f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
วันที่   30   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 233
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

         1.  ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดไตรสามัคคี  ที่ตั้งเลขที่ 200 หมู่ที่ 5  ถนนเพชรเกษม  (ตรัง-กระบี่)  ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  บริหารงานโดย  นายภูวดล  เม่งช่วย  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี และนางสาวจินดาวัลย์ นวลใย รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี โทรศัพท์/โทรสาร 075-290248  Email : wattraisamakkee200@gmail.com  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา  เขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4, 9 ตำบลนาวง  หมู่ที่ 4 ตำบลบางดี  และหมู่ที่ 5 ตำบลวังคีรี                                  

2.  ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

               มาตรฐานที่  1  คุณภาพของเด็ก   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม               

               มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม   

               มาตรฐานที่  3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

สรุปผลภาพรวมของสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม     

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดไตรสามัคคี มุ่งพัฒนาคุณภาพเด็ก โดยเน้นให้เด็กมีพัฒนาการเรียนรู้ในหลายๆ ด้าน หลากหลายวิธีเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมในห้องเรียน และกิจกรรมนอกห้องเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพอนามัย และสุขนิสัยที่ดี ในการรักษาความสะอาดร่างกาย โดยมีการแนะนำวิธีการรักษาความสะอาดของร่างกายที่ถูกต้อง มีการตรวจสุขภาพ ตรวจเล็บ ผม สุขภาพในช่องปาก การแต่งกาย การสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด การแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการบันทึกการเจริญเติบโตของเด็ก และประเมินพัฒนาการอย่างรอบด้าน มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน โรคติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีสารประชาสัมพันธ์ ข่าวสารถึงผู้ปกครองเรื่องการดูแลตนเองของเด็ก และได้รับความร่วมมือจากเทศบาลตำบลนาวงในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก มีกระบวนการพัฒนาเด็กโดยการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสำคัญต่างๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝัง ให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างจินตนาการทางด้านศิลปะ ดนตรี การวาดภาพ ระบายสี เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของโครงการเตรียมความพร้อมต้นกล้าพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข มีมารยาทตามวัฒนธรรมความเป็นไทย และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้จัดให้เด็กรับประทานอาหารกลางวันด้วยตนเอง ส่งเสริมการมีมารยาท ในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาดทั้งภายในและนอกห้องเรียน รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อน ในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ  โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ของตน และของส่วนรวมได้ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง  การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงาน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว  กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ ได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะตัวอักษร เพื่อสอนให้เด็กจดจำรูปร่างของตัวอักษรและเสียงของตัวอักษร ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางภาษา  มีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้เด็กอ่านนิทานและเล่านิทานที่ตนเองอ่านให้ครูและเพื่อนฟัง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ มีการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะโดยการวาดภาพระบายสี การฉีก ตัด ปะ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ นอกห้องเรียนให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ได้เรียนรู้นอกสถานที่ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

ผลการพัฒนา

                นักเรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีสุขนิสัยที่ดี มีนิสัยรักความสะอาด และดูแลรักษาความสะอาดได้ด้วยตนเอง มีความตระหนักถึงความปลอดภัย รู้จักการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และโรคต่างๆ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ มีวินัย รับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู  มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน สามารถเล่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเองได้ มีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาดทั้งภายในและนอกห้องเรียน รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อน ในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รู้จักเก็บของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ของตน และของส่วนรวม เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีทักษะทางภาษาที่ดี ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย สนทนาโต้ตอบ แนะนำตนเองกับผู้อื่นได้

มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดไตรสามัคคี มีวิธีการ แนวทาง และแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษานำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างมีระบบและกลไก ให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้ตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้จัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย การมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น รวมทั้งมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน โดยดำเนินการจัดทำหลักสูตรตามขั้นตอน การเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ประชุมวิชาการระดับปฐมวัย  มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล เพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กและบริบทของท้องถิ่น ซึ่งคุณครูผู้รับผิดชอบระดับชั้นปฐมวัยได้ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่มีความสอดคล้อง/สัมพันธ์กับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา กลุ่มงานบริหารบุคคลมีการดูแลอัตรากำลังครูให้มีสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนนักเรียน มีการกำหนดภาระงานครูอย่างชัดเจน ได้ส่งเสริมให้ครู มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ โดยใช้ โครงการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอน พัฒนา และประเมินหลักสูตร ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ ร่วมมือกับชุมชน และส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูอย่างต่อเนื่อง โดยให้ครูอบรมในเรื่องต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาและจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด รวมทั้งจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้มีแสงสว่างเพียงพอ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียน  เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเรียนในรูปแบบ On Hand และ On Demand มีการจัดทำป้ายนิเทศตามหน่วยการเรียนวันสำคัญต่างๆ มีการส่งเสริมเละสนับสนุนการผลิตสื่อการสอนการจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เด็กเข้าใจถึงหน่วยการจัดประสบการณ์มากยิ่งขึ้น มีการตรวจสอบ ปรับปรุงซ่อมสื่อการสอนให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็ก ได้จัดสื่อ เทคโนโลยีที่พร้อมกับการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย โดยได้ทำการติดตั้งโทรทัศน์ แบบ Smart TV เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กับทุกห้องเรียน ครูผู้สอนสามารถสืบค้นข้อมูล สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็ก เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียน เกิดความสนุกสนานและเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่ครูสอน  มีการส่งเสริมบทบาทครูและบุคลากรในระดับปฐมวัย ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และทิศทางการพัฒนาของสถานศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ครูร่วมกำหนดโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทักษะด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก ร่วมหาแนวทางในพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานทั้งในลักษณะรายบุคคล และรายกลุ่ม การส่งเสริมบทบาทครูในการประกันคุณภาพภายใน โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ การจัดเก็บร่องรอยการดำเนินงานอย่างชัดเจน ใช้ระบบบริหารจัดการคุณภาพการจัดการเรียนการสอน  เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ผลการพัฒนา

โรงเรียนวัดไตรสามัคคี จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีการวางแผน ดำเนินงาน ตรวจสอบ และปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดโครงการ กิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา และดำเนินการตามโครงการ กิจกรรมที่กำหนดไว้โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงาน รวมทั้งนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงการจัดโครงการ กิจกรรมอย่างต่อเนื่องครูเข้าใจธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก สัดส่วนครูที่เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน ครูผู้สอนในระดับปฐมวัย จบการศึกษาสาขาปฐมวัย และมีใบประกอบวิชาชีพครูทุกคน  ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการตรวจสอบสภาพของห้องเรียน สิ่งของเครื่องใช้ของเด็ก เช่น ความปลอดภัยของสนามเด็กเล่น สภาพห้องน้ำ ส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันตนจากโรคการเจ็บป่วยพื้นฐาน จัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยของเด็ก ส่งผลให้มีสื่อที่ใช้งานได้จริง เพียงพอ ปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยของเด็ก มีการจัดมุมประสบการณ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กได้ครบถ้วน มีมุมต่างๆ ได้แก่ มุมหนังสือนิทาน มุมบทบาทสมมติ  มุมสร้างสรรค์ มุมบล็อก มุมเกมการศึกษา เป็นต้น รวมทั้งมีการสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก และจัดให้มีโทรทัศน์ แบบ Smart TV ทุกห้องเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน โรงเรียนและครูจัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามพันธกิจของโรงเรียน โครงการประชุมผู้ปกครอง และการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ตรงตามสภาพจริง โดยนำข้อมูลการประเมินจากเพื่อนครูมาประกอบการพิจารณา ระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษามีความเหมาะสม และต่อเนื่อง มีการนิเทศระหว่างการปฏิบัติงานส่งต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาบูรณาการการปฏิบัติงาน และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจนเป็นแบบอย่างที่ดี และได้รับการยอมรับจากชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย 

มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ                             

กระบวนการพัฒนา

            การวิเคราะห์ข้อมูลเด็กรายบุคคล เพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็ก   ได้กำหนดพันธกิจที่ส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการ ความรู้ ความสามารถ เต็มศักยภาพ  ตามหลักสูตรกำหนด โดยครูดำเนินการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน จัดกิจกรรมให้ครูพัฒนา ความรู้ของตนเกี่ยวกับการจัดการ เรียนการสอนโดยจัดการอบรม และแนะนำแหล่งข้อมูล ครูวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็ก สอดคล้องกับมาตรฐานอันพึงประสงค์ของเด็กที่ต้องการส่งเสริม  การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น โดยที่การเล่นดังกล่าวต้องไม่ใช่การเล่นโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย และไม่ใช่การเน้นเนื้อหาของระดับประถมศึกษาให้แก่เด็ก แต่เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ครูจะต้องเข้าใจการเรียนรู้ที่เด็กสร้างเสริมประสบการณ์และธรรมชาติการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ตามหลักการสำคัญในการจัดปรสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก               การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ มีการส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ  ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทําแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคมได้ส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ              โดยครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการ เด็กด้านสติปัญญา ได้ส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ โดยใช้กิจกรรมพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทํากิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่นเรียนรู้ ลงมือ กระทํา และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ครูจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สําหรับมุมประสบการณ์ โดยเด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ป้ายนิเทศหน่วยประสบการณ์ เป็นต้น ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็กมีกิจกรรมการผลิตสื่อการสอน การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัยได้ประเมินพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กในระดับปฐมวัย เป็นภารกิจสำคัญที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ การประเมินเด็กรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี เพื่อให้ได้ผลการประเมิน ที่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งครูมีรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เด็กและผู้ปกครองนำผลการประเมินพัฒนาการไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก การวิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และนําผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็ก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ

ผลการพัฒนา 

          ผลการดำเนินงานการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กรายบุคคลเพื่อจัดประสบการณ์ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็ก จัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข ประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการ ร่างกายทุกส่วน ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านอารมณ์ จิตใจ  เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย  กล้าแสดงออก  ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ   ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ด้านสติปัญญา มีความคิดรวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความ        มีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในห้องเรียน        ที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน  ห้องเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อแผ่ต่อกันและ กัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้เด็กรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์กับเด็กที่เหมาะสม มีการจัดเตรียมสื่อการสอน      ที่หลากหลาย และตกแต่งห้องเรียนด้วยสื่อต่างๆ ติดตามห้องเรียนและมีมุมประสบการณ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กได้ครบถ้วน สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติย่างมีความสุข ผลการดำเนินงานการประเมินพัฒนาการของเด็กตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ผลการดำเนินงานการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เด็ก และผู้ปกครองผลการประเมินพัฒนาการไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครู มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหน

จุดเด่น

เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกาย การแสดงออกทางอารมณ์ การช่วยเหลือตนเองและรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากขึ้นมีทักษะการคิดและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝ่ายบริหารมีการจัดบุคลากรให้ตรงตามวิชาเอก มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดไว้อย่างชัดเจน สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพการดำเนินงานพัฒนาวิชาการเน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย   ครูผู้สอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเรียนปนเล่น (Play & Learn) เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กครูผู้สอนเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในทุกกิจกรรมครูเปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความต้องการและความสนใจของตนเอง การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก และมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ Active Learning

จุดที่ควรพัฒนา

เด็กขาดความกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรม บางส่วนยังขาดระเบียบวินัยในตนเอง ครูและบุคลากรบางส่วนยังขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ เนื่องจากเพิ่งแต่งตั้งเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครู  ระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษายังขาดความคล่องตัว ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ยังขาดการเชื่อมโยง การผลิต จัดหาสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

          ครูควรมีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลก่อนจัดประสบการณ์เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของเด็กสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลให้เด็กได้  มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมจัดการเรียนการสอนโดยความสนใจของเด็ก และให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้จริงให้เด็กได้เรียนจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของตนเองและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนมากขึ้น  ควรจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา  มีการประเมินพัฒนาการให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ  ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนให้มากขึ้น ปลูกฝังระเบียบวินัยให้เกิดกับเด็ก ควรศึกษาเทคนิคการสอนหลายๆรูปแบบ เพื่อนำมาจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและเด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพมากยิ่งขึ้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานร่วมกัน และจัดโครงการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้มากยิ่งขึ้นรวมทั้งครู ได้เรียนรู้งานที่หลากหลาย ยกระดับระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นให้หัวหน้างานมีอำนาจในการวางแผนและตัดสินใจในการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ให้อย่างรวดเร็วทันกับสถานการณ์

 3. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่  1  คุณภาพของนักเรียน   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม           

          มาตรฐานที่ 3  กระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม                           

สรุปผลภาพรวมของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

                                                       

