f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านต้นปรง
วันที่   13   มิถุนายน   2565
เข้าชม : 596
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
          โรงเรียนบ้านต้นปรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ตั้งอยู่ที่ 14  หมู่ที่ 1 ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังเบอร์โทรศัพท์ 075-296118 ผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อ นางจิราภา วัจนพิสิฐ จำนวนบุคลากรของโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 44 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู จำนวน 39 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 3 คน และบุคลากรสนับสนุนอื่น ๆ (ธุรการ นักการภารโรง) จำนวน 2 คน จำนวนนักเรียน รวม 908 คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 176 คน และระดับประถมศึกษา จำนวน 732 คน
 
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย
    1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                           มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
    1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ       มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม  1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ                               มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
 
สรุปผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาปฐมวัย
          ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
          กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวม
          เนื่องในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)ทางโรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียน Onsite โรงเรียนบ้านต้นปรง ดำเนินการพัฒนาคุณภาพเด็กให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โดยครูได้ดำเนินจัดประสบการณ์ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับเด็กเป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ครอบคลุม 6 กิจกรรมหลัก ผ่านระบบออนไลน์
          โรงเรียนบ้านต้นปรงจัดโครงการและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองอย่างต่อเนื่อง จัดโครงการและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสมโดยมีการจัดกิจกรรมแบบ 6 กิจกรรมหลัก เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีวินัยในตนเอง ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ด้านสติปัญญา มีความสามารถในการคิด แก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
          โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการนิเทศติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูเข้าอบรมพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ จัดให้มีคอมพิวเตอร์ สมาร์ททีวีครบทุกห้อง เพื่อใช้ประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก มีระบบบริหารที่มีคุณภาพ เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผล
          ครูมีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกคน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก โดยให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
 
          ผลการพัฒนาโดยภาพรวม
            จากผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินโดยภาพรวมคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
          ทั้งนี้ เป็นเพราะสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพเด็กอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก และแนวทางหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมบูรณาการปลูกฝังเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ส่งเสริมการมีบทบาทของชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ในด้านกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา มุ่งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน มีการวางแผน ออกแบบกิจกรรม และดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมิน และการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ วิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือเด็กเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล
จุดเด่น
             1. เด็กมีความสามารถ และทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองได้เป็นอย่างดี รู้จักการออกกำลังกายได้ด้วยตนเอง สนใจกิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมการเคลื่อนไหวต่าง ๆ อย่างมีความสุข
             2. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจที่ดี คือ มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส มีความชื่นชม และสามารถปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรี และการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุข
             3. เด็กตระหนัก เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม และประเพณีในท้องถิ่น โดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
             4. เด็กมีทักษะทางด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ดี เหมาะสมกับวัย นอกจากนี้ นักเรียนยังได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์
             5. โรงเรียนบ้านต้นปรงมีหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดกรอบของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน และมีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปีพุทธศักราช 2560
             6. มีครูประจำชั้นครบทุกชั้น และครูมีประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม
             7. มีสื่อเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดประสบการณ์
             8. เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
             9. มีอาคารที่สะดวกสบายต่อการเรียนรู้ซึ่งเหมาะสมกับเด็กในระดับอนุบาล
              10. ครูตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดประสบการณ์ และกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้เด็กสามารถแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
             11. เด็กมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
             12. มีสื่อ เทคโนโลยี และงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ ทำให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
          จุดที่ควรพัฒนา
             2. สนามเด็กเล่นที่ค่อนข้างเล็ก ไม่เพียงพอกับจำนวนของเด็ก
             3. การเปิดโอกาสให้ชุมชน และผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ พัฒนาระบบการเรียนการสอน ไปในทิศทางเดียวกัน
             4. ครูจัดกิจกรรมเน้นให้เด็กได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลายและใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง จัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และฝึกให้เด็กได้คิดวิเคราะห์หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีให้มากขึ้น  
             5. ครูควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
          แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
         การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย พัฒนาเด็กได้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล และเด็กทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดเต็มศักยภาพ แนวทางการจัดการศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านต้นปรง จะต้องเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง บุคคลทั่วไป องค์กรและหน่วยงานที่มาศึกษาดูงาน ตลอดจนสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ที่ผลิตครูผู้สอนในระดับปฐมวัย
             โรงเรียนบ้านต้นปรง มีแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต ดังนี้
                 1. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม แต่ละปีเพื่อเติมเต็มให้มีความสมบูรณ์ เน้นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
                 2. ศึกษาและจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้มีสื่อ/ กระบวนการสอนมีกระบวนการที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมอง
                 3. พัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเด็ก ในระบบสารสนเทศของชั้นเรียนด้วยระบบเทคโนโลยี และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา
                 4. ขยายแนวคิดการพัฒนาเด็กตามรูปแบบ การจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ปฏิบัติสู่สาธารณชน โดยวิธีการต่าง ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติงาน ครูนำความรู้เผยแพร่ด้วยการเป็นวิทยากร การเขียนหนังสือบทความ
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน                      มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
    2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
    3.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                                                                       มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
          กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวม
          ในปีการศึกษา 2564 เป็นปีที่โรงเรียนบ้านต้นปรง ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ เนื่องจากตลอดทั้งปีการศึกษา เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนตามบริบทของสถานศึกษา ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย โรงเรียนบ้านต้นปรงพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการปรับหลักสูตรโรงเรียนบ้านต้นปรง พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ออกแบบการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงตามแนวทาง Active Learning เน้นการอ่านออก เขียนได้ พัฒนาให้ครูผู้สอนใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ครูมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีการบันทึกผลหลังสอน เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน มีการวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ใช้กระบวนการ PLC ในการร่วมกันแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ ในด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ตามหลักประชาธิปไตย นักเรียนกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนก แยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว                ผู้เรียน รู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่าง ๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยม 12 ประการ ตลอดจนน้อมนำพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 10 มาบูรณาการกับวิถีชีวิตเพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติเป็นพลเมืองที่ดี มีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างวัย โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกำหนดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งทักษะทางวิชาการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์หลากหลายกิจกรรม เช่น โครงการส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การเขียน กิจกรรมการเขียนเรียงความและการอ่านในวันสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ กิจกรรมวันสุนทรภู่ กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ กิจกรรมการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กิจกรรมสอนเสริมโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เช่น กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและพระมหากษัตริย์ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้ศึกษาความรู้ทักษะในการทำงานและงานอาชีพ ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย มีกิจกรรมการสอนเสริม ฝึกฝนทักษะทางวิชาการ มีการประเมินผลและนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
 
