f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนหนองกก
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านควนหนองกก
วันที่   17   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 348
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านควนหนองกก ตั้งอยู่เลขที่ 64 หมู่ที่ 6 ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เบอร์โทรศัพท์ : 080-6994847 

E - Mail : nongkok140307school@gmail.com เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่

          ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางดวงพร  หนูทอง ครูโรงเรียนบ้านควนหนองกก รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านควนหนองกก  เบอร์โทรศัพท์ 080-6994847 

          จำนวนบุคลากร 10 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู  5 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูจ้างสอน 4 คน และเจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน มีนักเรียน 69 คน จำแนกเป็นระดับชั้นอนุบาล 18 คน ระดับ             ชั้นประถมศึกษา 51 คน 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

มีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา  ดังนี้

1.1  มาตรฐานที่  1  คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

1.3    มาตรฐานที่  3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งผลการประเมินโดยรวมของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ดังนี้  

          มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

          กระบวนการพัฒนา

ในปีการศึกษา 2564 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid 19) ทางโรงเรียนบ้านควนหนองกกไม่สามารถเปิดเรียนรูปแบบ On Site ได้จึงใช้รูปแบบ On Hand และได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา แบบองค์รวม โดยเน้นกิจกรรมทักษะชีวิตและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านการเล่น ผู้ปกครองเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกให้เด็ก ๆ ได้ปฏิบัติด้วยตนเองทุกวันและผู้ปกครองรายงานด้วยภาพถ่ายในกลุ่มไลน์ชั้นเรียน

          ผลการพัฒนา 

         1) เด็กร้อยละ 87.07  มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

         2) เด็กร้อยละ 87.50  มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

         3) เด็กร้อยละ 86.84  มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

         4) เด็กร้อยละ 86.09  มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

พัฒนาหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษา ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย ให้เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ จากการลงมือปฏิบัติและการได้รับประสบการณ์ตรง มีการกำหนดจุดมุ่งหมายและการวางแผนในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทั้งรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาโดยคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญและพัฒนาเด็กแต่ละคนอย่างเต็มศักยภาพ

          จุดเด่น

          เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมาย               ที่สถานศึกษากำหนด และมีแผนงาน/โครงการในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน/เด็กพิเศษ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตวิถีพุทธ โครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการส่งเสริมกิจกรรมตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเรียนรู้และปฏิบัติ  เป็นต้น

         จุดที่ควรพัฒนา 

โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกความรู้สึกอย่างเหมาะสม มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก ได้ทำกิจกรรมเท่าเทียมกันทุกคนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมทั้งรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน เรียนรู้ทักษะชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เหมะสมตามช่วงวัย แก้ไขขัดขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง จัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินแก้ปัญหาคิดวิเคราะห์ได้ตามวัย เช่น กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ สะเต็มศึกษา จัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย  การเรียนรู้แบบ Active Learning กระตุ้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง การจัดกิจกรรมควรให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและมีโอกาสค้นพบตนเองให้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง

          มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ 

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านควนหนองกกดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมของเด็ก สอดคล้องกับหลักสูตร เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ จัดครูเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมทางการศึกษาปฐมวัยเข้าสอนอย่างเพียงพอกับชั้นเรียนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดยมีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรโดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีการนำความรู้มาจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริงทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล ในปีการศึกษา 2564 ทางโรงเรียนบ้านควนหนองกกไม่สามารถเปิดเรียนรูปแบบ On Site ได้ ครูจึงต้องคิดออกแบบการจัดประสบการณ์โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการเป็นไปตามวัย  จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนอย่างปลอดภัยและเพียงพอ เอื้อต่อการเรียนรู้ สื่อในห้องเรียนมีมุมประสบการณ์ในชั้นเรียนอย่างหลากหลาย มีกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพสาถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด

          ผลการพัฒนา

1) โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

2) โรงเรียนมีครูเพียงพอกับชั้นเรียน

3) โรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

4) โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

          5) โรงเรียนให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์  สำหรับครู

          6) โรงเรียนมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1)    โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของท้องถิ่น

2)    โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดอัตรากำลังครูให้ครบชั้นเรียน

3)    โครงการปรับปรุงและซ่อมแซมอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ควรระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาสนามเด็กเล่น ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้พร้อมใช้งาน จัดซื้อ/จัดจ้างทำเครื่องเล่นสนาม ให้เพียงพอต่อความต้องการของเด็ก เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัย และปรับปรุงอาคารสถานที่ห้องเรียนปฐมวัยให้มีความปลอดภัย แสงสว่าง เพียงพอต่อจำนวนเด็ก และถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียนรู้

