f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดห้วยนางวันครู (2501)
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู2501)
วันที่   14   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 387
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

                 โรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู ๒๕๐๑ ) ตั้งอยู่ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่  ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด   จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๒๑๓๐ โทรศัพท์ ๐๗๕-๒๙๔๐๘๐                                                  

 e-mail : 1092140115@pracharath.ac.th   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต  ๒       ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายศรชัย สุขเจริญ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๕ - ๒๒๖๓๐๐๕  มีบุคลากรทั้งสิ้น ๑๗ คน จำแนกเป็น  ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการครู ๑๒ คน  ธุรการ ๑ คน ลูกจ้างตำแหน่งอื่น ๆ ๓ คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวนนักเรียน  รวม ๒๖๘  คน                    

     ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

     ๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก             มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     ๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ           มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

     ๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ     ผลการประเมินอยู่ในระดับ   ยอดเยี่ยม

 

      กระบวนการพัฒนา

                โรงเรียนมีกระบวนการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของเด็ก โดยการจัดโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพปฐมวัยทั้ง ๔ ด้าน กิจกรรมกีฬาพาเพลินและกิจกรรมขยับกาย ขยายสมอง  กิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี กิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยรู้รอบปลอดภัย ให้เด็กได้เรียนรู้การดูแลตนเองจากคนแปลกหน้า กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะผ่านคลิปวิดิโอ ให้เด็กได้ร้องเพลงประกอบท่าทาง กิจกรรมการเล่านิทานผ่านไลน์กลุ่มเพื่อ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต กิจกรรมวันสำคัญฉันไม่ลืม กิจกรรมเด็กดีมีวินัย กิจกรรมหนูทำได้ในช่วงสถานการณ์โควิด เด็กเรียนที่บ้านครูส่งคลิปการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง และให้เด็กการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง โครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา เช่น กิจกรรมหนูน้อยคนเก่ง  กิจกรรมเกม การศึกษา  กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เป็นต้น

               ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนมีโครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้  จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยอย่างพอเพียงกับชั้นเรียนมีครูครบทั้ง ๓ ห้อง  โรงเรียนได้ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดยได้ปรับหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เด็กไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ กิจกรรมการผลิตสื่อ กิจกรรมการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและปรับปรุงสภาพแวดล้อมโรงเรียนได้อํานวยความสะดวก และให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีระบบอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงเรียน มีผู้บริหารที่เข้าใจถึงปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สามารถให้คำแนะนำ ชี้แนะที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา

              ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  ครูทุกระดับชั้น มีการวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ได้จัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาคโควิด ๑๙  โดยผู้ปกครองสามารถส่งเสริมกิจกรรมนี้ให้กับเด็กที่บ้าน   ได้ให้แนวทางการจัดกิจกรรมให้กับเด็กด้านอารมณ์ จิตใจแก่ผู้ปกครองในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด ๑๙ โดยจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมหลากหลายทั้งที่เป็นวิถีชีวิต เช่น การร้องเพลง การระบายสี การวาดภาพ การปลูกต้นไม้ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เลี้ยงสัตว์ ให้อาหาร สังเกต รอบตัว วงจรชีวิตของสัตว์ การเล่นแบบมีกติกา การบริการผู้ใหญ่   ด้านสังคม ครูประจำชั้นร่วมกับผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมให้กับเด็ก   เป็นกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือทำ การสังเกต ทดลอง  คิดแก้ปัญหา และหาคำตอบของเรื่องราวหรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ได้ตามวัยจากการสังเกต สิ่งรอบ ๆ ตัว

       ผลการพัฒนา

                   ผลการพัฒนาคุณภาพของเด็กในระดับปฐมวัย เด็ก มีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี รู้จักดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี   หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อโรค และสารเสพติด รู้จักระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์เสี่ยงอันตราย ร่าเริง แจ่มใส แสดงอารมณ์ได้เหมาะสม รู้จักรอคอย ยอมรับ และพอใจใน                ความสามารถของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกรู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่ความรับผิดชอบ  อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม  ชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว   มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ปราศจากความรุนแรง ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเองทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายรู้จักช่วยเหลืองานบ้าน    รู้จักตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัย และพยายามค้นหาคำตอบด้วยตนเอง มีความสามารถทางการคิดเชิงคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สามารถคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ สนทนาโต้ตอบ และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังได้             มีความสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีผลการการะเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

            ผลการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ทำให้ โรงเรียนมีหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย การจัดการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กในช่วงสถานการณ์โควิด-๑๙  มีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับชาติมีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดและดำเนินการตามแผน ชุมชนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจผลการปฏิบัติงาน ทำให้ผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเเยี่ยม

             ผลการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูมีแผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา  จัดประสบการณ์ที่เชื่องโยงกับประสบการณ์เดิม  ครูเปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ   มีการจัดประสบการณ์ตอบสนองการเรียนรู้เด็กเป็นรายบุคคล มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย และจากหลายแหล่งเรียนรู้ จัดประสบการณ์ให้ เด็กได้เล่น เรียนรู้ ลงมือและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ครูปฐมวัยมีความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษามีทักษะในการจัดประสบการณ์ และประเมินพัฒนาการ  นำประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรมมีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล   ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และการเรียนรู้ของเด็ก มีการประเมินพัฒนาการจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายไม่ใช้แบบทดสอบ วิเคราะห์ผลและประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวช้อง นำผลการประเมินไปพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็ก มีการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทำให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

       แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

              จัดกิจกรรมบูรณากาการทักษะอาชีพในท้องถิ่น นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้เด็กด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น  จัดหาวิทยากรเฉพาะทางมาสอนกิจกรรมศิลปะ จัดหาครูพี่เลี้ยงสำรองไว้หากมีครูติดภาระกิจหรือลาป่วยเพื่อให้เด็กมีผู้ดูแลอย่างทั่วถึงและเหมาะสม จัดให้ครูอบรมผ่านออนไลน์และอบรมให้หลากหลาย  ปรับสภาพแวดล้อมให้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม  มีเครื่องเล่นมากยิ่งขึ้น พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย   จัดหาครูที่สอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กโดยตรง  ส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็กเข้ารับการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  จัดให้มีเครื่องเล่นสนามเพิ่มและให้มีความทันสมัย ปลอดภัยและเพียงพอ ส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

      จุดเด่น

   โรงเรียนได้จัดทำ (Best Practices) การจัดการเรียนการสอนปฐมวัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในหัวข้อการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เรียนที่บ้าน โดยใช้กิจกรรม ๖ หลัก เป็นฐาน   เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีผลการประเมินพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านสูงขึ้น

       จุดที่ควรพัฒนา

             จัดกิจกรรมด้านการคิดรวบยอดทักษะทางด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร การอ่าน  จัดทำแผนการช่วยเหลือนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ  จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับอนุบาล ๑ จัดเตรียมแผนความพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่ปกติเพื่อให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแม้ไม่ได้มาเรียนที่โรงเรียน  พัฒนาด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาการเด็กโดยเพิ่มเติมเครื่องเล่นสนามทดแทนอันที่ชำรุด  ควรสร้างเครือข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาและบูรณาการทักษะชีวิตให้กับนักเรียนรองรับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่จำกัดเฉพาะการเรียนรู้ที่โรงเรียน

 

๒.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่  คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

          มาตรฐานที่  ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

           มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผลการประเมิน

                             อยู่ในระดับ : ดีเลิศ      

           กระบวนการพัฒนา  โรงเรียนวัดห้วยนาง(วันครู ๒๕๐๑)  จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี   มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย  พัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  พัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยความร่วมมือกับมูลนิธิยุวพัฒน์  การจัดอบรมคุณธรรมกับนักเรียนทุกระดับชั้นโดยนำโครงงานมาบูรณาการเป็น ๑ ห้องเรียน ๑ โครงงานคุณธรรม   ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา     ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา  จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  

           ผลการพัฒนา  ผู้เรียนอ่านออกและอ่านคล่อง  ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น  สามารถเขียนสื่อสารได้ดี  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่สูงกว่าค่าเป้าหมาย ผู้เรียนรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย มีความมั่นใจ  กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์ได้อย่างมีทักษะชีวิต  ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด   โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง  สามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง 

           แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

 ๑. ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน ควรเพิ่มความร่วมมือในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่ง และวงดุริยางค์ให้ก้าวหน้าและสร้างชื่อเสียงให้กับสถานศึกษามากยิ่งขึ้น

๒. ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง แบบ ๕ บท  เพื่อนำผลไปดำเนินการแก้ไขผู้เรียนและชั้นเรียน  

๓.  ครูควรมีการวางแผนและร่วมกันเพื่อดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ดียิ่งขึ้น

๔.  โรงเรียนควรมีระบบนิเทศภายในด้านวิชาการที่เข้มแข็ง เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบกัลยาณมิตร ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของตนต่อไป

๕. ครูในโรงเรียนควรวางแผนพัฒนาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กับครูในโรงเรียนและหน่วยงานภายนอก ให้มากขึ้น

๖. ส่งเสริมให้ครูมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง ส่งผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ เพื่อรับรางวัลครูดีเด่นประเภทต่าง ๆ ให้มากขึ้น

๗.  โรงเรียนควรให้เด็กทุกระดับชั้น เข้ารับการประเมินการทดสอบระดับชาติ ทั้งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ (RT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (O-NET)

 

            จุดเด่น    นักเรียนมีผลการประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียน เพราะมีโครงการพัฒนาคุณธรรมภายใต้การดูแลของมูลนิธิยุวพัฒน์  นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อภิปราย ถอดบทเรียนได้เป็นที่ชื่นชมและเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่น ๆ เนื่องจากโรงเรียนผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทางด้านการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ ครูทุกคนมีวุฒิการศึกษาอย่างต่ำปริญญาตรี ครูมีการพัฒนาตนเอง โดยการอบรมออนไลน์ ร้อยละ ๘๐  ครูมีผลงานเชิงประจักษ์ เช่น ครูได้รับการคัดเลือกเป็นครูผู้สอนดีเด่นเนื่องในวันครู ครั้งที่ ๖๕ พ.ศ. ๒๕๖๕ ของอำเภอห้วยยอด ๓ คน ครูได้รับรางวัลครูดีของแผ่นดิน ๘ คน และมีครูได้รับรางวัลครูดีของแผ่นดินขั้น ๕  จำนวน ๑ คน

 

          จุดที่ควรพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร  ควรได้รับการปรับปรุง และร่วมกันหาแนวทางเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น  มีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอเรื่องการจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์  สื่อเทคโนโลยี   ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการ เรียนรู้อย่างรอบด้าน   และมีการนิเทศ ติดตาม ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม   ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC กันมากขึ้น  เพื่อพัฒนางาน ส่งเสริมให้ครูมีเครื่องมือในการวัดผลตรงตามสภาพจริง    อิงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูล ย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้กระบวนการวิจัยมาจัดการ เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

             

 

 

 

                    (นายศรชัย   สุขเจริญ)

 

                                                                      ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยนาง(วันครู ๒๕๐๑)



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.