f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR)ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านช่องหาร
วันที่   27   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 365
Bookmark and Share


 

บทสรุปผู้บริหาร

ชื่อโรงเรียน                   บ้านช่องหาร   

ที่อยู่                           เลขที่ ๒๐๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ

                          จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๒๒๒๐

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน    นางนุชนาฎ ภักดีชน  เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๗-๖๒๗๗๗๕๐

จำนวนครู                   ๙ คน  จำแนกเป็น ข้าราชการ ๔ คน พนักงานราชการ ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๓ คน

         เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ ตน

จำนวนนักเรียน         รวม ๑๐๖ คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล ๒๕ คน ระดับประถมศึกษา ๘๑ คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาของเด็กทุกด้าน

- พัฒนาการด้านร่างกาย ได้มีการดำเนินการโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนได้มีการพัฒนาการ เช่นการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพถูกสุขลักษณะ ดื่มนมทุกวัน จัดให้มีการชั่งน้ำหนัก-    วัดส่วนสูง ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมผ่านกิจกรรมประจำวัน ๖ กิจกรรมหลัก

- พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ โรงเรียนจัดกิจกรรมประจำวัน ๖ กิจกรรมหลัก โดยให้เด็กมีโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ครูสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก สนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถตามความถนัดและความสนใจ

- พัฒนาการด้านสังคม จัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ประจำวันที่เน้น    การปฏิบัติจริง การช่วยเหลือตนเอง การเรียนรู้ การปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญและประเพณีท้องถิ่น

- พัฒนาการด้านสติปัญญา โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาการด้านสติปัญญาตามแผนจัดประสบการณ์ประจำวัน โดยมุ่งเน้นกิจกรรมให้เด็กฝึกทักษะการคิดหาเหตุผลจากสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้

 

ผลการพัฒนา

นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีสุขนิสัยที่ดี ดูแลความปลอดภัยได้ สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถช่วยเหลือตนเอง มีมารยาท มีทักษะการคิดพื้นฐาน และสามารถโต้ตอบ เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้

          จุดเด่น

          เด็กมีน้ำหนัก - ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข มีร่างกายสมส่วน เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการด้านอารมณ์ - จิตใจดี เรียนรู้อย่างมีความสุข สุขภาพจิตดี             มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข ด้านสังคม มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย มีทักษะทางด้านภาษา สามารถพูดคุย โต้ตอบสื่อสารได้   

          จุดที่ควรพัฒนา

เด็กบางคนยังต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาวะส่วนตัวที่ดี เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักดูแลอนามัยของตนเองได้ดีขึ้น เช่น ความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นต้น ด้านวินัย เช่น การเก็บของเข้าที่ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย พัฒนาให้เด็กมีความซื่อสัตย์ ต่อตนเองและผู้อื่น พัฒนาทักษะด้านกระบวนการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการคิดหาเหตุผล

 

๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กำหนดหน่วยการเรียนรู้ เพื่อนำมาจัดประสบการณ์กิจกรรมประจำวัน จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาการเด็ก จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยี และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ผลการพัฒนา

โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน มีครูเพียงพอกับชั้นเรียน ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จุดเด่น

          โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ๒๕๖๑ ที่มีครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วม เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา   

          จุดที่ควรพัฒนา

          สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัย เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย

 

 

๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยเน้นพัฒนาการในทุกๆด้าน โดยผ่านการจัดกิจกรรมพัฒนาประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์ประจำวัน เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ผลการพัฒนา

โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน จัดโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมสนับสนุนและประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ นำผลมาปรับปรุงพัฒนาเด็ก ผลการดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมาย

          จุดเด่น

          โรงเรียนมีครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิ/ความรู้และประสบการณ์ด้านการดูแลเด็กปฐมวัย มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เข้าใจในพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ห้องเรียนมีพื้นที่เพียงพอในการจัดกิจกรรม มีบรรยากาศเอื้อต่อ   การเรียนรู้ เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข

          จุดที่ควรพัฒนา

         ครูควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามาจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็กอย่างหลากหลาย

         แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

                   ๑. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

                   ๒. โครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย

                   ๓. โครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                   ๔. โครงการกิจกรรมวันสำคัญ

                   ๕. โครงการพัฒนาบุคลากร

                   ๖. โครงการสัมพันธ์ชุมชน

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้ ทุกระดับชั้น มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพ

นอกจากนี้โรงเรียนได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม มีการอบรมคุณธรรม ร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนา ตลอดปีการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะตามคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ผลการพัฒนา

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อฝึกทักษะให้ผู้เรียนสามารถอ่านออก และเขียนได้ตามระดับชั้น รู้จักวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย สามารถแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ แยกแยะได้ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อ และสังคมที่เปลี่ยนแปลง มีผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานในระดับ ดีเลิศ

1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

 

ที่

ประเด็นย่อย

ระดับคุณภาพ

1.

มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

ดีเลิศ

2.

มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

ยอดเยี่ยม

3.

มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ดีเลิศ

4.

มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ยอดเยี่ยม

5.

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ดีเลิศ

6.

มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

ดีเลิศ

 

สรุป

ดีเลิศ

) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ที่

ประเด็นย่อย

ระดับคุณภาพ

1.

การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

ยอดเยี่ยม

2.

ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

ยอดเยี่ยม

3.

การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ดีเลิศ

4.

สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

ดีเลิศ

 

สรุป

ยอดเยี่ยม

 

          จุดเด่น

โรงเรียนบ้านช่องหารมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ 

          จุดที่ควรพัฒนา

- ผู้เรียนในระดับขั้น ป.๑ - ป.๖ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการสรุปความคิด การใช้ภาษาในการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสม

- การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการยกผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง และจริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป

 

๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

                 มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีการจัดระบบการบริหารจัดการ มีการกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ     กลยุทธิ์ ดำเนินงานงานพัฒนางานวิชาการที่เน้นผู้เรียนรอบด้านทุกกลุ่มเป้าหมายจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมและสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

ผลการพัฒนา

จากการดำเนินโครงการ/กิจกรรม การใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่ มีผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานในระดับ ดีเลิศ

ที่

ประเด็นพิจารณา

ระดับคุณภาพ

1.

การมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนด

ยอดเยี่ยม

2.

มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

3.

ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

ดี

4.

พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

ยอดเยี่ยม

๕.

สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ดี

๖.

จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

ยอดเยี่ยม

 

สรุป

ดีเลิศ

 

          จุดเด่น

          โรงเรียนมีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการ ประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุม กลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ซัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้น    การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัด        การเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา  

          จุดที่ควรพัฒนา

๑. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

๒. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการศึกษา 

๓. โรงเรียนควรจัดให้มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ มีการนิเทศ ติดตาม ที่ชัดเจน

 

 

 

 

 

 

 

๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีการวางแผนในการพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม มีโครงการพัฒนาระบบนิเทศภายใน กิจกรรมการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนนิเทศกันเองสร้างความตระหนักเพื่อให้ครูนำหลักสูตรแกนกลางมาใช้สู่ห้องเรียน มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำผลการวิจัยมาแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนของผู้เรียน

ผลการพัฒนา

จากการวางแผนโดยจัดทำโครงการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการต่างๆ ของนักเรียนบรรลุตามมาตรฐานการศึกษามีผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับ ดีเลิศ

ที่

ประเด็นพิจารณา

ระดับคุณภาพ

1.

จัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

ยอดเยี่ยม

2.

ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ดี

3.

มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

ยอดเยี่ยม

4.

ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

ยอดเยี่ยม

๕.

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

ดีเลิศ

 

สรุป

ดีเลิศ

 

          จุดเด่น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยการคิดได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          จุดที่ควรพัฒนา

ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง      

         แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

                   ๒. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

                   ๓. การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผล การนำไปใช้ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.