดการศึกษา  2 ระดับ คือ

๑. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัย (3-6 ปี)  มีนักเรียนจำนวน 23 คน

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา จำแนกเป็น

    ประถมศึกษา                มีนักเรียนจำนวน      48   คน

    รวมทั้งสถานศึกษา          มีนักเรียนจำนวน      71   คน

สถานศึกษามีผลการบริหารจัดการศึกษาในปีการศึกษา 2565  ในภาพรวมมีโครงสร้าง และ                  การบริหารงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งการบริหารงานเป็น 4 ฝ่าย จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำที่ดี บุคลากรครูมีความรู้ความสามารถ และมีประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                               มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ              มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับ

ดีเลิศ

 

 

ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีกระบวนการพัฒนากระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  ได้จัดประสบการณ์               การเรียนรู้ให้แก่เด็กตามแนวทางการจัดการเรียนการสอน    ครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการ เทคนิค รูปแบบที่ทันสมัย น่าสนใจ ผ่านเครื่องมือสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ โดยจะมีการจัดประสบการณ์          เพื่อเสริมสร้างมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแล ความปลอดภัยของตนเอง มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้มีพัฒนาการด้าน สังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิด พื้นฐาน แสวงหาความรู้ได้ในระดับดีขึ้นไป และได้จัดกิจกรรมที่พัฒนาคุณภาพของเด็กระดับปฐมวัย เช่น กิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม เป็นต้น ซึ่งผลการประเมินคุณภาพ ของเด็กทั้ง ๔ ด้านมีผลการประเมินสูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ทั้งนี้โรงเรียนได้นำผลการประเมิน คุณภาพของเด็กทั้ง 4 ด้าน ได้ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี เกิดการเรียนรู้ เกิดประสบการณ์ และมีความสุขในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ส่งผลทำให้เด็กมีความพร้อมที่จะอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเป็นนักเรียนรายบุคคลภาคเรียนละ 1 ครั้ง

ผลการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัย โดยมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัย  ทำให้เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน   มีทักษะการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์กัน มีสุขนิสัยการดูแลรักษา สุขภาพอนามัยที่ดีและปฏิบัติจนเป็นนิสัยได้ ปฏิบัติตนในการหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และ สิ่งเสพติด มีพฤติกรรมร่าเริงแจ่มใส รู้จักยอมรับ ชื่นชม และพอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและ ผู้อื่น กล้าพูด กล้าแสดงออก เหมาะสมกับวัย รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นตามโอกาส ช่วยเหลือตนเองในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมาะสมกับวัย รู้จักปฏิบัติตนได้ตามมารยาทไทย มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่ง ต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย รู้จักคิดแก้ปัญหาตัดสินใจใน เรื่องง่าย ๆ ได้ และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สร้าง องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย

จุดเด่น

เด็กมีสุขภาพร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว          ตามวัย ร่าเริงแจ่มใส กล้าคิดและกล้าแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน มีความสามารถในการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนา

1.เด็กควรได้รับการส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีระบบให้กับเด็กปฐมวัย ฝึกทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ เสริมสร้างจินตนาการและจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำโดยการเรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลาย  

          ๒.ควรพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน

3.ควรจัดทำนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านต่างๆของผู้เรียน

4. ครูพัฒนาเทคนิคการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิด

สร้างสรรค์ และส่งเสริมด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง

 

แนวทางการพัฒนาการให้มีคุณภาพสูงขึ้น

1.พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน           

มีวิธีการ ถาม สำรวจ ทดลอง การสังเกต การพูดคุย การถ่ายทอดความคิด และทดลองวิธีการใหม่ ๆ

2.ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ให้มากขึ้น

 

 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ  ได้ดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย                      ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการวางแผน และจัดอัตรากำลังครูให้มี สัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและห้องเรียน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดทักษะ และมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนปฐมวัย มีการจัดสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งมีสื่อและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้            มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผล                 การประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น มีครูเพียงพอต่อชั้นเรียน ครูมีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์                   มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันของครูเครือข่ายปฐมวัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่ สะอาด ปลอดภัย ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จุดเด่น

สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลาย และลงมือปฏิบัติจริงการจัดการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้อย่าง มีความสุข มีครูที่ผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัย ทำให้การจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีการส่งเสริมพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านวิชาชีพแก่ครู และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง  มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ  วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ และมีการเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