4)    โครงการจัดซื้อ/จัดหาสื่อเทคโนโลยี สื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

5)    โครงการ/กิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

          จุดเด่น

          1) มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น

          2) จัดครูได้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน

          3) มีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล

          4) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

          จุดที่ควรพัฒนา 

1) โรงเรียนควรพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อย่างต่อเนื่อง

2) สถานศึกษาต้องจัดครูได้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมทางการศึกษาปฐมวัยเข้าสอนอย่างเพียงพอกับชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง

3) โรงเรียนควรมีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรโดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีการนำความรู้มาจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริงทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ในการร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดอย่างต่อเนื่อง

4) โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์ในชั้นเรียนอย่างหลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน บล็อก เกมการศึกษา เป็นต้น อย่างต่อเนื่อง

5) สถานศึกษาจะต้องอำนวยความสะดวก และให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศวัสดุ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครูเพิ่มขึ้น

6) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

          มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

          กระบวนการพัฒนา

                   1) มีการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตามหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น มีการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา มีกิจกรรมที่พัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมครบทุกด้าน

2) สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมที่บ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก การรับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะมีคุณค่าครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม  การดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างอิสระทั้งในร่มและกลางแจ้งโดยใช้วัสดุ/อุปกรณ์ตามบริบทของแต่ละบ้าน เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี และใช้มือและตาประสานสัมพันธ์โดยการร้อยลูกปัด และการใช้กรรไกรตัดกระดาษ เป็นต้น ด้านสุขนิสัยที่ดีของเด็กได้ประสานร่วมมือกับผู้ปกครอง ในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน โดยเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ดูแลตนเองเป็นกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การล้างหน้า แปรงฟัน การล้างมือ การใช้ห้องน้ำด้วยตนเอง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาดได้ด้วยตนเอง นอนพักผ่อนเป็นเวลา และออกกำลังกาย เป็นต้น  ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ที่บ้านได้แก่ กิจกรรมวาดภาพระบายสี กิจกรรมประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรมเคลื่อนไหวผ่านเสียงเพลงจากยูทูป เลี้ยงสัตว์เลี้ยง กิจกรรมงานบ้าน เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมที่บ้านได้แก่  การใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด รดน้ำต้นไม้ การทิ้งขยะ การปฏิบัติตนตามมารยาทไทย การไหว้ การยิ้ม การทักทาย กล่าวขอบคุณ ขอโทษ การมีสัมมาคารวะ การยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความคิด พฤติกรรม เป็นต้น  กิจกรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเองของเด็กที่บ้านได้แก่  การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การเก็บของ การเก็บรองเท้า การอาบน้ำ สระผม เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ที่บ้านได้แก่  กิจกรรมการทำขนมโค ขนมพอง กิจกรรมการเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่าง กิจกรรมสำรวจสิ่งต่าง ๆ และจำแนกสิ่งของ กิจกรรมPattern Block เรียงลำดับ กิจกรรมทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสื่อสารที่บ้านได้แก่  กิจกรรมหนูน้อยรักการอ่าน กิจกรรมเล่าเรื่องจากภาพงานศิลปะ กิจกรรมสนทนาจากกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  เป็นต้น

          3) ประสานความร่วมมือกับพ่อแม่ ผู้ปกครองจัดกิจกรรมให้กับเด็ก อัดคลิปวีดิโอ และได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากคลิปวิดีโอ และยูทูป  ส่งชิ้นงานผ่านกลุ่มไลน์ชั้นเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเหมาะสมกับวัยของเด็ก วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ ความชอบและความต้องการของเด็กที่หลากหลาย นอกจากนี้มีทั้งสื่อที่เป็นของจริง สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นสื่อที่เอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และส่งเสริมการลงมือปฏิบัติจริงของเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้านอย่างสมดุล

          4) ประสานความร่วมมือกับพ่อแม่ ผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย อัดคลิปวีดิโอส่งผ่านกลุ่มไลน์ชั้นเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ

พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กสำหรับการส่งเสริมความก้าวหน้าและช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อพบเด็กล่าช้าหรือมีปัญหาที่เกิดจากพัฒนาการและการเรียนรู้ ไม่มีการใช้แบบทดสอบในการประเมิน แต่ได้ทำการประเมินตามสภาพจริงที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ใช้วิธีการและวิธีการประเมินที่หลากหลายอย่างมีจุดหมาย เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ บันทึกพฤติกรรม บันทึกพัฒนาการ หรือแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

