f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายการศึกษาในสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
วันที่   5   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 413
Bookmark and Share


แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564

 โรงเรียนบ้านเหนือคลอง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

……………………………………….

1. ข้อมูลทั่วไป

         

          ชื่อโรงเรียน  บ้านเหนือคลอง    .ที่อยู่    115  หมู่ที่ 8  ตำบลบางกุ้ง  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง  รหัสไปรษณีย์  92210   สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2  โทรศัพท์ 075-291345    โทรสาร  -  เปิดสอนระดับชั้น อนุบาลปีที่ 1  ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6

 

2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา  (31 มีนาคม 2565)      

บุคลากร

ผู้บริหาร

ครูผู้สอน

พนักงานราชการ

ครูอัตราจ้าง

เจ้าหน้าที่อื่นๆ

31 มีนาคม 2565

1

3

-

2

2

 

3.  ข้อมูลนักเรียน (10 พ.ย. 2564)                  

ระดับชั้นเรียน

จำนวน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

อนุบาลปีที่ 1

3

4

 

อนุบาลปีที่ 2

2

2

 

อนุบาลปีที่ 3

2

3

 

รวม

7

9

 

ประถมศึกษาปีที่ 1

4

7

 

ประถมศึกษาปีที่ 2

10

5

 

ประถมศึกษาปีที่ 3

3

6

 

ประถมศึกษาปีที่ 4

3

6

 

ประถมศึกษาปีที่ 5

7

2

 

ประถมศึกษาปีที่ 6

8

6

 

รวม

35

32

 

รวมทั้งหมด

42

41

 

 

 

 

 

 

 4. ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตาม

    กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 256๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    ประถมศึกษาตรัง เขต 2

    4.1  รูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

 

     การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐาน  สถานศึกษาจึงมีโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  พ.ศ.2561 มีรูปแบบวิธีการบริหารจัดการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีการวางแผนการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติและมีการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง     โดยการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้วยการบริหารจัดการที่มีคุณภาพทั้งองค์กร โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม บุคลากรในโรงเรียนตระหนักถึงเป้าหมาย คือ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นอันดับแรก ทางโรงเรียนยึดหลัก 3 ประการในการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดังนี้

     1.การกระจายอำนาจ มีอิสระ มีความคล่องตัวในการบริหาร  ทั้งการบริหารงานวิชาการ บริหารงบประมาณ บริหารงานบุคคลและบริหารทั่วไป จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้สอนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในการสอน มีการพัฒนาสื่อ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของชุมชน

     2.การมีส่วนร่วมในการทำงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ร่วมกันคิด ตัดสินใจ สนับสนุน ส่งเสริมติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน

     3. ภาระรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ทุกคนรู้มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน เพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  เพื่อติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี

ผลการดำเนินงาน

     สถานศึกษามีการบริหารจัดการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  พ.ศ.2561 สอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษา มีกระบวนการ ลำดับขั้นตอน อย่างชัดเจน มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3 ปี  โดยมีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นไปประจำต่อเนื่องทุกปี  ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 4

 

     4.2  การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 

          4.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

สถานศึกษามีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน อันเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้เสีย มีการขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีการจัดทำคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการดำเนินงาน

 สถานศึกษามีมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ  มีอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ คำขวัญ มีเอกลักษณ์ของโรงเรียนได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนรับรู้ รับทราบ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุมาตรฐาน อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของโรงเรียน  ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม  5