จุดควรพัฒนา

1. ใช้สื่อและเทคโนโลยีการสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์และพัฒนาการของ เด็ก

2. จัดกิจกรรม PLC ในสายชั้นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

 

แนวทางการพัฒนาการให้มีคุณภาพสูงขึ้น

1. มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

2. ส่งเสริมและพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมแบบ Active Learning อย่างต่อเนื่อง

 มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีการจัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีออกแบบและบูรณาการการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างสมดุล และเต็มศักยภาพ โดยได้ความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข มีการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย

 

ผลการพัฒนา

ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพ เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข เรียนรู้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ครูสามารถจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน และเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้เด็ก ครูมี              การประเมินพัฒนาการเด็ก โดยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือการวัด และวิธีการที่ หลากหลาย ครอบคลุม เหมาะสมกับวัยเด็ก ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

 

จุดเด่น

ครูมีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลศักยภาพ              โดย ครูมีการวิเคราะห์เป็น รายบุคคล มีการจัดทำแผนประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ส่งเสริม พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถ ซึ่งกิจกรรมที่หลากหลายสามารถสนองตอบการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล เด็กได้เล่นเรียนรู้ ลงมือและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมิน พัฒนาการเด็กไปปรับปรุง แก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มีระบบการนิเทศภายในเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมสร้างสรรค์                 ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างสมดุลรอบด้าน

 

จุดควรพัฒนา

          ๑. ครูควรได้รับการอบรมการพัฒนาศักยภาพของด้านการผลิตสื่อการสอน ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. ครูจัดกิจกรรมให้เด็กแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้น

 

แนวทางการพัฒนาการให้มีคุณภาพสูงขึ้น

1.มีการส่งเสริมพัฒนาครูเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีการติดตามผล                    การนำไปใช้ต่อเนื่อง

2.ส่งเสริมให้ความสำคัญกับผู้ปกครอง เพื่อร่วมดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีพัฒนาการที่สมวัย

3.การนำผลการจัดประสบการณ์ของครู มาทำการวิจัยในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย 

2.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา)

2.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน                           มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

           2.3 มาตรฐานที่ 3  การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน    มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

                        เป็นสำคัญ    

ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ ดีเลิศ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา)

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมีครูมีการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และ เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทางโรงเรียนโดยมีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning เน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1  ผ่านกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และกิจกรรมพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ รวมทั้งโรงเรียนมีการดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทักษะพื้นฐานในงานอาชีพให้กับผู้เรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานวัฒนธรรม ดนตรีไทย ให้ผู้เรียนมีความรักในท้องถิ่นและ ประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง และมีโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดีและมีมารยาทที่ดี ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม  ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสา มีการสอนในรูปแบบโครงงาน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถพิเศษทางด้านวิชาการ  ด้านดนตรี ด้านกีฬา สอดแทรกกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง  และส่งเสริมทักษะอาชีพให้นักเรียนทุกระดับชั้น สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่นักเรียนได้  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หลีกเลี่ยงจากสิ่งอบายมุข และยาเสพติด  มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง  โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน  ด้านครูผู้สอนมุ่งเน้นการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ โดยเน้นการศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์  มีการนิเทศติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีระบบอินเทอร์เน็ต  เพื่อใช้ในการจัดการเรียน    การสอนครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน ซึ่งผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนพบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดในระดับดีเลิศ

ผลการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการอยู่ในระดับดี ผู้เรียนสามารถอ่านออก เขียนได้สื่อสารและคิดคำนวณได้ตามมาตรฐาน นักเรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ ในแต่ละระดับชั้น                  รู้จักการวางแผน และสามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น อย่างได้อย่างสร้างสรรค์

จุดเด่น

นักเรียนสามารถอ่านได้ เขียนคล่อง นักเรียนทุกคนมีความสามารถด้านคิดคำนวณ  เนื่องจาก  มีการเรียนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดมีการใช้สื่อเทคโนโลยีทุกชั้น  มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย  มีการประเมินครบทุกด้าน ตามคุณภาพของผู้เรียน  นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์  มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี  ผู้เรียนห่างไกลจากสิ่งเสพติดให้โทษต่าง ๆ รวมทั้งสามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัยอุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ ผู้เรียนร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เช่น  ช่วยทำความสะอาดบริเวณ โรงเรียนและชุมชน  เป็นผู้ที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

จุดที่ควรพัฒนา

 

