f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR) ระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหนองมวง
วันที่   18   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 278
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ชื่อโรงเรียน บ้านหนองมวง  ที่อยู่ 62  หมู่ที่ 5  ตำบลควนเมา  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง 92160     ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสารภี สมจิตต์ (รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยโรงเรียน) เบอร์โทรศัพท์  095- 405 3019 จำนวนครู 10 คน  จำแนกเป็นข้าราชการครู 5 คน พนักงานราชการ - คน  ครูอัตราจ้าง 3 คน  เจ้าหน้าที่อื่นๆ 2 คน จำนวนนักเรียน  รวม  86 คน  จำแนกเป็นระดับอนุบาล  36  คนระดับประถมศึกษา  50  คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑.     ระดับการศึกษาปฐมวัย

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านหนองมวงมีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย    ที่แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีการควบคุมดูแลให้เด็กมารับนมและดื่มนมเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เดือนละ ๑ ครั้ง จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดส่งวารสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียนเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID 19) อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลควนเมา ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและสังคม  มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ช่วยเหลือตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองและมีมารยาท    ในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด รู้จักช่วยเหลือบุคคลอื่น โดยการใช้กิจกรรมในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวมภายในบ้านในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID 19)

ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญทางชาติกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา วันอาสาฬหบูชา ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส

มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

โรงเรียนได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ มีการจัดกิจกรรมอ่านนิทาน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษาส่งผลให้เด็ก มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองได้ฟังไปเล่าผู้ปกครองครูและเพื่อนฟัง  มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การตัด ฉีก ตัด ปะ ส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก เรียนรู้นอกสถานที่และแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

๑. นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี สามารถดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

๒. นักเรียนมีพัฒนาการด้านสังคมในด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและสังคม  มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย

๓. นักเรียนรู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกที่อยู่อาศัย รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปัน ทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ได้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ ของตน และของส่วนรวม

๔. นักเรียนรู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู

๕. นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส

๖. นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

๗. นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน สามารถอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองได้ฟังไปเล่าผู้ปกครอง ครูและเพื่อนได้ 

๘. นักเรียนสามารถเสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย

๙. นักเรียนสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

จุดเด่น

เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและอุบัติภัย         มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการด้านสติปัญญาดี รู้จักคิด ช่างสังเกต เรียนรู้ได้เหมาะสมตามวัย

 

จุดที่ควรพัฒนา

โรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการพัฒนาปลูกฝังเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำและเน้นย้ำการสอนเรื่องการป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคโควิด                 ( covid19 )

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย

-          กิจกรรมจัดมุมประสบการณ์                       -   กิจกรรมดูแลสุขอนามัย

-          กิจกรรมรักษาความสะอาด                        -   กิจกรรมสมาธิดีรักการอ่าน

-          กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง          -   กิจกรรมมารยาทไทยไหว้สวยยิ้มสวย    

 

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

      การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านหนองมวงได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน  มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น  พิจารณาจากวัยของเด็ก  ประสบการณ์ของเด็ก โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคม  และสติปัญญา  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในการเรียนรู้  มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  สำหรับด้านระบบกลไก  การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้  และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย  โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา  โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

โรงเรียนบ้านหนองมวง ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์  และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์และจิตใจ  สังคม และสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ จัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พอเพียงกับเด็ก  โดยจัดให้เหมาะสม  สะอาด  ปลอดภัย  ให้มีมุมหนังสือและมุมสื่อที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก  ให้เพียงพอและเหมาะสมกับวัย  จัดให้มีเครื่องเล่นสนาม เล่นทราย  ที่เหมาะสมปลอดภัย  จัดให้มีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน  ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกาย  ห้องน้าห้องส้วม  พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็กทำให้เด็กอยู่อย่างปลอดภัยเป็นที่ไว้ใจของผู้ปกครอง มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม  เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน  และท้องถิ่นจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย   และมีครูที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย  ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถใน    การวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และ        การปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน  ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม  มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน  มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มี    การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

๑. นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์จิตใจ สังคม  และสติปัญญา  เกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

๒. ครูมีศักยภาพด้านระบบกลไก  ตระหนักรับรู้เข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย 

๓. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอกับเด็ก

๔. โรงเรียนมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว  ชุมชน  และท้องถิ่น

๕. ครูได้รับการพัฒนาโดยผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ 

๖. ครูมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

๗. นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้

จุดเด่น

โรงเรียนบ้านหนองมวงมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและชุมชน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการจัดประสบการณ์มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก จัดหาและผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้บริหารกำกับนิเทศติดตามการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย

 

 

จุดที่ควรพัฒนา

ส่งเสริมและพัฒนาครูปฐมวัยในการนำวิธีการใหม่ๆ มาจัดกิจกรรม ให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภายนอก

