f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านคลองลุ
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านคลองลุ
วันที่   9   พฤษภาคม   2566
เข้าชม : 158
Bookmark and Share


  บทสรุปของผู้บริหาร

 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

  ชื่อ โรงเรียนบ้านคลองลุ ที่อยู่ 88/1 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองลุ  อำเภอกันตัง   จังหวัดตรัง  รหัสไปรษณีย์ 92110  เบอร์โทรศัพท์ 075-292709 Email : klonglu.ll@gmail.com  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก ระดับก่อนประถม และระดับประถมศึกษา 

         เขตพื้นที่บริการ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านคลองลุ , หมู่ที่ 2 บ้านท่าดาน , หมู่ที่ 7 บ้านท่าจูด

         ปัจจุบันมีผู้บริหารโรงเรียน ชื่อ นางสาวสุริยาพร  ฮ่องช่วน  เบอร์โทรศัพท์  083 – 650 7468

         จำนวนครู  10 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู 9 คน  ครูอัตราจ้าง 1 คน

         จำนวนนักเรียน รวม 134  คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล  36 คน ระดับประถมศึกษา  98 คน  (ข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2564 )                 

         โรงเรียนบ้านคลองลุ มุ่งพัฒนานักเรียนทุกคนให้ได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการ เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมในทุกๆด้านอย่างมีคุณภาพตามหลักสูตร เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม นำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การพัฒนาโรงเรียนในทุกๆด้านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีประสิทธิภาพที่ดี   สอดคล้องกับ

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน “พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษา มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ อยู่อย่างพอเพียง ประสานความร่วมมือจากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบ”

อัตลักษณ์ของโรงเรียน  “มีความรู้และมีทักษะด้านกีฬา เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกายและจิตใจ มีสมรรถภาพร่างกายตามเกณฑ์ที่กำหนด”    

          เอกลักษณ์ของโรงเรียน  “น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย นำมาปฏิบัติ”  

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐาน

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

 

 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

2.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

          สถานศึกษาจัดอาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม)ให้กับเด็ก โดยจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารกลางวันและดื่มนมทุกวัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุกเดือนส่งเสริมสุขภาพอนามัย จัดประสบการณ์ให้เด็ก    มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ เพื่อให้ทำงานอย่างมีความสุข มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม ครูจัดกิจกรรมให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยจัดกิจกรรมพัฒนาทางด้านสติปัญญา มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการงานศิลปะ

        ผลการพัฒนา

เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ รู้จักหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ อุบัติภัยที่เสี่ยงอันตราย ระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย เป็นคนร่าเริงแจ่มใส ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย ชื่นชมในศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน เด็กมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและปฏิบัติตนตามศาสนาที่ตนนับถือได้

จุดเด่น

เด็กมีเด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้สามารถช่วยเหลือตนเอง       ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปฏิบัติตนตามศาสนาที่ตนนับถือ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมใน       การส่งเสริมพัฒนาเด็ก

    จุดที่ควรพัฒนา

           ควรจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความมั่นใจ ความกล้าแสดงออกให้กับเด็ก และสุขภาพจิตดีส่งเสริมทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย  ครูกับผู้ปกครองควรร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพฤติกรรมของเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน การทำข้อมูลเด็กรายบุคคล  แล้วนำผลมาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล

               แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1.  การจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มอย่างหลากหลาย

                   2.  ส่งเสริมครูในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และเน้นให้เด็กปฐมวัยปฏิบัติ (Active Learning )

3.  ส่งเสริมพัฒนาครูเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านทักษะและการใช้นวัตกรรมในงานที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายพร้อมติดตามนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง

          1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการมีผลการประเมินอยู่ในระดับ         ยอดเยี่ยม