1.การจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

2.มุ่งเน้นกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกลุ่มสาระต่างๆ

3.ส่งเสริมกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน  และคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น

4.การพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้ผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านออก สื่อสารได้ดียิ่งขึ้น

 

แนวทางการพัฒนาการให้มีคุณภาพสูงขึ้น

          ทางโรงเรียนมีแผนจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนของครูมากขึ้น มีเทคนิคการสอนในหลากหลายๆ รูปแบบ และนำมาใช้อย่างหลากหลายเพื่อให้นักเรียนเกิดความน่าสนใจ ­

­มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษา จากปีที่ผ่านมาโดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ  กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน           มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน ได้มีการปรับแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการพัฒนา ด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา ร่วมทั้งให้มีความสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ จัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ และสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผลการพัฒนา

สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา  ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย    ที่สถานศึกษากำหนด มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น มีการติดตั้งโทรทัศน์ในห้องเรียนเพื่อการศึกษาทางไกล ผ่านกล่องดิจิตอลทีวี (DLTV) ทุกห้องเรียน เพื่อใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

จุดควรพัฒนา

 โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วม ในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ผู้เรียน สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา ในการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา มีการจัดกิจกรรม ในด้านการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ

แนวทางการพัฒนาการให้มีคุณภาพสูงขึ้น

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีแผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพและความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานร่วมกัน มีแผนการจัดสภาพแวดล้อม ทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพโดยเฉพาะภายในห้องเรียนถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดค่าเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้น

-          ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

-          ด้านการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนได้ประสานความร่วมมือกับชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง   ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

-          มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้เหมาะสม มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ  

-          ครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักเรียนอย่างเต็มความสามารถ

-          ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้กับนักเรียน

-               ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

-          ผู้เรียนมีความรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

จุดที่ควรพัฒนา

-          การจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

-          มุ่งเน้นกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกลุ่มสาระต่างๆ

-          ส่งเสริมกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน  และคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น

-          การพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้ผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านออก สื่อสารได้ดียิ่งขึ้น

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

-          การจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

-          ส่งเสริมครูในการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เน้นการคิดวิเคราะห์ โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง                          ( Active Learning )

-          ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการพัฒนาตนเอง มีการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมติดตามนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

-          ทางด้านนักเรียนมุ่งส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพและตามความสนใจพัฒนาความสามารถ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน

          อยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรม อย่างหลากหลาย สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติ จริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนการสอนด้วย โครงงานเป็นฐาน (PROJECT-BASED LEARNING) มีการจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC จัด การเรียนการสอนที่เชื่อมโยงบริบทของชุมชน และมีการประเมินผู้เรียนอย่างหลากหลายตามกิจกรรมที่กำหนด มีการบูรณาการ ภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยบูรณาการอาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

 ผลการพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ได้ดำเนินงานโครงการกิจกรรมอย่างหลากหลาย ครูมีความรู้และความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อการจัดการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก การพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายและมีความสอดคล้องกับหลักสูตร สถานศึกษา เข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้เรียน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุม ทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่น

 สถานศึกษาได้ให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมห้องเรียนให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้มีการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน วิธีการที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการจัดซื้ออุปกรณ์สื่อทางเทคโนโลยีด้าน  การเรียนที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียน บุคลากร และชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ต่างๆ                         เช่น ห้องสมุด คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางการให้บริการการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นมีการจัดกิจกรรมงานวันสำคัญและกิจกรรมด้านวัฒนธรรมประเพณี สนับสนุนให้แหล่งเรียนรู้  ภูมิปัญญาและชุมชน กีฬา เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษา

จุดควรพัฒนา

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ต้องมีจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติจริงเท่าที่ควร สถานศึกษาจึงควรส่งเสริมให้ครูวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อวางแผนออกแบบการเรียนรู้และส่งเสริมศักยภาพนักเรียนให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้ง ในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายทุกระดับชั้นให้มากขึ้น โดยเน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติและพัฒนากระบวนการคิดของตนเอง

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ มีแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นฝึกความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบ เรียบร้อยให้มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา สนับสนุนงบประมาณเพื่อผลิตใช้ สื่อ จัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้พอเพียงต่อความ ต้องการของผู้เรียนและผู้สอนให้มากยิ่งขึ้น

 

                                                                  นางณัฐนันท์  ดาบทอง

(นางณัฐนันท์  ดาบทอง)

ครูโรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ รักษาการในตำแหน่ง

      ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ

 

 

 

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.