    4.2.2  การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

           สถานศึกษาได้จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งเน้นตามมาตรฐานการศึกษา โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันคิดและพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ โดยการทำ SWOT  Analysis วิเคราะห์สถานภาพของสถานศึกษา  ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน สำหรับเป็นเครื่องชี้นำการดำเนินการต่างๆ  ที่สอดรับกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา ระบุแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม  และมีการนำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขอความเห็นชอบโดยมีแผน2ประเภทคือ
               1) แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งเป็นแผนที่มีรอบระยะเวลาการพัฒนาที่มุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เป็นแผน 3 ปี  ที่มีความเหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา เป็นแผนที่สะท้อน กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่วางไว้
           2) แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นแผนที่แตกมาจากแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อการดำเนินงานเป็นรายปี โดยแผนปฏิบัติการนี้ มีโครงการจำนวน  10  โครงการ  เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน มีกิจกรรมการดำเนินงานตามกรอบเวลา สถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ มีกิจกรรม ปฏิทิน การติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน การปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการรายงานโครงการเพื่อเป็นข้อมูลและสารสนเทศในการปรับปรุงและพัฒนาในปีต่อ ๆ ไป 

ผลการดำเนินงาน

  สถานศึกษามีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน 3 ปี ที่มียุทธศาสตร์สนองตอบต่อการพัฒนาผู้เรียนตามปรัชญา วิสัยทัศน์ของโรงเรียน มีแผนปฏิบัติการประจำปีสนองตอบต่อแผนพัฒนาการจัดการศึกษา  แผนปฏิบัติการในแต่ละปีมีโครงการที่สนองตอบต่อจุดเน้นอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของโรงเรียน  แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนและแผนปฏิบัติการประจำปี ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูทุกคนรับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการของโรงเรียน   ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม  5

4.2.3  การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

            ผู้บริหารใช้ร         zมเหำการดำเนินการต่างๆ  แผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีเป็นทิศทางสำคัญในการบริหารจัดการโรงเรียน  บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพและระบบคุณธรรม จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานตามแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดูแล กำกับ ติดตาม และนิเทศงานของครู และผู้เกี่ยวข้องเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ ให้ความสำคัญและการดำเนินงานปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  ผู้บริหารเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่กำหนดไว้  รวมทั้งมีการส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตามและให้ความช่วยเหลือแก่ครู ให้สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

 

ผลการดำเนินงาน

      สถานศึกษามีปฏิทินการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ชัดเจน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการ/กิจกรรม รายงานการประชุม ปรึกษาหารือ การดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง  รายงานการกำกับ ติดตาม นิเทศ การดำเนินงานตามแผนเป็นระยะ ๆ  โครงการ/กิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า ผู้ที่เกี่ยวข้อง พึงพอใจในการดำเนินงานตามแผน ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก  4

          4.2.4  การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

                สถานศึกษา มีการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ  ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะครู   พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่  เพื่อประเมิน ตรวจสอบ  ติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งการจัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศ การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นแนวโน้มการปฏิบัติงานว่าดีขึ้นหรือกำลังถอยลง มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องใดบ้าง โดยการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โรงเรียนกระทำทุกปี ทั้งนี้ การดำเนินงานตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอาศัยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และให้ความสำคัญกับคุณภาพผู้เรียนเป็นอันดับแรก และเชื่อมโยงถึงมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในด้านอื่นๆ รวมถึงอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ของโรงเรียน

 

ผลการดำเนินงาน

      สถานศึกษามีปฏิทินการกำกับ ติดตามการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ การนิเทศภายในโรงเรียนกำหนดผู้รับผิดชอบตามปฏิทินชัดเจน  ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนงาน/โครงการรายงานผลการประเมินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี  มีการรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน   มีการประชุมผู้เกี่ยวข้องในการนำผลไปใช้ในการปรับปรุงแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/การสอน/หลักสูตร  ตลอดจนมีการนำผลจากการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเป็นสารสนเทศในการพัฒนาในปีต่อไป ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก  4

          4.2.5  ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

                สถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

เพื่อให้ทราบขีดความสามารถในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าบรรลุตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาหรือไม่  โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการติดตามผลการดำเนินการ  กำหนดภารกิจและปฏิทินการติดตามฯ จัดทำเครื่องมือติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยติดตามผลการดำเนินงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง  และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ   ในการติดตามผลการดำเนินงาน  เน้นความสำเร็จใน 3  ด้าน  คือ

