f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหาดยาว
วันที่   17   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 412
Bookmark and Share


 

แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล

การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 

ปีการศึกษา 2564  โรงเรียนโรงเรียนบ้านหาดยาว

 

 

คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมิน

 

1.    นายคุณากร  ดำนิล       ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหาดยาว    ประธาน

2.    นางสาวอรดี  หะหวา     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ                กรรมการ

3.    นายเอี้ยน    ดำรัส          ประธานสถานศึกษา                 กรรมการ

4.    นายสมัด    นันตสินธุ์      กรรมการสถานศึกษา                 กรรมการ

5.    นางอภิรดี    หวังโสะ      ครูโรงเรียนบ้านหาดยาว             กรรมการ

 

วันที่ 5 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

 

แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564

 โรงเรียนโรงเรียนบ้านหาดยาว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

……………………………………….

1.ข้อมูลทั่วไป

            ชื่อโรงเรียนบ้านหาดยาว  ที่อยู่ 36 หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต2  โทรศัพท์ 083-4264701  โทรสาร - เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 2  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา (31 มีนาคม 2565)      

บุคลากร

ผู้บริหาร

ครูผู้สอน

พนักงานราชการ

ครูอัตราจ้าง

เจ้าหน้าที่อื่นๆ

31 มีนาคม 2565

1

3

-

1

2

3.  ข้อมูลนักเรียน (10 พ.ย. 2564)                  

ระดับชั้นเรียน

จำนวน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

อนุบาลปีที่ 1

-

-

 

อนุบาลปีที่ 2

4

1

 

อนุบาลปีที่ 3

5

3

 

รวม

9

4

 

ประถมศึกษาปีที่ 1

9

1

 

ประถมศึกษาปีที่ 2

5

3

 

ประถมศึกษาปีที่ 3

8

2

 

ประถมศึกษาปีที่ 4

4

5

 

ประถมศึกษาปีที่ 5

3

3

 

ประถมศึกษาปีที่ 6

2

5

 

รวม

31

19

 

รวมทั้งหมด

40

23

 

หมายเหตุ  ให้โรงเรียนรายงานข้อมูลเฉพาะระดับชั้นที่เปิดสอนทุกระดับในปีการศึกษา 2564

 

 

4. ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา                       

    ตามกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    ประถมศึกษาตรัง เขต 2

    4.1  รูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านหาดยาวได้ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาจัดทำตามรูปแบบ ดังนี้

               1. การวางแผน

2. การดำเนินงาน

3. การตรวจสอบ

4. การปฏิบัติงานวางแผนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          1.) วางแผน (Plan) กำหนดเปาหมายเป็นมาตรฐานของการบริหาร

          2.) ปฏิบัติงาน (Do) นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด

          3.) ตรวจสอบ (Check) ในขณะที่ดำเนินการตรวจสอบ

          4.) ปรับปรุง (Act) นำผลการตรวจสอบวางแผนปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยมีการร่วมมือกัน

               ของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนมีรูปแบบ วิธีการ กระบวนการ ลำดับขั้นตอนการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักเรียนผู้ปกครองร่วมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตาม มาตรฐานที่กำหนด 

 

     4.2  การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 

           4.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

-      โรงเรียนมีการศึกษา  วิเคราะห์ มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพภายใน           สถานศึกษา  ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง  

       เขต  2  รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม 

-      มีการกำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานและตัวบ่งชี้อย่างเหมาะสมโดยได้รับความ

       เห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและมีการประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่

       เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษาได้รับทราบ

     มีการจัดทำคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัยและ

                           การศึกษาขั้นพื้นฐานครบถ้วนทุกมาตรฐานตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

-      ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้น

       พื้นฐาน

-      ประกาศค่าเป้าหมายสำเร็จของมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

-      รายงานการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

-      คู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษา

                 ขั้นพื้นฐาน

    4.2.2  การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  5 

การดำเนินงานของสถานศึกษา

1.โรงเรียนมีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคนิควิธีที่หลากหลาย ได้ข้อมูลครบถ้วนและทันสมัยทั้งจากแหล่งข้อมูล เอกสาร และผู้มีทีเกี่ยวข้อง รวมทั้งประชุมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง เพื่อสังเคราะห์ วิเคราะห์ ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ในการหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค

2.แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง และชุมชน

3.กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

4.กำหนดวิธีดำเนินงาน ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

5.กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

          6.จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา

          7.ดำเนินงานและจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปี

 

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่มีคุณภาพสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

 

          4.2.3  การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

โรงเรียนได้กำหนดผู้รับผิดชอบ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานโครงการ / กิจกรรมต่างๆ จึงได้ดำเนินการตามปฏิทินที่วางไว้หลักจากสิ้นสุดงานก็มีรายงานโครงการ ภาพกิจกรรมต่างๆ

ผลการดำเนินงาน

ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดกิจกรรมในโครงการบรรลุวัตถุประสงค์มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างประหยัด มีคุณภาพและคุ้มค่า

 

          4.2.4  การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการประเมิน ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานต้นสังกัดอย่างน้อย  1 คน  กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างชัดเจนและดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการวางแผนและกำหนดแนวทางการประเมินฯคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีเครื่องมือประเมินฯคุณภาพภายในที่มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับการศึกษา โดยทุกมาตรฐานและทุกตัวบงชี้ดำเนินการประเมินฯคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาโดยใช วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม

 

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนมีเครื่องมือการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่คลอบคลุมมาตรฐานการศึกษาทุกระดับและ การประเมินผลตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน เป็นไปด้วยความยุติธรรม และถูกต้องตามขั้นตอน

 

          4.2.5  ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

โรงเรียนได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนโดยมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการร่วมกับคณะครูได้วางแผน กำหนดภารกิจและปฏิทินการติดตามและมีการประสานงานอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน ดังนี้

1.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงาน

2.กำหนดเครื่องมือติดตามผลการดำเนินงาน

3.สรุปรายงานการติดตามฯ

 

ผลการดำเนินงาน

- คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา

- สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา

- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

           4.2.6  จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา             เป็นประจำทุกปี

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านหาดยาว ได้ดำเนินการประเมินตนเอง ตามลำดับขั้นตอนของงานประกันคุณภาพภายใน โดย จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเอกสารเผยแพร่ต่อ สาธารณะชนและนำส่งรายงานในรูปไฟล์ผ่านระบบ My Office

ผลการดำเนินงาน

มีการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ที่ผ่านการอนุมัติในที่ประชุมต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน มีการเผยแพร่และส่งหน่วยงานต้นสังกัด ตรงตามกำหนดเวลา

         4.3  ผลงานเด่นของสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2563 – 2564

                              ผลงานสถานศึกษา

ได้รับสาส์นตราตั้งการจัดตั้งศูนย์เพื่อการสืบสานหลักปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียง 

จากมูลนิธิครอบครัวพอเพียง

                              ผลงานของนักเรียน

เด็กหญิงคอดีเย๊าะ  สุเหร็น          รางวัลชมเชยประกวดการแข่งขันเรียงความหัวข้อ “ในช่วงโควิค หนูก็แปรงฟันได้”  จากสำนักงานสาธารสุขจังหวัดตรัง



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.