f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านบางพระ
วันที่   17   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 315
Bookmark and Share


บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

          โรงเรียนบ้านบางพระ ตั้งอยู่เลขที่ 47 หมู่ที่ 10 ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92220 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  ชื่อผู้บริหารโรงเรียนนางศิราณี เกล็ดกฤษ                   เบอร์โทรศัพท์ 075 - 270620  E – mail : banbangpra@gmail.com เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวนครูและบุคลากร 19 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู 12 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน เจ้าหนี้ที่อื่น ๆ 2 คน จำนวนนักเรียน รวม 180  คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา 35 คน                        ระดับประถมศึกษา 108 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 37 คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                                              มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ               มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.3    มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ          มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

 

          กระบวนการพัฒนา

               โรงเรียนบ้านบางพระได้ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก ให้มีความแข็งแรง มีสุขนิสัย  ที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ในการประเมินพัฒนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหาเกณฑ์ภาวการณ์เจริญเติบโต ความสามารถในการใช้      กล้ามเนื้อใหญ่  จัดให้มีโครงการอาหารกลางวัน และอาหารเสริมนม โดยผู้เรียนรับนมกล่องไปดื่มทุกวัน เพื่อเสริมสร้างร่างกาย มีการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก                 ในการหยิบจับอุปกรณ์วัสดุ ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนทดลอง พัฒนาการด้านสุขนิสัยที่ดีของเด็ก ประเมินการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากใช้ห้องน้ำ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเกี่ยวกับสุขอนามัย การอยู่ร่วมกันในโรงเรียนผู้เรียนสวมแมสตลอดเวลา และใช้เจลล้างมืออย่างสม่ำเสมอ โดยมีครูประจำชั้น                            คอยอำนวยความสะดวก พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ โดยการสังเกตการทำกิจกรรมของเด็ก การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม การแสดงอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม กิจกรรม                บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ฝึกทักษะ ให้เด็กมีความอดทน ในการรอคอย มีความมั่นใจการปฏิบัติกิจกรรม ซักถาม                  พูดสนทนา ช่วยเหลือแบ่งปัน และมีความสุขกับสิ่งที่ทดลอง พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ฝึกมารยาทการไหว้ ทักทาย การกล่าวคำขอบคุณ กิจกรรมประชาธิปไตยในห้องเรียน ในการเลือกหัวหน้าห้อง และหน้าที่รับผิดชอบอื่น ๆ ฝึกทักษะความเป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรม การเป็นผู้ตามปฏิบัติตามคำสั่ง รับฟัง                  ความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการแบ่งปันซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือด้านความเป็นอยู่ของเด็ก โดยครูประจำชั้นจะคัดกรองนักเรียนทุนปัจจัยพื้นฐานแก่เด็กทุกคนอย่างเสมอภาค พัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน                และแสวงหาความรู้ได้ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาทางสติปัญญา ชิ้นงานปั้นดินน้ำมัน ใบงานระบายสีภาพ ประดิษฐ์สิ่งของ                      จากวัสดุเหลือใช้ เสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ผลงาน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ใบงานเกมการศึกษา                          คณิตคิดจำนวน ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานเหมาะสมกับวัยของเด็ก ใช้สื่อจับคู่ภาพ เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ลักษณะร่วมกันหรือต่างกัน เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน-หลัง สร้างชิ้นงานศิลปะจากเศษวัสดุเหลือใช้ พัฒนาการสื่อสาร ผ่านกิจกรรมรักการอ่านการอ่านคำพื้นฐานประกอบภาพสำหรับเด็ก การแนะนำตัวเอง สามารถเล่าเรื่องจากการฟังตามความเข้าใจของเด็ก ใช้เกมการศึกษาเรียงลำดับเหตุการณ์ ฝึกให้เด็กเล่าเรื่อง                      จากเหตุการณ์เป็นประโยคต่อเนื่องได้ การจับคู่ภาพให้เด็กบอกลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของภาพ เพื่อให้เด็กสามารถคิดเรียบเรียงคำพูดในการบรรยายขั้นตอน           

              หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน                    หลักสูตรปฐมวัยโรงเรียนบ้านบางพระ มีการปรับหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ยึดตามบริบทของท้องถิ่น คำนึงถึงความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคล และช่วงวัย ในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะ            ที่พึงประสงค์ ยึดมาตรฐานชาติ 12 มาตรฐาน  พัฒนาการ 4 ด้าน โดยกำหนดตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็ก                ให้บรรลุมาตรฐาน เกิดสภาพที่พึงประสงค์ บนพื้นฐานตามวัย ความสามารถตามธรรมชาติของแต่ละช่วงอายุ                    มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์ การจัดทำหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัยร่วมกับผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง วิชาการ ครูประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเชื่อมต่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ก่อนรับรองอนุมัติให้ใช้หลักสูตร การเตรียมความพร้อมของเด็ก ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมสานสัมพันธ์ผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความคิดเห็นในการออกแบบการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมร่วมวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล เพื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และทางโรงเรียนมีการจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน                     อยู่ประจำชั้นเรียน

               โรงเรียนบ้านบางพระเน้นการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญ                ด้านการจัดประสบการณ์ โครงการพัฒนาบุคลากร กิจกรรมส่งเสริมครูเข้ารับการอบรมเฉพาะด้านและทักษะทั่วไป              ตลอดปีการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต้นสังกัด หรือ หน่วยงานของเอกชน ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาส               ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง  เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ผ่านกิจกรรม อาทิเช่น กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุเหลือใช้ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง มีกิจกรรมปรับปรุง                ภูมิทัศน์ เพื่ออำนวยความสะดวก ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ โรงเรียนมีสื่อประจำห้องเรียน โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์                 ของเล่นตามมุม หนังสือนิทาน อุปกรณ์การทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สื่อจากป้ายนิเทศ พัฒนาการเด็กตามสภาพจริง มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เด็ก และผู้ปกครองนำผลการประเมินพัฒนาการไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์ และพัฒนาเด็ก สร้างกลุ่มเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ เพื่อส่งภาพกิจกรรม ชิ้นงานเด็ก โดยครูผู้สอนจะสามารถตรวจสอบ                    และหาจุดเด่น จุดด้อย จุดปรับปรุงของนักเรียน ส่งข้อมูลกลับไปยังผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันหาวิธีการดูแลให้เด็ก                         มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละช่วงอายุ นำมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กต่อไป

 

 

          ผลการพัฒนา 

              เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย มีน้ำหนักเปรียบเทียบกับส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ พัฒนาการด้านกล้าม        เนื้อใหญ่ เด็กกระโดดขาเดียวต่อเนื่องได้ตามระยะ เดินต่อเท้าถอยหลังเป็นเส้นตรงโดยไม่กางแขนวิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้คล่องแคล่ว มีสุขนิสัยที่ดี มีทักษะในการดูแล ป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                          โดยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมืออย่างสม่ำเสมอ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม มีความสนใจ มีความสุข สนุกสนาน กล้าแสดงออก ร่วมสนทนาโต้ตอบกับครู มีความสามารถในการเล่าเรื่องให้ครูฟัง สนุกกับการเคลื่อนไหวร่างกาย มีอารมณ์ร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม มีความตั้งใจ      ในการระบายสีภาพ ปฏิบัติกิจรรมเสร็จภายในเวลาที่กำหนด การรับ - ส่งใบงานตามเวลา ส่งภาพการทำกิจกรรมมายังครูประจำชั้นสม่ำเสมอ

                โรงเรียนมีครูปฐมวัยเพียงพอกับชั้นเรียน มีครูผ่านการอบรมการจัดประสบการณ์ด้านปฐมวัย                       สามารถจัดกิจกรรมเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน มีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำหลักสูตรปมวัย ห้องเรียน มีมุมสำหรับ                 การเรียนรู้ของเด็ก สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาทักษะการอ่าน การจดจำ ผู้สอนมีสื่อสำหรับการเรียนรู้อย่างเพียงพอกับเด็ก มีการซ่อมแซม จัดหาสื่อใหม่เพิ่มอย่างหลากหลาย เน้นวัสดุปลอดภัย นำสื่อโทรทัศน์ สื่อเทคโนโลยี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ค้นหาประสบการณ์ใหม่ วัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โรงเรียน                  มีเครือข่ายผู้ปกครองประจำชั้นเรียนออนไลน์เป็นการเชื่อมข่าวสารระหว่างครูกับเด็กได้ตลอดเวลา รวดเร็ว