                   1. คุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกิดการเชื่อมโยงจากมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรสู่มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน โดยระบุถึงกลุ่มผู้เรียนที่ได้มาตรฐานและกลุ่มผู้เรียนที่ไม่ได้มาตรฐาน

                   2. คุณภาพครูตามมาตรฐานการสอน เป็นการประเมินคุณภาพการสอนของครูว่าเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการเรียนรู้หรือไม่ มีสิ่งใดบ้างที่ต้องปรับปรุง

                   3. คุณภาพการศึกษาด้านการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาด้วยวิธีการอย่างหลากหลายอย่าง การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจสอบ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องในมาตรฐานผู้เรียนและการเรียนการสอน

ผลการดำเนินงาน

                สถานศึกษามีการประเมินมาตรฐานด้านผู้เรียน  การประเมินมาตรฐานครูผู้สอน   มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษา   ทั้งในระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับชั้นเรียน และในภาพรวมของสถานศึกษาตลอดจนมีแนวทางการพัฒนา/ข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก  4

           4.2.6  จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

            สถานศึกษามีการจัดทำรายงานประจำปีหลังการจัดการศึกษาผ่านไป โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการสรุปและจัดทำรายงาน ผลสำเร็จของการบริหารจัดการสถานศึกษา ครอบคลุมตามมาตรฐาน  ตรวจสอบ ปรับปรุง ให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ นำเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการเปิดเผยต่อสาธารณชน พร้อมนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง พัฒนาในการดำเนินงานปีถัดไป

 

 

ผลการดำเนินงาน

                    สถานศึกษามีรายงานประจำปีระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนมีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม  5

 

 

           4.3  ผลงานเด่นของสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2563 - 2564

ปีการศึกษา 2563

ประเภท

ระดับรางวัล

ชื่อรางวัล

หน่วยงานที่มอบรางวัล

สถานศึกษา

สถานศึกษาปลอดภัย

ระดับชาติ

สถานศึกษาปลอดภัย ดีเด่น ปีที่ 2

กระทรวงแรงงาน

โครงการครูดีไม่มีอบายมุข

ระดับชาติ

เกียรติบัตรโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข ประจำปีการศึกษา 2563

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดี

ปีการศึกษา 2563

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

กิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดี

ปีการศึกษา 2563

สพป.ตรังเขต 2

ผู้บริหาร

โครงการครูดีไม่มีอบายมุข

 

ระดับชาติ

เกียรติบัตรครูดีไม่มีอบายมุข

ประจำปีการศึกษา 2563 ประเภท ผู้บริหารสถานศึกษา

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ครู/บุคลากร

1...วรรณา หมุนนุ้ย

2.นายภักดี   พรมแก้ว

3...พรพรรษา  รักสกุล

4...พัชรี  คีรีรักษ์

5.นายนพฤทธิ์ วงศ์ลักษณพันธ์

6...จิราภรณ์  คงประสม

ระดับชาติ

เกียรติบัตรครูดีไม่มีอบายมุข

ประจำปีการศึกษา 2563 ประเภท ครูผู้สอน

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นายภักดี     พรมแก้ว

 

ระดับอำเภอ

ครูผู้สอนดีเด่น เนื่องในวันครู ครั้งที่ 65  ระดับอำเภอห้วยยอด

สพป.ตรัง เขต 2

น.ส.วรรณา  หมุนนุ้ย

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ครูผู้สอนกิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดี

ปีการศึกษา 2563  ระดับดีเยี่ยม

สพป.ตรัง เขต 2

 

 

ประเภท

ระดับรางวัล

ชื่อรางวัล

หน่วยงานที่มอบรางวัล

นักเรียน

1...ธมลวรรณ    ศรีหนู

2...กัญญาพัชร วงษ์ภักดี

3...สกาวใจ  เผือกสอาด

4...เพชรลดา ปราบรัตน์

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

กิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดี

ระดับดีเยี่ยม ปีการศึกษา 2563

สพป.ตรัง เขต 2

 