     กระบวนการพัฒนา

                    สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง  4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จัดครูให้เพียงพอกับ ชั้นเรียนซึ่งครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยตามโครงการพัฒนาบุคลากรทุกคนมีโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ครูได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อนำมาใช้ จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก โดยเข้ารับการอบรม สัมมนาของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์ต่าง  ๆให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้อง กับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดโดยมีคณะกรรมการสถานศึกษามามีส่วนร่วมในการจัดทำและให้ความเห็นชอบมีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ผลการพัฒนา

สถานศึกษาได้จัดการศึกษาระดับปฐมวัยโดยมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของ

สถานศึกษาได้อย่างชัดเจน มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีครูเพียงพอกับชั้นเรียนและเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน ซึ่งครูจบการศึกษาปฐมวัยและผ่าน การอบรมการศึกษาปฐมวัยทุกคน ครูสามารถวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยและมีทักษะในการจัดประสบการณ์ โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญและการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนคำนึงถึงความปลอดภัย มีมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบเสาะหาความรู้และจัดกิจกรรมให้กับเด็ก มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเพียงพอและหลากหลาย  มีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ ที่สถานศึกษากำหนด   มีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายใน โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วม ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีและจัดส่งรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด

จุดเด่น

       สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและ

บริบทของท้องถิ่น และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย  มีครูพียงพอกับชั้นเรียนและเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบเสาะหาความรู้และจัดกิจกรรมให้กับเด็ก มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์อย่างเพียงพอและหลากหลายมีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายใน โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วม

จุดที่ควรพัฒนา

ส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อ

พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและบุคลากรในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น พัฒนาให้ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์แบบอิงมาตรฐานโดยใช้หลักสูตรการศึกษาจัดสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย จัดหาและส่งเสริมการผลิต การใช้และการพัฒนาสื่อนวัตกรรม  สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้  ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปฐมวัยยกระดับการจัดประสบการณ์เทียบเคียงมาตรฐานสากล หาเทคนิควิธีการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ ศึกษาและจัดทำวิจัยชั้นเรียน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

แผนงานด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ของห้องเรียนอนุบาลจัดพื้นที่ในการเรียนรู้ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก อุณหภูมิเหมาะสม แสงสว่างเพียงพอ ปราศจาก เสียงรบกวน มีความปลอดภัย สะอาด เป็นระเบียบ มีสื่อพัฒนาการต่างที่เหมาะสมตามวัย โรงเรียนมีสนามเด็กเล่นทีเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย

2.3   มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ

ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

                    จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนที่สอนโดยครูและภายนอกห้องเรียน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์ต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนครูใช้สื่อและเทคโนโลยี   ที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็กประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครอง เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

               ผลการพัฒนา 

                    ครูจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้ง 4 ด้าน เช่น ทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญาด้านอารมณ์ จิตใจ และด้านสังคม จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล หลากหลายรูปแบบ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีพื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ครูมีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประเมินพัฒนาการเด็ก จากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันและนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์กับผู้ปกครองเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาเด็ก

     จุดเด่น

           มีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา

ด้านอารมณ์และจิตใจ และด้านสังคมสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีพื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ครูมีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุและวัยของเด็ก

     จุดที่ควรพัฒนา

สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในสถานศึกษาระหว่าง

สถานศึกษาผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบและกำหนดการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

     แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          ครูได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อนวัตกรรม จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาจัดทำสื่อการสอนประกอบแผนการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมหลัก แบบบูรณาการเป็นหลัก และสถานศึกษาได้ส่งเสริมผู้เรียนให้เด็กมีสุขนิสัยและสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสมบูรณ์โดยผ่านการเล่นเครื่องเล่นสนามแบบ BBL. และได้จัดทำโครงการและกิจกรรมทีเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนตามแผนปฏิบัติการโรงเรียน ได้จัดทำโครงการเพื่อนำกิจกรรมใน โครงการ ไปพัฒนาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนผ่านการทำกิจกรรมในโครงการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โครงการพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย และโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย รวมถึงกิจกรรมกีฬาสีเครือข่าย ทั้งนี้ยังมีโครงการ อาหารเสริมนม โครงการอาหารกลางวัน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วน