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

      1)  โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย

      2)  โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา  มีความรู้  คุณธรรม  จริยธรรม  และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการ         จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข  ภายใต้คำว่า  เก่ง  ดี   มีสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง         เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนทำให้มีการใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึก ได้อย่างเหมาะสม  รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม  เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ด้านสติปัญญา   มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย       จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม  เพื่อก่อให้เกิด   ความมีน้ำใจ  ความสามัคคี  การแบ่งปัน  และการรอคอย  เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจ        ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นผู้เรียน และปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน

          ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ดีมีความดึงดูดความสนใจของผู้เรียน มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้            มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส  และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน   ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ  และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก          โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม  เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา      ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผน                   การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา  ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

๑. นักเรียนมีพัฒนาการในทุกๆ ด้านที่ดี  ทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา  มีความรู้  คุณธรรม  จริยธรรม  และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข      ภายใต้คำว่า  เก่ง  ดี   มีสุข

๒. นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย   อารมณ์จิตใจ   สังคม และสติปัญญา

๓. นักเรียนมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างเหมาะสม  รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบด้านสังคม  

๔. นักเรียนสามารถช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้

๕. ด้านสติปัญญา นักเรียนมีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย    

๖. ห้องเรียนมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน   ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย

จุดเด่น

          เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล เด็กได้เรียนรู้โดยจัดประสบการณ์การที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม  มีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย บรรยากาศและสภาพห้องเรียน            เอื้อต่อการเรียนรู้  มีการประเมินพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการหลากหลายและสม่ำเสมอมีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับครูผู้สอนในการจัดกระวนการเสริมประสบการณ์เด็ก

จุดที่ควรพัฒนา

การจัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยผ่านการจัดกิจกรรมกิจกรรมค่ายวิชาการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นระดับปฐมวัย

 

 

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1)  โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย

2)  โครงการชีวิตดีด้วยวิถีพุทธ

3)  โครงการสานสัมพันธ์สู่ชุมชน

สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

  

๒.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียนผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านหนองมวงส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยการดำเนินการ/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียน     การสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไป   เพื่อคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม    ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ดังนั้น โรงเรียนบ้านหนองมวงจึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์    ทางการเรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้นักเรียน             มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน            ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างวิจารณญาณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ    การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์       ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

๑. นักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย

๒. นักเรียนอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข

๓. นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างวิจารณญาณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

๔. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

 

จุดเด่น

สถานศึกษามีโครงการ กิจกรรม อย่างหลากหลายในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น มีความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โดยเฉพาะทักษะชีวิต มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน การประกอบอาชีพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

จุดที่ควรพัฒนา

          โรงเรียนควรจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการเรียนรู้ทุกระดับและปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น (ระบุแผนงานโครงการ/กิจกรรม)

1)      พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดทุกระดับชั้น

2)      พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

3)      พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

4)      พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

5)      พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย

6)      พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย                      

 

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

       เพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ในโรงเรียนบ้านหนองมวง การดำเนินการคิดวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน ในการดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านหนองมวง        ทำให้นักเรียนมีคุณภาพตามความมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในโรงเรียน     มีทักษะทางวิชาชีพ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

๑. ครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

๒. การบริหารจัดการและการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านหนองมวง ทำให้นักเรียนมีคุณภาพตามความมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต

๓. นักเรียนมีทักษะทางวิชาชีพ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

จุดเด่น

โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ นโยบายรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด        ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษา     และส่งเสริมสนับสนุนครูบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพครู เพื่อมาใช้ในการพัฒนางานและ         การเรียนรู้ของผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

 สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง       มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียน ควรจัด         ให้มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

      1)  มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

      2)  จัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

      3)  จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

      ๔)  มีโครงการนิเทศการศึกษาพัฒนาการเรียนการสอน

      5)  จัดทำโครงการประกันคุณภาพภายใน

        

 

         มาตรฐานที่ ๓ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านหนองมวงส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินกิจกรรมอย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active Learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา      ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ     และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก นักเรียนรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูผลิต แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะ     อันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดและครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดการเรียนการสอน

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

๑. มีจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินกิจกรรมอย่างหลากหลาย

๒. นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง

๓. ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

๔. นักเรียนรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

๕. นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมและได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง

จุดเด่น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในพัฒนาการเรียนการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

 

 

 

แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

   โรงเรียนบ้านหนองมวงได้จัดโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับให้สูงขึ้นดังนี้

1)  โครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและส่งเสริมความสามารถพิเศษ

2)  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และเพิ่มค่า NT , O-NET

3)  โครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ

4)  โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน

5)  โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

6)  โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

7)  โครงการผลิตพัฒนาสื่อและส่งเสริมนวัตกรรมทางการศึกษา

๘)  โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

 

 

 

 

    

 

 

            (นางสารภี  สมจิตต์)

                                                          รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองมวง

 

 

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.