          ผลการพัฒนา

1)   ครูปฐมวัยทุกคนจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

2)   เด็กร้อยละ 100 ได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

3)   ครูปฐมวัยทุกคน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

4)   ครูปฐมวัยทุกคนประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1)   จัดกิจกรรมพัฒนา EF สำหรับเด็กปฐมวัย

2)   จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย

3)   จัดกิจกรรมทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย

4)   จัดกิจกรรมปรับปรุง ซ่อมแซม จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน

5)   จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย

6)   จัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

          จุดเด่น

          1) ครูมีความรู้ความสามารถและประสานความร่วมมือกับผู้ปกคอรงในการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตนเอง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร

          2) เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เรียนรู้อย่างมีความสุข

          จุดที่ควรพัฒนา 

          1) การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ อย่างต่อเนื่อง

          2) สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข อย่างต่อเนื่อง

          3) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่อง

          4) ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง

          2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

มีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา  ดังนี้

          2.1  มาตรฐานที่  1  คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดี

2.2  มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

2.3  มาตรฐานที่  3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมิน                   

อยู่ใน  ระดับ ดีเลิศ

               จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งผลการประเมินโดยรวมของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดีเลิศ ดังนี้

         มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

         ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียนได้เหมาะสม สื่อสารภาษาไทยได้เข้าใจ ชัดเจน  สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลให้มี  ผลการทดสอบการอ่านระดับชาติ ( O-NET ) รายวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศและปีการศึกษาที่ผ่านมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยี ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี กล้าแสดงออกและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ มีผลงานด้วยความภาคภูมิใจ รู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด  มีระเบียบวินัย  เคารพกฎกติกา  ระเบียบของสังคม  มีมารยาทงามและเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

           มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

           โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน  สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ ส่งเสริมการเป็นชุมชน       การเรียนรู้ ทางวิชาชีพเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น            มีหลักการบริหาร  และมีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานที่ดี  สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และคณะกรรมการสถานศึกษามีความตั้งใจ และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 กลุ่มงาน ให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์      พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน   มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้และจัดทำสื่อการสอนได้อย่างมีคุณภาพ                มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผล

           มาตรฐานที่ 3 กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

           ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความตั้งใจ  มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ         จัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนสามารถคิด วิเคราะห์ และสามารถปฏิบัติได้จริง มุ่งเน้นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมเชิงบูรณาการ Active learning สอดแทรกความรู้ในชีวิตประจำวันเข้ากับวิชาเรียน ครูได้รับการพัฒนาตามโครงการพัฒนาวิชาชีพ  และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ พัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน          มีเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่หลากลาย มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

           จุดเด่น

           ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเหมาะสมตามระดับ สามารถสื่อสาร คิด วิเคราะห์ สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างดี มีทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถนำไปพัฒนาเป็นอาชีพได้

           โรงเรียนมีกระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ  เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาค เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา จุดเน้น  และเป้าหมายที่กำหนด เป็นที่ยอมรับของชุมชน

            ครูและบุคลากรมุ่งมั่นในพัฒนาตนเอง ในการจัดการเรียนการสอน มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด

           จุดที่ควรพัฒนา

  ผู้เรียนในทุกระดับชั้นยังต้องเร่งพัฒนาด้านการเขียน การนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และต้องพัฒนาทักษะ           การแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนในระดับชั้น ป.4 - ป.6 ยังต้องได้รับการส่งเสริมในด้านทัศนคติที่ดีต่อความเป็นไทย ไม่หลงใหลกับค่านิยมต่างชาติจนเกิดการลอกเลียนแบบ ทำให้ลืมวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

  นักเรียนชั้น ป.1 - ป. 6 ควรเน้นการจัดกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ                       การเปรียบเทียบความก้าวหน้าและการพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคลอยู่เสมอ

   กระบวนการบริหารจัดการ ควรมีการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของสถานศึกษา อย่างรอบด้าน       ทั้งด้านตัวผู้เรียนโดยการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน ด้านตัวครู ศึกษารูปแบบเทคนิคการจัดเรียนการสอน ที่หลากหลาย เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในและภายนอก เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

              แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

               พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์

ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น มีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พิจารณา                 อย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง

และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

              พัฒนาครูและบุคลากรโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย พัฒนาให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ จัดหาแหล่งเรียนรู้  สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครู เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิด สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  

                สถานศึกษามีการพัฒนาการปรับปรุงคุณภาพด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน รวมถึงการระดมงบประมาณ  เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรภายในโรงเรียน

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.