มาตรฐานที่  1  คุณภาพของนักเรียน  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดไตรสามัคคี มีโครงการและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านและชัดเจน มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการสื่อสาร  ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์  คิดคำนวณ  คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถแสวงหาความรู้ประกอบการตัดสินใจและใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้   ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม มีการนำไปใช้และเผยแพร่ และส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์  มีคุณธรรม มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการอ่าน การเขียนและการสื่อสาร  ผ่านโครงการพัฒนาการอ่าน เขียน      การสื่อสาร ภาษาไทย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดคำนวณ ฝึกนักเรียนคิด นักเรียนทำ และนำเสนอผ่านการฝึกฝนตลอดทั้งปีการศึกษา  มีการคำนวณต้นทุน กำไร ในบทบาทผู้ประกอบการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้ฝึกฝนทักษะการคิดคำนวณอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษของผู้เรียน        ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความ ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตร จัดกิจกรรมแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามความถนัดและสนใจของนักเรียน และกิจกรรมชุมนุม ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาจากการลงมือทำจนสร้างผลิตภัณฑ์สามารถใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ        แก้ปัญหาด้านสุขภาพ ส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมให้กับนักเรียนมาอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มุ่งจัดกิจกรรมให้นักเรียนนำองค์ความรู้ไปใช้สร้างสรรค์ชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ใช้เป็นผลงานเพื่อวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้อย่างน้อยคนละ 1 ผลงานต่อปี และสามารถนำไปใช้วัดและประเมินผลได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจและถนัดในทักษะและความสามารถทางวิชาการได้เข้ารับการทดสอบ ฝึกฝน ส่งเข้าร่วมประกวดหรือแข่งขันในระดับต่างๆ กิจกรรมชุมนุมที่สนับสนุนส่งเสริมงานประดิษฐ์คิดค้นอย่างสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนจากวัสดุเหลือใช้ โดยมีครูที่มีความรู้ความสามารถคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีคุณธรรม ผ่านโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรมเพื่อเพื่อจัดหา จัดซื้อ สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน เป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมปลอดภัยในโรงเรียนแยกจัดกิจกรรมวิทย์คำนวณให้นักเรียน โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบที่หลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย มีโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม ทำให้มีหลักสูตรที่ทันสมัย ทันการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน  และชัดเจนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดไตรสามัคคี  พ.ศ. 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พ.ศ.2560) มีระบบบริหารงานวิชาการที่เข้มแข็ง  มีการกระจายงานเป็นงานย่อย 59 งาน โรงเรียนจึงสามารถติดตามการใช้ประเมินและพัฒนาหลักสูตรให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีที่ผ่านมา เพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกันทั้งรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ รายชั้นเรียน และผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน กำหนดเป้าหมายผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้อย่างชัดเจน มีโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น กิจกรรมเตรียมความพร้อมการประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) กิจกรรมเพิ่มความรู้สู่การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT : National Test) กิจกรรมสอนเสริมเพิ่มความรู้ O-NET เพื่อส่งเสริมความสามารถและทักษะทางวิชาการของนักเรียนและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ ดนตรี ศิลปะ นาฏศิลป์ หัตถกรรมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยกำหนดกรอบและเป้าหมายที่ส่งเสริมให้สอดคล้องกับกิจกรรมประกวด นักเรียนสามารถสมัครเข้ากลุ่มตามความถนัดและความสนใจ มีครูที่มีประสบการณ์ในการฝึกฝนนักเรียนเข้าร่วมมาแล้วทุกระดับ  ใช้เวลาเรียนรู้และฝึกฝนในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลา และใช้เวลาว่างระหว่างวัน และนอกเวลาราชการ  จัดโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ มีทักษะพื้นฐานในการทำงาน นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมชุมนุม เพื่อส่งเสริมการมีงานทำ และทำงานเป็น โดยนักเรียนคิด ทำ นำเสนอผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง ได้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านส่งเสริมอาชีพ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพที่สุจริตและมีคุณธรรมในการประกอบอาชีพ มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ลงมือปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมชุมนุมเพื่อส่งเสริมอาชีพ แต่ละชุมนุมศึกษาฝึกฝนทำผลิตภัณฑ์ 1 ผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ใช้สอยในโรงเรียน และจำหน่ายแก่ชุมชน มีตลาดนัดตอนปลายปีเพื่อนำเสนอผลงานและให้บุคคลภายนอกมาอุดหนุนผลิตภัณฑ์ โรงเรียนฝึกฝนสร้างประสบการณ์ประกอบอาชีพให้กับนักเรียนโดยรับผลผลิตในครอบครัวมาจำหน่ายที่สหกรณ์โรงเรียน  ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกอาชีพ ในห้องมีการแนะแนวเพื่อการประกอบอาชีพ และมีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพสุจริต ผ่านโครงการเปิดประตูสู่โลกว้าง กิจกรรมแนะแนวนักเรียน จัดโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนที่ส่งเสริมคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี  มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย  มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมความสามารถในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย และส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม โดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการและค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพ ด้านการเรียนรู้ตามหลักสูตรสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) มีโครงการและกิจกรรมมากมาย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาคุณลักษณะ และค่านิยมที่ดี มีการออกแบบแผนจัดการเรียนรู้  เพื่อบรรลุเป้าหมาย มีการวัดผลและประเมินผล นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ทั้งนี้โรงเรียนได้เพิ่มเติมวิชาศีลธรรม โดยมีพระวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน มีโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการคัดกรอง พัฒนา และส่งต่อจัดหาทุนการศึกษา เยี่ยมบ้าน ช่วยเหลือนักเรียนสภาพครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง บิดา มารดาเสียชีวิต ครอบครัวฐานะยากจน สภานักเรียน และแนะแนวศึกษาต่อ กิจกรรมโรงเรียนสุจริตเครือข่าย  และมีระบบงานปกครอง ที่ดี เพื่อคอยดูแลควบคุมนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคู่มือนักเรียนสำหรับการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ปฏิบัติได้จริง ตรวจสอบได้ มุ่งเน้นพัฒนาคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีให้กับนักเรียน ซึ่งได้มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา  จนมีหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พ.ศ.2563 นักเรียนได้รับการพัฒนาตามหลักสูตร และร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนในเทศกาล และวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมอบรมสุดสัปดาห์ จัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีไทย ได้แก่ โครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง โดยให้นักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมไทยภายนอกโรงเรียน ร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณีในวันสำคัญต่างๆร่วมกับ ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นเหรียญโปรยทานบูรณาการศาสตร์พระราชา มีกระบวนการพัฒนาให้ ผู้เรียนมีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย และส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนมีระบบงานบริหารกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยมีกรอบงานตามคู่มือบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียน กิจกรรมอบรมสถานศึกษาปลอดภัย Safety first กิจกรรมวัดไตรสามัคคี “วิถีใหม่” (New normal)  โครงการอาหารกลางวันเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันครบถ้วนตามหลักโภชนาการและถูกหลักอนามัย มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ส่งเสริมมารยาทในการรับประทานอาหาร โครงการส่งเสริมเสริมสุขภาพหนังศีรษะ เส้นผม และผิวหนังนักเรียนโดยตรวจสุขภาพหนังศีรษะและการเป็นเหา เพื่อคัดครองปีละ 2 ครั้งจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นเหาแก้ปัญหานักเรียนที่เป็นเหาอย่างเป็นระบบมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตสังคมอยู่สม่ำเสมอ 