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับปฐมวัย

          1. เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านน้ำหนักและส่วนสูง เป็นไปตามเป้าหมายของสถานศึกษา  เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีความร่าเริง แจ่มใส มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  รู้จักช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ดี ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย

           2. โรงเรียนบ้านคลองลุมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเอง มีบุคลิกภาพดี และมีวิสัยทัศน์ในการทำงานให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคความรับผิดชอบในการสอนปฏิบัติงานทุ่มเทเวลาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็ก

            3. โรงเรียนบ้านคลองลุจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง ด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย และครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม นำผล การประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

   2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐาน

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ 

                  เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 2.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านคลองลุ ได้ดำเนินการโดยการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2562  ตามหลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551  (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ การพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล ยกระดับคุณภาพผู้เรียนทุกคนให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีคุณธรรม และสำนึกความเป็นไทย โดยเน้นการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมีความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับความถนัดและเต็มตามศักยภาพ  ในปัจจุบันโรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระที่สูงขึ้น  มีผล การประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และมีผล  การทดสอบระดับชาติ เป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด และจะต้องมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักพัฒนาตนเองเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีจิตอาสา รักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี กล้าแสดงออก ยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่มีความหลากหลาย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในส่วนของครู ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมทักษะในการทำงานที่เน้นการลงมือปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เน้นให้เกิดทักษะในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสามารถในการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

     ผลการพัฒนา

 ด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองลุ พบว่า

ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT)  เฉลี่ยร้อยละ84.77  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564  ร้อยละ 20.32 ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT) รวม 2  ด้าน เฉลี่ยร้อยละ 84.77  สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ 7.49 ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ด้านภาษา เฉลี่ยร้อยละ 44.91ค่าเฉลี่ยลดลงจากปีการศึกษา 2564  ร้อยละ 11.23  ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย เฉลี่ยร้อยละ  42.32ค่าเฉลี่ยลดลงจากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 3.32  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้น ป. 1-6 เฉลี่ยร้อยละ 78.05  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564  ร้อยละ 2.16  ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  วิชาภาษาอังกฤษ เฉลี่ยร้อยละ  25.24  ค่าเฉลี่ยลดลง จากปีการศึกษา 2564  ร้อยละ 4.45  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้น ป.1-6 เฉลี่ยร้อยละ 73.60 ค่าเฉลี่ยลดลงจากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ  1.38  ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT)  ด้านคำนวณ เฉลี่ยร้อยละ  35.66   ค่าเฉลี่ยลดลงจากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ  13.78  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ชั้น ป.1-6 เฉลี่ยร้อยละ  71.11  ค่าเฉลี่ยลดลงจากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 0.54   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6  ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2565  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 74.49  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564  คิดเป็นร้อยละ 0.19

ผลการดำเนินงานจากการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์

คิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6  นักเรียนมีผลการประเมินความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์  ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นค่าร้อยละ  76.53  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564  คิดเป็นร้อยละ  24.45  ผลการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2565  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 72.62  ผลการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2565  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 74.90  ผลการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2565  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.72  นักเรียนร้อยละ 100 ได้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ที่ทางโรงเรียน ได้จัดขึ้นตลอดปีการศึกษา และสามารถเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับเครือข่ายและระดับเขตพื้นที่การศึกษา  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา2565ที่จบการศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับชั้น ม.1  ร้อยละ 100 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนมีคุณธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามสถานศึกษากำหนด เฉลี่ยร้อยละ 94.90  นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองลุทุกคนมีผลการประเมินกิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี และ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ร้อยละ 100 นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง ฝึกความอดทน ความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี และจิตอาสา รู้จักช่วยเหลือตนเองทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองลุ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6  มีผลการประเมินกิจกรรมแนะแนวระดับผ่าน ร้อยละ  100