 

ปีการศึกษา 2564

ประเภท

ระดับรางวัล

ชื่อรางวัล

หน่วยงานที่มอบรางวัล

สถานศึกษา

สถานศึกษาปลอดภัย

ระดับชาติ

สถานศึกษาปลอดภัย ดีเด่น ปีที่ 3

กระทรวงแรงงาน

กิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดี ปีการศึกษา 2564

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

กิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดี ปีการศึกษา 2564 ระดับดีมาก

สพป.ตรังเขต 2

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานการณ์โควิด โดยการจัดการเรียนรูปแบบ Home base learning

ระดับจังหวัด

โครงการยกระดับการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผู้บริหาร

ผู้บริหารสถานศึกษาดีของแผ่นดิน

ระดับชาติ

ผู้บริหารสถานศึกษาดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน โครงการเครือข่ายครูดีของแผ่นดิน

มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

นวัตกรรมการนิเทศภายในของสถานศึกษา

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

การประกวดนวัตกรรมการนิเทศภายในของสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2564 ระดับดีเลิศ

สพป.ตรัง เขต 2

การนำเสนองานวิจัยผู้บริหารและ Best practice

ระดับจังหวัด

โครงการยกระดับการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

ระดับดีมาก

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่นเนื่องในงานวันครู ครั้งที่ 66 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

 

สพป.ตรัง เขต 2

 

ประเภท

ระดับรางวัล

ชื่อรางวัล

หน่วยงานที่มอบรางวัล

ครู/บุคลากร

1...วรรณา หมุนนุ้ย

2.นายภักดี  พรมแก้ว

3.น.ส.สุกัญญา  รัตนพล

4.น..พัชรี  คีรีรักษ์

5.น.ส.ชนนิกานต์  ภานุมาศจรัสวงศ์

ระดับชาติ

ครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน โครงการเครือข่ายครูดีของแผ่นดิน

มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

..วรรณา หมุนนุ้ย

ระดับชาติ

ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลยอดเยี่ยม กิจกรรมประกวดเขียนเรียงความหัวข้อ พ่อของฉัน

     กระทรวงวัฒนธรรม

..วรรณา หมุนนุ้ย

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ครูดีเด่นเนื่องในงานวันครู ครั้งที่ 66 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

สพป.ตรัง เขต 2

1...วรรณา หมุนนุ้ย

2.นายภักดี  พรมแก้ว

3.น.ส.สุกัญญา  รัตนพล

4.น..พัชรี  คีรีรักษ์

5.น.ส.ชนนิกานต์  ภานุมาศจรัสวงศ์

ระดับจังหวัด

การนำเสนอวิจัยชั้นเรียน(ภาคบรรยาย) ในโครงการยกระดับการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับดีมาก

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

นักเรียน

1...กัญญาพัชร   วงษ์ภักดี

2.ด..ธมลวรรณ    ศรีหนู

ระดับชาติ

รางวัลยอดเยี่ยม กิจกรรมประกวดเขียนเรียงความหัวข้อ พ่อของฉัน

     กระทรวงวัฒนธรรม

1.ด..ธมลวรรณ    ศรีหนู

2...กัญญาพัชร  วงษ์ภักดี

3..ชกันต์ธาวี       ปานแดง

4...เพชรลดา    ปราบรัตน์

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

กิจกรรมการเรียนรู้บริษัทสร้างการดี

ระดับดีมาก ปีการศึกษา 2564

สพป.ตรัง เขต 2

คำอธิบาย: คำอธิบาย: C:UsersUserDesktop1.jpg

        (ลงชื่อ)                             ผู้รายงานข้อมูล

(นางสาววรรณา   หมุนนุ้ย)

ตำแหน่ง  ครู โรงเรียนบ้านเหนือคลอง

 

             (ลงชื่อ)                                   ผู้รับรองรายงาน

(นางสาววรรณา  คล้ายฉิม)

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   

ประกาศโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน

ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 
 

 

 

              ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561  ให้โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

               จึงอาศัยอำนาจความตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 6 มาตรา 47 และกฎกระทรวงอาศัยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553  หมวด 1 ข้อ 5 และ 6 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านเหนือคลอง ดังนี้

1. นางสาววรรณา         คล้ายฉิม                    ประธานกรรมการ

2. นายวิรัช                 วัฒนะ            กรรมการ

3. นายภักดี                 พรมแก้ว         กรรมการ

4. นางสาวสุกัญญา        รัตนพล           กรรมการ

5. นางสาววรรณา           หมุนนุ้ย                   กรรมการและเลขานุการ

 

             ทั้งนี้ให้คณะกรรมการได้ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านเหนือคลอง ให้แล้วเสร็จภายในวันที่  12  พฤษภาคม  พ.ศ. 2565

 

             ประกาศ ณ วันที่  29  เมษายน  พ.ศ. 2565

 

                                                      (นางสาววรรณา   คล้ายฉิม)

                                                      ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

 

 

ประกาศการใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   

ประกาศโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

เรื่อง  การใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 
 

 

 

            โดยที่มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพคนไทยและการศึกษาไทยในอนาคต ประกอบกับมีนโยบายให้ปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกของทุกระดับก่อนจะมีการประเมินคุณภาพในรอบต่อไป จำเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกัน จึงให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 9(3) ได้กำหนดการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักสำคัญข้อหนึ่ง คือมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา โดยมาตรา 31 ให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษาและมาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อเสนอสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก

            ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9(3) มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมาตรา 5 มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ประกอบกับมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการประชุมครั้งที่ 5 /2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย  ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2561

 

โรงเรียนบ้านเหนือคลอง จึงประกาศการใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา   ระดับการศึกษาปฐมวัยเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยและการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 

                    ประกาศ ณ วันที่ 14 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564

 

                                                                    (นางสาววรรณา   คล้ายฉิม)

                                                                 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

เอกสารแนบท้ายประกาศประกาศโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

เรื่อง  ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

--------------------------------

โรงเรียนบ้านเหนือคลอง ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2561 เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน รายละเอียด ดังนี้

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก

1.1    มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

1.2    มีการพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

1.3    มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

1.4    มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

 

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ

   2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

             2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

             2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

             2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ

 2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

 2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

 

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

  3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

              3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

              3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

              3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัด  

                    ประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประกาศโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

เรื่อง  การใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน

ของสถานศึกษา

 
 

 

 

            โดยที่มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพคนไทยและการศึกษาไทยในอนาคต ประกอบกับมีนโยบายให้ปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกของทุกระดับก่อนจะมีการประเมินคุณภาพในรอบต่อไป จำเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกัน จึงให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันที่ 11 ตุลาคม  พ.ศ. 2559

            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554มาตรา 9(3) ได้กำหนดการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักสำคัญข้อหนึ่ง คือมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา โดยมาตรา 31 ให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษาและมาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อเสนอสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก

            ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9(3) มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมาตรา 5 มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ประกอบกับมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการประชุมครั้งที่ 5 /2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2561

โรงเรียนบ้านเหนือคลอง จึงประกาศการใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยและการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา

                       

                    ประกาศ ณ วันที่  14  เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

                            

                                                           (นางสาววรรณา   คล้ายฉิม)

                                                        ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

 

เอกสารแนบท้ายประกาศประกาศโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

เรื่อง  ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

--------------------------------

 

โรงเรียนบ้านเหนือคลอง   ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ประกอบด้วย 3  มาตรฐาน รายละเอียด ดังนี้

 

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน

           1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

               1) ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

               2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ

                   แก้ปัญหา

               3) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

               4) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

               5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

               6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

 

           1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

      1)  มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

               2)  ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย

               3)  การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

               4)  สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

 

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ

      2.1 มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

               2.2 มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

               2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก

                     กลุ่มเป้าหมาย

               2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

               2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

               2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

 

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

               3.1 การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

               3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

               3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

               3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

              3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.