ผลการพัฒนา

          โรงเรียนวัดไตรสามัคคีได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินงานวิชาการ และรวบรวมข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้านต่างๆ ประกอบด้วย ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่างๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร การมีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษากำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม พบว่าผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ปรากฏดังนี้ ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการอ่าน การเขียน และการสื่อสาร พบว่า นักเรียนมีผลการทดสอบการอ่านในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการคิดคำนวณ พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถ ในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมหรือบูรณาการความสามารถในการแก้ปัญหา พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า นักเรียนมีผลการเรียน เกรด 2 ขึ้นไป เฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถและทักษะทางวิชาการของนักเรียน พบว่า จำนวนนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริม ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมพัฒนานักเรียนมีทักษะในการทำงาน พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ  พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมแนะแนวเพื่อการประกอบอาชีพ พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการประเมินด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ทั้งคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย  มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม ดังนี้ ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง การส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกาย พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมิน ในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านจิตสังคมพบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ  

กระบวนการพัฒนา    

          โรงเรียนวัดไตรสามัคคี มีการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2565) ภายใต้กรอบทิศทางการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามกลยุทธ์ เป้าประสงค์ มุ่งสู่วิสัยทัศน์ และบรรลุผลตามตัวชี้วัด ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นเกี่ยวกับโรงเรียนสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของโรงเรียน การทิศทางการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผ่านการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ค่านิยมร่วม กลยุทธ์ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษาเป็นไปตามตัวชี้วัดและเป้าหมาย ซึ่งในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565  มีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครู บุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อดำเนินการโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการฯ ที่สอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันให้การดำเนินการในภารกิจต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามกลยุทธ์ เกิดผลผลิต มีผลลัพธ์ และผลสัมฤทธิ์ตรงกับวิสัยทัศน์ ด้านหลักสูตรสถานศึกษามีการดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหลักสูตรของโรงเรียนวัดไตรสามัคคี พ.ศ.2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนอย่างเต็มศักยภาพให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล และเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้คู่คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความรู้ทักษะพื้นฐานในการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย มีความเป็นผู้นำของสังคมมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานบริหารงาน 4 งาน  เพื่อการวางแผนรูปแบบการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาให้มีผลการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำคู่มืองานบริหารงาน 4 งาน อิงแนวคิด/ทฤษฎีทางการบริหาร การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่กำหนด ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวชี้วัด เพื่อเสนอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ทราบปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความสำเร็จเป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนโครงการได้ทันท่วงที กำหนดกลไกการติดตามประเมินผลโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ให้สามารถนำผลการติดตาม ประเมินผลมาใช้ในการปรับปรุงโครงการทั้งในส่วนของเป้าหมาย ตัวชี้วัดดำเนินงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงในระหว่างปี รวมทั้งเพื่อนำผลการติดตาม ประเมินโครงการมาใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษาต่อไป กิจกรรมการดำเนินแนวทางการกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ หรือรูปแบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา มีการดำเนินการเกี่ยวกับสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) โดยจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา  ในการนำปัญหาทั้งด้านการจัดการเรียนรู้ การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น การสร้างกลุ่ม PLC กลุ่ม “W.T. Team เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนพัฒนาทักษะทางด้านการอ่าน การเขียนและทักษะด้านอื่นๆ ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น มีการประชุมครูในทุกเดือนกำกับติดตามผลการดำเนินงานที่ได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้  เพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังดำเนินการในการประชุมผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาภาคเรียนละ 1 ครั้ง ระดมความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อส่งเสริมพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนอย่างเต็มความสามารถให้สอดคล้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน ให้มีประสิทธิภาพ มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ ครูผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการจะสรุปผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆ  เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมในโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีการรายงานข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงกิจกรรม โครงการเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณให้มีความเหมาะสมต่อไป จัดโครงสร้างการบริหารโรงเรียนตามโรงเรียนนิติบุคคล โรงเรียนใช้หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หลักการกระจายอำนาจ และหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ร่วมทำงานเป็นทีม ชุมชนให้ความร่วมมือในด้านการบริหารจัดการการศึกษา การระดมทุน  ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม การรายงานผลการดำเนินการของโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ครูผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการจะจัดทำรายงานสรุปผลการการดำเนินงานในโครงการต่างๆ เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมในโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น                  เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การมุ่งเน้นให้นักเรียนได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถด้านวิชาการ ความสามารถ ในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้านวิชาการ ได้เข้าร่วมแสดงศักยภาพและประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับต่างๆ และชนะการประกวดแข่งขัน โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยมีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมในสื่อ Social  Media เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 สามารถเสาะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและถูกต้อง และการดำเนินการในโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริงโดยให้นักเรียนได้ลงมือทำ และมีวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริม สนับสนุนนำการทดสอบ RT, NT, O-NET และข้อสอบมาตรฐานกลางมาเป็นส่วนหนึ่ง ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน เทียบเคียงระดับประเทศ และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT, O-NET ให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ดำเนินในโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนการพัฒนาสื่อ และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้สู่  โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมจัดหาสื่อ อุปกรณ์ ด้าน ICT สู่ห้องเรียน กิจกรรมการผลิตสื่อและนวัตกรรม  กิจกรรมการใช้สื่ออุปกรณ์ด้าน ICT  เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ในการดำเนินงานในงานบริหารวิชาการมีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร  ได้แก่ งานหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน งานหลักสูตรท้องถิ่นเหรียญโปรยทาน งานวิจัยและพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน งานวิจัยและพัฒนาเพื่อการศึกษา เป็นต้น มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางอาชีพ เพิ่มศักยภาพของครู และบุคลากรในการจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยระบบ Digital Technology