              เด็กได้รับการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากครูเป็นรายบุคคล                      ได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ได้รับการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยี                 ที่เหมาะสมกับวัย ห้องเรียนพร้อมใช้ สะอาด อากาศถ่ายเท มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอกับการปฏิบัติกิจกรรม                         ครูมีสื่อเกี่ยวกับเทคโนโลยี มาใช้ช่วยจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ใช้สื่อยูทูป จากโทรทัศน์กระตุ้นความสนใจ               ของเด็กให้มีความกล้าแสดงออก แสดงท่าทางประกอบเพลง มีความมั่นใจในการแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตนเอง                 การอยู่ร่วมกับเพื่อน การมาโรงเรียนอย่างมีความสุข เด็กได้รับสื่อที่ทันสมัย มีจินตนาการในการสร้างผลงานที่แปลก

 

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

       จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย และโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพปฐมวัย กิจกรรมต่าง ๆ                 ในแผนปฏิบัติการ โดยมีการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ใช้ผลการประเมินพัฒนาการของเด็กมาจัดประสบการณ์ใหม่                ประเมินประสบการณ์เดิมเด็กจากการสังเกต สัมภาษณ์เด็ก สัมภาษณ์ผู้ปกครอง การจัดทำใบงาน การจัดประสบการณ์            การเรียนรู้คลอบคลุมพัฒนการทั้ง 4 ด้าน เสริมด้วยการจัดประสบการณ์ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งเป็นโครงการ                     ที่สอดคล้องกับมาตรฐานปฐมวัย เน้นพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญ โรงเรียนมีการจัดหาสื่อที่ทันสมัย เทคโนโลยีประจำห้องเรียน สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพเฉพาะด้านนำมาประยุกต์ใช้ปรับจัดประสบการณ์              ให้กับเด็กจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่เด็กเห็นแล้วอยากเรียน อยากมาโรงเรียน มีบรรยากาศที่สนุก มีความสุข ปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์เพียงพอกับเด็ก เน้นการปฏิบัติกิจกรรม เล่นปนเรียน เรียนรู้ได้ตลอดเวลา เด็กมีความสนุก ผู้ปกครองมีความสุข และมีความไว้วางในการมาโรงเรียนของเด็ก

 

 

          จุดเด่น

               เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัยเหมาะสมกับวัย เคลื่อนไหวด้วยเสียงดนตรี หรือการเล่นกลางแจ้งตามความสนใจในบริบทของครอบครัวตนเอง มีวินัยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองอย่างง่าย สามารถดูแล สุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด         มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์   มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะ อาสาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างมั่นใจ รู้จักการสังเกต เล่นแล้วเก็บกลับที่เดิม แบ่งแยกของเล่น เปรียบเทียบ จำแนก จัดกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกัน เรียงลำดับเหตุการณ์ต่างๆได้ มีความกล้าแสดงออก สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้                     ขีดเขียนตามแบบเล่าเรื่องจากภาพ/ชิ้นงาน เริ่มมีความสนใจในการดูภาพเล่าเรื่องจากนิทาน สร้างชิ้นงานตามความคิดจินตนาการของตนเองได้ ปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นับจำนวนคณิต ปรับมาใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนยึดการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา และคุณลักษณะอันพึงประสงค์บนพื้นฐานความแตกต่างของเด็กแต่ละคน แต่ละวัย และบริบทของชุมชน ครอบครัว ครูได้รับการสนับสนุนเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ และสร้างสื่อที่ทันสมัย    ให้กับเด็กคำนึงถึงความปลอดภัย และเพียงพอพร้อม ทั้งจัดหาปรับปรุงสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาให้บริการเด็ก                   โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อช่วยเป็นสื่อในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ให้มีพัฒนาการทุกด้านตามวัยช่วงอายุของเด็กแต่ละคน สร้างโอกาสให้เด็กได้รับ                ประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จัดการเรียนรู้ปนเล่นใช้สื่อธรรมชาติและสื่อเทคโนโลยีทำให้เด็ก                     มีความสุข สนุกกับการมาโรงเรียน สนุกกับการปฏิบัติการที่หลากหลาย  จากใบงาน จากยูทูป จากการคิด                                  และทำกิจกรรมด้วยตัวเด็กเอง โรงเรียนเน้นการจัดประสบการณ์โดยความร่วมมือของชุมชน ผู้ปกครอง                           ประเมินพัฒนาการจากสภาพความเป็นจริง โดยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่บ้าน จากการสัมภาษณ์ เด็ก ผู้ปกครอง รวมทั้งการเสริมด้วยใบงาน