   จุดเด่น

 ประเด็นพิจารณาที่ ๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

พบว่า หลักสูตรมีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายเป็นไปตาม

ความต้องการของผู้เรียนและสภาพปัญหาสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและชุมชน/ท้องถิ่น นำผลจากกระบวนการ PLC สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนตามประเด็นท้าทายแบบ Active Learning มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียนการสื่อสารในภาษาไทยพบว่า ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT)  เฉลี่ยร้อยละ 84.77 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564  ร้อยละ 20.32  และสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ 7.49  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นป.1-6 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ 3 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 78.57  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 17.11  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นป.1-6นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ 3 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 59.18  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 0.85  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นป.1-6 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ 3 ขึ้นไป   เฉลี่ยร้อยละ 72.45  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 2.66

ประเด็นพิจารณาที่ 2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองลุ มีการพัฒนาทักษะในการทำงานของนักเรียนมีการ

ส่งเสริมอาชีพ  กิจกรรมแนะแนวเพื่อการประกอบอาชีพ  มีผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านร้อยละ 96.74 ประเมินผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ เนตรนารี จิตอาสาร้อยละ  100  นักเรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ร้อยละ 96.74   นักเรียนมีคุณธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษากำหนดมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยได้รับการส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จากการทำกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย นักเรียนได้รับการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง การส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาโดยประเมินการทำกิจกรรมโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการดูแลตาม 5 ขั้นตอนของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากผลการคัดกรองนักเรียน ร้อยละ 100  นักเรียนได้รับการดูแล ส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายจากโครงการอาหารกลางวันร้อยละ 100 โครงการอาหารเสริมนมร้อยละ 100 โครงการอนามัยโรงเรียนร้อยละ 100 และกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านจิตสังคมคือการเข้าร่วมซักซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ

จุดที่ควรพัฒนา

การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนวิธีการจัด

กระบวนการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อการสอบวัดผลระดับชาติ การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ การคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองของผู้เรียน การคิดเชิงสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่งานอาชีพให้กับผู้เรียน

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

              1. โรงเรียนมีการกำหนดกรอบโครงการและกิจกรรมที่มีความครอบคลุม มีการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการและกิจกรรมที่มีความเร่งด่วนในการที่จะนำมาปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นมาเป็นพื้นฐานในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน

               2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาผลการทดสอบระดับชาติ

               3. พัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ผลงาน

เป็นนวัตกรรม

               4. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างมูลค่า

2.2  มาตรฐานที่ 2   กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ    ยอดเยี่ยม

     กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านคลองลุมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนไว้อย่างชัดเจน มีการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทฤษฎี  KL TEAM โมเดล ในการขับเคลื่อน การจัดการศึกษา มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนตรงตามหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญทางอาชีพ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ  ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน มีการให้การนิเทศ เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่ายสามารถดำเนินการในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานตามแผนงานที่วางไว้ มีการตรวจสอบ ทบทวนและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ดำเนินการตามโครงการพัฒนาบุคลากร โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมและพัฒนาตนเองในทุกรูปแบบ การติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากรเป็นระยะๆ ติดตามและประเมินผล ในระหว่างดําเนินการพัฒนาบุคลากร และการประเมินผลหลังจากเสร็จสิ้นการพัฒนาบุคลากรหรือหลังจากสิ้นสุดโครงการ เช่น ข้อมูลการเลื่อนวิทยฐานะ การฝึกอบรมพัฒนาตนเอง การได้รับรางวัลทางวิชาชีพ ผลงานการวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อนําผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป  โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษา ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรม เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีความเชี่ยวชาญในอาชีพมากยิ่งขึ้น

              ผลการพัฒนา

โรงเรียนบ้านคลองลุ มีผลการดำเนินงานกิจกรรมวางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษามีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี โดยใช้กระบวนการ KLTEAM โมเดล ในการบริหารจัดการ โรงเรียนมีแผนพัฒนาการศึกษาที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน สามารถดำเนินการได้จริง และส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน กำหนดวิธีการดำเนินงานทุกกิจกรรม กับทุกมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และดำเนินการในทุกระบบ ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริม การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร และกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียน    ผลการดำเนินงานกิจกรรมการดำเนินแนวทางการกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ หรือรูปแบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา  ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ ดี โดยใช้การกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้รูปแบบ KL TEAM โมเดล ของสถานศึกษา ผลจากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการต่างๆส่งผลให้การบริหารจัดการของฝ่ายบริหารงานวิชาการมีการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น มีการกำหนดปฏิทินวิชาการและได้ดำเนินการตามปฏิทินส่งผลให้งานเป็นระบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังมีการส่งเสริมความสามารถให้กับนักเรียนได้แสดงความสามารถของตนเองในกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ   ในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่อง ครูได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งจากที่หน่วยงานต้นสังกัดจัดอบรมให้ความรู้และจากการศึกษาค้นคว้า อบรมออนไลน์ด้วยตนเองตามความสนใจ เพื่อนำผลที่ได้จากการอบรมมาพัฒนาตนเองและพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน ผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคม แหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน  ภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัด การเรียนรู้ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ ดี มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคม แหล่งเรียนรู้ ทั้งภายใน ภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ภายใต้โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้เพื่อเปิดโลกกว้างทางการศึกษาให้แก่นักเรียน

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม มีการกระจายอำนาจบริหารงาน 4 ฝ่ายอย่าง

ชัดเจน มีระบบการประกันคุณภาพภายใน มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมทุกด้าน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำงานร่วมกับชุมชน เครือข่ายชุมชน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เครือข่ายผู้ปกครอง ได้รับความร่วมมือมีการประชุมวางแผน การดำเนินงานโครงการและการขับเคลื่อนงานนโยบาย และการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

จุดที่ควรพัฒนา

การดำเนินงานตามโครงการในบางโครงการยังไม่ครอบคลุมตามกิจกรรมที่กำหนดใน

โครงการ การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง ควรดำเนินการให้มีความเด่นชัด นำจุดบกพร่องมาแก้ปัญหาและพัฒนาให้มีผลการดำเนินโครงการให้ดีขึ้น ควรมีการติดตามและประเมินผลกิจกรรมให้มีความชัดเจน ยังขาดการประชาสัมพันธ์ผลงานและกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

               1. ส่งเสริม และกระตุ้นความสนใจให้ครูได้รับการอบรมเทคนิคการสร้างสื่อเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆจากหน่วยงานที่มีการจัดอบรมออนไลน์ เพื่อให้ครูได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญสามารถนำเทคนิคต่างๆมาจัดทำสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน

         2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ ในระดับ ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

    โรงเรียนบ้านคลองลุ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริงโดยดําเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติสนองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดกิจกรรมสอนเสริมเพิ่มทักษะการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ได้เพิ่มพูนความรู้ พัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดและได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมชุมนุม เช่น ชุมนุมงานเกษตร ชุมนุมของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์  ชุมนุมทำอาหาร ชุมนุมนักประดิษฐ์ ชุมนุมคณิตคิดสร้างสรรค์ ชุมนุมนันทนาการ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกพืชผักสวนครัว การเรียนรู้การทำเสวียนหม้อ  กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมตามโครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ กิจกรรมตามโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ครูศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์ตัวชี้วัด จัดทําคําอธิบายรายวิชา กําหนดโครงการสอน เนื้อหาที่จะสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้  จัดทําแผนการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ โดยจัดสร้าง/พัฒนาสื่อและนวัตกรรม ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่สอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดตามหลักสูตร มุ่งเน้นกระบวนการคิดสู่การปฏิบัติจริงและประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ วัดประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย โรงเรียนมีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยครู มีการผลิตสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียน การสอน ใบงาน ใบความรู้ สื่อช่วยสอน คลิปเนื้อหาความรู้ต่างๆ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัด ที่มีความน่าสนใจเนื้อหาเข้าใจง่ายจากสื่อ You tube ส่งเสริมให้ครูได้ฝึกนำอุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมที่มีการบริหารจัดการเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข มีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ มีการสร้างบรรยากาศเชิงบวกในชั้นเรียน พัฒนาระบบงานวัดผลและประเมินผล เพื่อเป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนให้สูงขึ้น ซึ่งได้นําข้อมูลจากการวัดผลและประเมินผลทุกระดับมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการเรียน การสอนและคุณภาพของผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีการดำเนินตามโครงการพัฒนาความเป็นเลิศสู่งานวิชาการ มีการจัดทำปฏิทินวิชาการกำหนดเวลาเรียนไว้อย่างชัดเจน กำหนดช่วงเวลาในการดำเนินการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โดยการกำหนดให้มีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนตามความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามอัตราคะแนนที่สถานศึกษากำหนด