          ผลการพัฒนาโดยภาพรวม 
          จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินโดยภาพรวมคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
          ทั้งนี้ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เป็นไปตามปัญหา และความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน การสื่อสาร ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏผลประเมินในมาตรฐานที่ 1
          ด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษามีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม สถานศึกษามีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม วิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนมีผลประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
          โรงเรียนบ้านต้นปรงให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง
จุดเด่น
             1. ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ ตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น และสามารถวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยน และแก้ปัญหา อยู่ในระดับดี มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
             2. ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนาได้ ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูงส่วนใหญ่ตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับยอดเยี่ยม มีจิตสาธารณะ มีสุขภาวะที่ดี สามารถหลีกเลี่ยงยาเสพติด มีสุขภาพจิตดี ผู้เรียนร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ช่วยทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน บ้าน และชุมชน เป็นผู้ที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
             3. โรงเรียนบ้านต้นปรงมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยนำหลักธรรมาภิบาลมาบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานของกลุ่มงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา ทั้งการดำเนินงานของกลุ่มบริหารวิชาการ บริหารงบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา
             4. ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
             5. ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน ได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ ท้าทายให้แสดงความสามารถ และสามารถนำสิ่งได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
             6.ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
             7. ครูผู้สอนมีการวางแผนกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยจัดทำกำหนดการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาที่รับผิดชอบ และมีการจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 เรื่อง
             8. โรงเรียนจัดทำโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดกิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก จัดกิจกรรมได้หลากหลาย เลือกใช้เทคนิคการสอน การวัดและประเมินผล ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสถานการณ์
 
 
          จุดที่ควรพัฒนา
              1. ผู้เรียนต้องเร่งพัฒนาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสมตามวัย
             2. ผู้เรียนต้องได้รับการส่งเสริมในด้านทัศนคติที่ดีต่อความเป็นไทย ไม่หลงใหลกับค่านิยมต่างชาติจนเกิดการลอกเลียนแบบ ทำให้ลืมวัฒนธรรมอันดีงานของไทย
             3. ผู้เรียนควรมีการส่งเสริมทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น
             4. โรงเรียนบ้านต้นปรงควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
             5. โรงเรียนบ้านต้นปรงควรดูแลผู้เรียนให้ทั่วถึง ส่งเสริมเด็กเก่ง และซ่อมเสริมเด็กอ่อน ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้อีกประการหนึ่งด้วย
             6. โรงเรียนบ้านต้นปรง ควรส่งเสริมการนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
             1. พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องด้านทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ให้มีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น 
             2. พัฒนาให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการสื่อสารแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ สู่กระบวนการแก้ปัญหา และนำไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
             3. พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
             4. พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม
             5. พัฒนาให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ
             6. พัฒนาให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย   
             7. พัฒนาให้ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
             8. พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาครูผู้สอนให้เป็นครูมืออาชีพที่มีคุณภาพ
             9. พัฒนาครูทุกท่านให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งใหม่ ๆ เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีมากขึ้น สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ร่วมกันของโรงเรียน โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ/ อบรม/สัมมนา และศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการติดตามตรวจสอบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อตัวบุคคล
             10. พัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายใน อาทิ ห้องสมุดอาเซียน ห้องสมุด ซึ่งจะมีมุมหนังสือ มุมมัลติมีเดีย มุมสืบค้นข้อมูล (คอมพิวเตอร์) ให้บริการกับนักเรียน นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้
             11. พัฒนากระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งผลสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน จนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและท้องถิ่น
             12. สร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่สังคมคาดหวัง คือ มีคุณธรรม เป็นคนดี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีทักษะที่หลากหลาย เช่น ทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ รู้จักการแก้ไขปัญหา มีความสามารถด้านการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ภาษา  มีพื้นฐานและทักษะการคำนวณที่ดี และมีความชำนาญ ในการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมเผชิญปัญหา และสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น
             13. มีการจัดอบรมครูให้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
             14. ลดภาระงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ครูมีเวลาเพียงพอในการเตรียมการสอน และพัฒนาตนเองด้านการสอน
             15. มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้ และนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
 
 
 
 


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.