 

          จุดที่ควรพัฒนา (โดยภาพรวมทั้งสามมาตรฐาน)

                             1.  ด้านความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากชีวิตประจำวันและประสบการณ์ที่ไม่คาดคิด

                             2.  การคิดอย่างอิสระอย่างเหมาะสมกับวัย

                   3.  ความร่วมมือจากผู้ปกครองเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพฤติกรรมของเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน                เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมในระดับที่สูงขึ้น

                             4.  การกระตุ้นให้เด็กสามารถนำความรู้ทางด้านวิชาการมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้เหมาะสมตามวัย

                             5.  ค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ ชักนำวิทยากรท้องถิ่นที่มีความรู้                           ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้มากขึ้นภายใต้สถานการณ์โควิด 

          6.  ผู้ปกครองมีภารกิจมากจนไม่มีเวลาในการดูแลเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรมจึงเกิดความแตกต่างบนประสบการณ์เดิมของเด็กอย่างเห็นได้ชัดทำให้การออกแบบประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น

7.  เด็กขาดความยั่งยืนในประสบการณ์ เนื่องจากเด็กจะท่องจำ หรือรอให้ผู้ปกครองเป็นผู้ทำให้

8.  ในสถานการณ์โควิดเด็กเรียนอยู่กับบ้าน ทำให้การเรียนรู้ไม่เต็มที่ ไม่เต็มศักยภาพของพัฒนาการเด็กแต่ละคน  ใบงานที่ส่งมามีผลงานบางส่วนผู้ปกครองทำให้เพราะกลัวเด็กทำไม่ได้ ทำให้เกิดการทำใบงานซ้ำ ๆ แทรกประสบการณ์ใหม่ได้ช้า

 

 

   2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน                                         มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

     1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ                       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

 

          กระบวนการพัฒนา

               โรงเรียนมีโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้        คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดกิจกรรมการซ่อมเสริมการอ่าน การเขียนภาษาไทย โดยการให้นักเรียนฝึกอ่านออกเสียงจากแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง  มีกิจกรรมคิดเลขเร็วและกิจกรรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดคำนวณ เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครูผู้สอนจัด                 กระบวนการเรียนรู้ เน้นการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เครื่องมือการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ได้แก่ แบบทดสอบ              แบบตรวจใบงาน แบบสอบถาม ตลอดภาคปีการศึกษา โดยปรับกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ On line และแบบ On hand โดยการใช้ใบงานและชุดกิจกรรม 

               โรงเรียนเล็งเห็นความสำคัญในกระบวนการสอนในรูปแบบ Active Leaning โดยแต่ละรายวิชามีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 มีการออกแบบโดยบูรณาการที่ส่งเสริมผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในทุกรายวิชา ผ่านเนื้อหา และ อาทิเช่น การยกสถานการณ์หรือสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ และใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา การอธิบายอย่างมีเหตุผล   ให้ผู้เรียนได้เรียนผ่านกระบวนการทดลอง หรือปฏิบัติจริง มีการส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายแลกเปลี่ยน              ความคิดเห็น ผ่านกิจกรรม Homeroom  กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  และกิจกรรมประชุมสุดสัปดาห์                  โรงเรียนมีลักษณะการจัดกิจกรรม 3 รูปแบบ ตามความเหมาะสมในแต่ละสัปดาห์ เพื่อเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด ได้แก่ การพบปะพูดคุยสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ และสวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิก่อนเดินทางกลับบ้าน          โดยจัดรวมกันทั้งระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นในหอประชุมโรงเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนธรรมมะ หรือนักธรรม สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยพระอาจารย์ จากวัดทุ่งหลวงและกิจกรรมในรูปแบบที่ 3          เป็นการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ โดยแยกเป็นระดับชั้น ครูประจำชั้นจะเลือกจัดกิจกรรมที่พัฒนา ส่งเสริมผู้เรียน            ในด้านต่าง ๆ ตามความเหมาะสม  มีการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการที่ส่งเสริมผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ในแต่ละรายวิชา       โดยมุ่งเน้นในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ซึ่งมีการกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาวิทยาการคำนวณ                     การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นวิธีการคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการ               การมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม

               โรงเรียนบ้านบางพระ เล็งเห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาที่จะส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21      จึงกำหนดพันธกิจของสถานศึกษาด้านการสร้างโอกาสทางการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมีทักษะในศตวรรษ   ที่ 21 ตามมาตรฐานสากล ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ที่ทำให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน มีการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3          ปูพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เน้นด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน โรงเรียนได้มีการจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา      เพื่อปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และเนื้อหาวิชา เป็นคู่มือ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย          การวิเคราะห์ตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน และแผนการจัดการเรียนรู้

              ซึ่งทางโรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนและเป็นไปตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตร                       มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาด    ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 โดยโรงเรียนได้ปรับรูปแบบการสอน เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่      การจัดการเรียนการสอนรูปแบบ On line, On Air, On Hand และ On demand มีการจัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องตลอดทุกปีการศึกษา โดยปรับเปลี่ยนไป                 ตามบริบท และสถานการณ์ ยึดหลักผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด       มีโครงการส่งเสริมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ จัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน         ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่กันไป ในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทางโรงเรียนได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรม

 

           ผลการพัฒนา 

              จากกระบวนการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับ ดี มีผลการประเมินสมรรถนะ               ของผู้เรียน 5 ด้าน ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 3                      จำแนกตามระดับคุณภาพ อยู่ในระดับ ดีเ ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียน และในการเรียนการสอนแต่ละวิชามากขึ้น มีช่องทางการสื่อสารแบบออนไลน์ของแต่ละระดับชั้น และช่วงชั้น ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อสร้างทักษะการแก้ปัญหา ผู้เรียนได้แสดงถึงความคิดเห็น             ของตัวเองในขั้นการเรียนการสอน ผู้เรียนได้ฝึกคิดและวิเคราะห์ด้วยการใช้ทักษะการแก้ปัญหา ผู้เรียนสามารถเรียนรู้           การใช้ทักษะการแก้ปัญหาและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

        ด้านการบริหารและการจัดการ สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม เป็นแนวทางในการบริหาร และการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยได้ประชุม                   ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ผ่านการเห็นชอบ              โดยคณะกรรมการสถานศึกษา มีการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management) ภายใต้วงจรคุณภาพ (PDCA)  กำกับ ดูแลองค์กร และพัฒนากระบวนการบริหารจัดการยึดหลัก                   ธรรมาภิบาล มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีแผนพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษา                                   และดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นเครื่องมือ            ในการบริหารและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา มีการจัดทำรายงานผลโครงการ สรุปข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างต่อเนื่อง สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการ และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการเผยแพร่ผลงานนักเรียนผ่านการจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่เกิดขึ้น มีการวัดผลและประเมินผลที่เป็นระบบ ครูและบุคลากรได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองเข้ารับการอบรม ประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน                หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 20 ชั่วโมง  โรงเรียนจัด และปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน ได้อย่างเหมาะสมห้องเรียนสะอาด น่าอยู่ มีความปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้                        มีห้องปฏิบติการเฉพาะเพียงพอ เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถานศึกษามีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารการจัดการเรียนรู้ จัดให้มีระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตครอบคลุมทุกพื้นที่ มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ช่วยให้การสื่อสารเป็นไป อย่างรวดเร็ว                      และสามารถเผยแพร่ข้อมูลด้านการจัดการเรียนการสอน ผ่าน WEBSITE โรงเรียน

