f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านไชยภักดี
วันที่   14   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 288
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน บ้านไชยภักดี  ที่อยู่เลขที่ 35 หมู่ที่ 2 ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  website http ://school.obec.go.th และbanchaipakdee@hotmail.com

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางเนื้อทิพย์   ตั้งคำ เบอร์โทรศัพท์

จำนวนครูและบุคลากรทั้งหมด 18 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 13 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน ธุรการ  1 คน นักการภารโรง 1 คน (ข้อมูล 31 มีนาคม 2565)

จำนวนนักเรียนทั้งหมด 300 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 77 คน ระดับประถมศึกษา 223 คน         

(ข้อมูล 10 พ.ย. 2564) 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                             มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.3    มาตรฐานที่ 3   การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

     ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน                          มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

ด้านคุณภาพของผู้เรียน   ในภาพรวมของสถานศึกษาทั้งในระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ  โดยโรงเรียนบ้านไชยภักดีมีวิสัยทัศน์ ที่กำหนดจากผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนภายใต้วิสัยทัศน์ เป็นเลิศในการจัดการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้ เก่ง ดี มีสุข ครูเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ  โรงเรียนใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นต้น ในด้านครูและบุคลากร ได้มีการการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (ID PLAN)  เข้ารับการอบรมพัฒนาตรงตามความต้องการและสอดคล้องตามหน้าที่ที่ปฏิบัติ อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผ่านการดำเนินงานการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC )  อย่างน้อย 50 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา และครูจัดการเรียนการสอนโดยการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้  โรงเรียนมีการดำเนินงาน โรงเรียนคุณธรรมสพฐ.โดยใช้นวัตกรรม หนึ่งห้องเรียน หนึ่งโครงงานคุณธรรมโดยมีโครงงานของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา ถึงระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ครูทุกคนมีการจัดทำนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน และมีการจัดทำรายงานการใช้นวัตกรรม/รายงานการวิจัย มีการระดมทุนการศึกษาให้กับนักเรียน มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 มีการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและแก้ปัญหานักเรียนเรื่องการเรียน โดยกระบวนการสอนซ่อมเสริมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนมี      การนิเทศภายในตลอดปีการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 6 ครั้งต่อปี และนำผลการนิเทศมาปรับปรุง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้  โรงเรียนมีการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยผ่านการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC ) สัปดาห์ละ 1 ครั้งในทุกๆวันจันทร์ ประชุมครูและบุคลากรเดือนละ 1 ครั้ง

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนทุกคน ทุกด้านตามศักยภาพของแต่ละคน ส่งผลให้นักเรียนมีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ของสถานศึกษา นักเรียนทุกคนมีความรู้และทักษะที่จำเป็น นักเรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรในระดับยอดเยี่ยม นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสืบสานประเพณีท้องถิ่นและกิจกรรมทางศาสนา นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์และผ่านเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย นอกจากนี้โรงเรียนมีการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้แผนกลยุทธ์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผ่านนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (Professional Learning Community : PLC ) 

กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวม

กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวมของสถานศึกษา ทั้งในระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด มีมาตรการกระชับหลักสูตร ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบ โดยเน้นเนื้อหาจำเป็นตามมาตรฐานของแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ครูสามารถนำไปวางแผนการสอนและใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม เพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างเวลาเรียนและความหลากหลายของรูปแบบการเรียนรู้ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และสอนอย่างมีแผนที่เหมาะสม  เช่น ครูสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้หน่วยละ 2 สัปดาห์ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการประเมินสถานการณ์การระบาด นอกจากนี้ โรงเรียนไม่ละเลยการให้ความรู้แก่นักเรียนแต่ละช่วงวัยในการป้องกันตนเองจากโรคระบาด

          ผลการพัฒนาโดยภาพรวม

      ผลการพัฒนาโดยภาพรวมของสถานศึกษาทั้งในระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนจัดการเรียนการสอน  เพื่อส่งเสริมนักเรียนทุกคนทุกด้านตามศักยภาพของแต่ละคน ส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์และผ่านเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครูมีการพัฒนาตนเอง  มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( Professional Learning Community : PLC ) มีการเยี่ยมบ้านจากการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรในระดับดีเยี่ยม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

จุดเด่น

โรงเรียนบ้านไชยภักดีมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จนทำให้เกิดความสำเร็จและเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อาทิเช่น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง  โดยเน้นให้สอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2 และคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา มีการนิเทศติดตามและนำผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนา และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (Professional Learning Community : PLC ) 

จุดที่ควรพัฒนา

          1.ส่งเสริมให้ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้มากขึ้น

          2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้นำสื่อ เทคโนโลยีที่มีคุณภาพอยู่ทุกห้องเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          1.สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถานศึกษาในท้องถิ่น

          2.พัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้  ด้านคณิตศาสตร์

ด้านวิทยาศาสตร์  คุณธรรม ทักษะอาชีพ เทคโนโลยีและภาษาเพื่อการสื่อสาร และเป็นเลิศทางวิชาการ

          3.ดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.อย่างต่อเนื่อง

          4.พัฒนาครูให้เป็นมืออาชีพ และมีวิทยะฐานะที่สูงขึ้น

          5.พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

 

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.