  ผลการพัฒนา

     โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการส่งเสริม

ความสามารถในการแข่งขันและมีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริม การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้ได้มาตรฐานวิชาชีพ โดยการสนับสนุนให้ครูเข้ารับ การอบรมพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ของหลักสูตรสถานศึกษา ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและ ปฏิบัติจริง  โดยดำเนินงานและกิจกรรมที่หลากหลาย ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถ นําไปจัดกิจกรรมได้จริง คิดเป็นร้อยละ 100  มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรสถานศึกษา ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผ่านการประเมินแผนการจัดการเรียนการสอนจากฝ่ายบริหาร ครูมีการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning  ครูร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ครูและบุคลากร มีการจัดทำโครงการสอนตามแผนการสอน เพื่อเป็นแนวทางการเก็บคะแนนการทดสอบระหว่างเรียนและการสอบปลายภาค ในการจัดการเรียนการสอนครูมีเทคนิคหรือรูปแบบการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมีสื่อเทคโนโลยีที่มีความพร้อมต่อการใช้งาน มีระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ต มีการสนับสนุนให้ครูมีศักยภาพด้านการผลิตและพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี จัดแหล่งเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างชัดเจน ครูมีการดูแลเอาใจใส่นักเรียน ทั้งในด้านการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล   การเยี่ยมบ้านนักเรียน การวางแผนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน  การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดี ในการเรียนทำให้ผลการเรียนดีขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด นักเรียน มีความสามารถที่หลากหลายทั้งด้าน วิชาการ ดนตรี  กีฬา มีความสุขในการแสวงหาความรู้ตามความสนใจและมีทักษะที่หลากหลายสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คิดเป็นร้อยละ 100  

จุดเด่น

  โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ครูได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายสร้างโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพของตนเอง โรงเรียนมีสื่อที่มีความพร้อมต่อการใช้งาน มีระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมได้ทั่วถึง มีการจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งใน และนอกห้องเรียน ครูมีการเอาใจใส่นักเรียน มีการจัดชั้นเรียนเชิงบวก มีการวัดและประเมินผลที่มีความหลากหลาย นำปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนมาร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเพื่อนำผลไปแก้ปัญหาและให้การแนะนำแก่นักเรียน

จุดที่ควรพัฒนา

ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ควรมีโครงงานหรืองานวิจัย นวัตกรรมที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนให้มากขึ้นเพื่อที่จะส่งผลให้โรงเรียนเกิดนวัตกรรม 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนที่สามารถนำผลงานไปเผยแพร่แก่สาธารณชนได้

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

                1. โรงเรียนมีการติดตามในส่วนของการจัดทำเอกสารที่เป็น เอกสาร หลักฐาน ร่องรอยของการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน

                2. ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำปัญหาที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอน   มาแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น

 

                                                                            

 

    (นางสาวสุริยาพร  ฮ่องช่วน)

 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองลุ



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขากอบ 16 มิ.ย. 2566
      รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านป่ากอ 15 มิ.ย. 2566
     การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2565 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : 12 มิ.ย. 2566
     เผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 12 มิ.ย. 2566


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.