                     ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ครูผู้สอน ร้อยละ 100 สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนา ให้ผู้เรียนฝึกทักษะ กระบวนการคิด ทักษะการคิดวิเคราะห์                              ทักษะการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติจริง สร้าง ผลงานเชิงสร้างสรรค์ ได้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียน มีคุณภาพด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มีคุณลักษณะ             ที่พึงประสงค์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ สถานศึกษาจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้              และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ตามจุดเน้นของสถานศึกษา ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเพิ่มสูงขึ้น ผู้เรียนมีหนังสือและคอมพิวเตอร์ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้เพียงพอ เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้เต็มศักยภาพและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เรียน                นำความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม จากโครงการเสริมคุณธรรมสร้างวินัย นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้                         อย่างมีคุณภาพ โรงเรียนมีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและหลากหลายครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกระดับชั้นสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

 

 

 

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

      1. สนับสนุน และจัดให้มี Best practice นวัตกรรมการสอนของครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้       

                2. โครงการส่งเสริมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ

               3. โครงการพัฒนาการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายสำหรับเด็ก และกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อม พัฒนาแหล่งเรียนรู้ (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)

      4. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

                5. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้เป็นรายกรณี

                6. ปฏิบัติตามแผนกิจกรรมโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม                      และค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียนทุกคนอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  

                7. พัฒนาสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการให้อยู่สภาพพร้อมใช้ง่าย ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน     และปรับปรุงภูมิทัศน์ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย จัดระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการบริหาร การจัดการในสถานศึกษา และการจัดการเรียนรู้ โดยขยายสัญญาณอินเทอร์เน็ต ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 

                8. ปรับปรุง ซ่อมแซม และมีพื้นที่จัดเก็บเครื่องดนตรี อุปกรณ์เครื่องประดับนาฏศิลป์ อุปกรณ์การกีฬา         และอุปกรณ์ที่ใช้ทำการเกษตรให้เป็นระเบียบ พร้อมใช้งาน และมีพื้นที่ หรือห้องสำหรับใช้จัดการเรียนการสอน ฝึกซ้อมก่อนทำกิจกรรม ให้ผู้เรียน รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามความถนัด และความสนใจ 

              9. การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จัดให้ทุกชั้นเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

                10. การจัดทำหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามบริบท จุดเด่นของท้องถิ่น

 

จุดเด่น

      1. โรงเรียนมีผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน 5 ด้านของนักเรียนในด้านความสามารถในการสื่อสาร          อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

      2. โรงเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษา           ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับดีเยี่ยม

                3. โรงเรียนมีโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 2 ดาว ปีการศึกษา 2564

                4. โรงเรียนมีโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ประจำปีการศึกษา 2564

                5. โรงเรียนมีผลการสำรวจการศึกษาต่อของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น ร้อยละ 100

                6. โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธ์กิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี             ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูป การศึกษา ที่มุ่งเน้น                 การพัฒนาให้ผู้เรียน มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้                  ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผล                                 การจัดการศึกษา

 7. ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียน ได้เรียนรู้                         ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้               จากสื่อเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้        

จุดที่ควรพัฒนา

   1. จัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถสร้างนวัตกรรม และมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมเพิ่มเติม

   2. ส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพ                         ตามมาตรฐานสากลต่อไป

             3. พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาตนเอง                และสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

   4. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป

   5. บุคลากรทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญและช่วยกันปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียนทุกคน อย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

   6. ควรปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียนทุกห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ที่พร้อมใช้งาน มีวัสดุ อุปกรณ์ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ มีระบบการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต   ให้มีความเสถียร ครอบคลุมทุกพื้นที่

   7. ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรี นาฎศิลป์ กีฬา               และงานอาชีพ ตอบสนองความสนใจและความต้องการของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ 

   8. ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา        ของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาและการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา ควรมีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มากขึ้น

   9. การจัดทำหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียน ได้เรียนรู้ เช่น หลักสูตร ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากบริบท ของโรงเรียนมีการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยจัดทำหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ เกณฑ์การวัด และประเมินผลอย่างเป็นระบบ

 

 

 

                                                                      ลงชื่อ   ศิราณี  เกล็ดกฤษ

                                                                                (นางศิราณี  เกล็ดกฤษ)

                                                                          ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางพระ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.