ผลการพัฒนา 

          ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด/ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา บรรลุผลในการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา (พ.ศ.2563 – 2565)   ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามกลยุทธ์ เป้าประสงค์ มุ่งสู่วิสัยทัศน์ และบรรลุผลตามตัวชี้วัด การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหลักสูตรของโรงเรียนวัดไตรสามัคคี พ.ศ.2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ซึ่งเป็นการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขึ้นอย่างชัดเจน ผลการประเมินระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานกิจกรรมวางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา อิงแนวคิด/ทฤษฎีทางการบริหาร มีผลการกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่กำหนดให้ผู้รับผิดชอบโครงการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวชี้วัด เพื่อเสนอให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ทราบปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความสำเร็จเป็นระยะๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนโครงการได้ทันท่วงที จากกลไกการติดตามประเมินผลโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปีสามารถนำผลการติดตาม ประเมินผลมาใช้ในการปรับปรุงโครงการทั้งในส่วนของเป้าหมาย  ตัวชี้วัด วิธีดำเนินงาน หรือกิจกรรมต่างๆ  ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงในระหว่างปีรวมทั้งเพื่อนำผลการติดตาม ประเมินโครงการมาใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษาต่อไป ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานกิจกรรมการดำเนินแนวทางการกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ หรือรูปแบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา ผลการดำเนินการเกี่ยวกับสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) จากการจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา ในการนำปัญหาทั้งด้านการจัดการเรียนรู้ การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนพัฒนาทักษะทางด้านการอ่าน การเขียนและทักษะด้านอื่นๆ ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น นำผลจากการประชุมครูในทุกเดือนการประชุมงาน การประชุมผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาภาคเรียนละ 1 ครั้ง มาแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้รับความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากโรงเรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา  เพื่อส่งเสริมพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนอย่างเต็มความสามารถให้สอดคล้องกับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเต็มที่ และผลการดำเนินการโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ นำผลที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมในโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีการรายงานข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงกิจกรรม  โครงการเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณให้มีความเหมาะสมต่อไป ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง จัดโครงสร้างการบริหารโรงเรียนตามโรงเรียนนิติบุคคล  โดยแบ่งเป็น 4 งาน  โรงเรียนใช้หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หลักการกระจายอำนาจ และหลักธรรมาภิบาล บุคลากร    มีความรู้ความสามารถ ร่วมทำงานเป็นทีม ชุนชนให้ความร่วมมือในด้านการบริหารจัดการการศึกษา การระดมทุน  ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและผลการรายงานการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมิน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการพัฒนางานวิชาการ จากการดำเนินงานในโครงการการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษของผู้เรียน จัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะวิชาการของนักเรียนโรงเรียนวัดไตรสามัคคี ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2564  (Wattraisamakkee Academic Skills Challenge 2021) ให้นักเรียนเข้าร่วมสูงกว่าเป้าหมาย มีการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเพื่อแข่งขันหรือประกวดภายนอก ได้แก่ โครงการอัจฉริยะภาพทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ  และการสอบแข่งขันโครงการพัฒนาคุณภาพ   การเรียนรู้สู่สากล สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นอกจากนี้ มีกิจกรรมที่นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันสามารถทางกีฬาและกรีฑาระดับต่างๆ ได้แก่ การแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศจังหวัดตรัง การแข่งขันฟุตซอลชิงถ้วย ส.ส.ชัยชนะ เดชเดโช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ การแข่งขันฟุตซอลรุ่นไม่เกิน 12 ปี สนามพอเพียง และการแข่งขันฟุตซอล 7 คน รายการแมทส์ล้างตาสนามหัวอิฐอารีน่า นครศรีธรรมราช นักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมให้ค้นพบความสามารถพิเศษของตัวเองด้วยกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ทุกชั้นเรียน ในกิจกรรมดังกล่าว  มีการสำรวจความพึงพอใจของโครงการอยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จากการดำเนินงานในโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม มีนักเรียนและผู้ปกครองพึงพอใจต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในระดับมากที่สุด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์  ใช้สื่อเทคโนโลยี ICT และนวัตกรรมในการเรียนอย่างมีคุณภาพ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม   ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับส่งเสริมให้ครู และบุคลากรได้พัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางอาชีพ ผ่านโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนวัดไตรสามัคคีมีการพัฒนาศักยภาพอย่างรอบด้าน เพื่อนำความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  เพิ่มศักยภาพของครูและบุคลากร  ในการจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้วยระบบ Digital Technology ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียน มีทักษะได้รับความรู้และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  และเพื่อให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาตามความต้องการสู่การเป็นครูที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคม แหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน ภายนอกห้องเรียนที่เอื้อ ต่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอกแบบออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์แบบบูรณาการ ตามความถนัดและความสามารถของผู้เรียน รู้จะแสวงหาความรู้ จากโลกภายนอกห้องเรียนทำให้เกิดการฝึกทักษะกระบวนการคิด การทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การจัดแหล่งเรียนรู้ภายใน เช่น ห้องเรียนธรรมชาติ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนเรียนพอเพียง เป็นต้น ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการบริหารจัดการ มีการจัดทำฐานข้อมูลนักเรียนในระบบดูแลช่วยเหลือ ผ่านการจัดทำระบบ DMC  ข้อมูลนักเรียนทุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน  และระบบ School MIS  โดยครูสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ ได้จัดให้นักเรียนได้ใช้สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการเรียนอย่างมีคุณภาพ โดยนักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนการสอนจากห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้อย่างทั่วถึง ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดไตรสามัคคี มีการดำเนินการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริงโดยให้นักเรียนได้ลงมือทำ และมีวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริม สนับสนุน นำการทดสอบ RT, NT, O-NET และข้อสอบมาตรฐานกลางมาเป็นส่วนหนึ่ง ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนสามารถใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการทำข้อสอบให้มีคุณภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน เทียบเคียงระดับประเทศ อีกทั้งยังมุ่งเน้นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT, O-NET ให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้นำ แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ Active  Learning ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกคิดและปฏิบัติจริงด้วยตนเองมากขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนวัดไตรสามัคคียังได้ดำเนินโครงการพัฒนาการอ่าน เขียน การสื่อสาร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นโครงการที่พัฒนาทักษะ ทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ไปพร้อมๆ กัน  โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active  Learning  ซึ่งเป็นกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำด้วยตนเองการฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกการคิด สร้างประโยคในการสื่อสารด้วยตนเองโดยครูจำลองสถานการณ์จริงโดยการยกตัวอย่างหรือการใช้บทบาทสมมติ ( Role play) ในการสอนการสื่อสารเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้การสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากสถานการณ์จริง เช่น กิจกรรม English for Today เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยนักเรียนเป็นผู้นำเสนอคำศัพท์หน้าเสาธงด้วยตนเอง และฝึกความเป็นผู้นำและความกล้าแสดงออกให้นักเรียน เป็นต้น มีการดำเนินงานบริหารวิชาการทั้งหมด 59 งาน ซึ่งมีงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ งานนิเทศติดตามแผนการสอนหรือแผนการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยกำหนด ให้คุณครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีกระบวนการกำกับ ติดตามผลการจัดการเรียนรู้ตามที่ครูได้จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดำเนินการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้ในโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม  เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อการจัดหาสื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรม ที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน และผู้สอน เป็นส่วนช่วยในการจัดการเรียน ตลอดจนการพัฒนาสื่อ และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมจัดหาสื่ออุปกรณ์ ด้าน ICT สู่ห้องเรียน กิจกรรมการผลิตสื่อและนวัตกรรม กิจกรรมการใช้สื่อ อุปกรณ์ด้าน ICT เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งนักเรียนสามารถเข้าไปใช้งานสื่อ ICT ได้จากห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบงานพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์  ซึ่งมีงานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาห้องสมุด คือ งานพัฒนาห้องสมุด ซึ่งมีกรอบการดำเนินงานในการอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนผู้ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้ และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด  การจัดบรรยากาศที่ดีเป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจเมื่อเข้าใช้บริการ   มีแหล่งเรียนรู้ภายใน และแหล่งเรียนรู้ภายนอก การดำเนินงานเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเหรียญโปรยทาน เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำรงชีวิตประจำวัน ใช้แก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธีเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านที่คิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็นการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาตลอดจนวิทยากรภายนอก และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  ทั้งนี้มีการกำกับ ติดตามการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข การมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผู้อื่น สามารถเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  งานนิเทศ ติดตาม ผลงานนักเรียน มีกรอบงานในการนิเทศ ติดตาม ผลงานนักเรียน การกำกับติดตามการส่งเสริมการมอบหมายภาระงานให้กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม มีการติดตามแก้ปัญหาการค้างส่งงานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีผลงานนักเรียนเพื่อจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมผลงานนักเรียนตามโอกาสต่างๆ และการแสดงผลงานนักเรียน มีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สนับสนุนให้ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรม ฝึกทักษะกระบวนการคิดได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง คิดเป็นแก้ปัญหาได้ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ รักการอ่าน สนับสนุนให้ครูศึกษาค้นคว้าพัฒนารูปแบบหรือการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผลการพัฒนา  

          ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ จากการดำเนินการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีความพร้อมด้านทักษะความรู้ มีคุณภาพการศึกษาได้มาตรฐานเทียบเคียงระดับประเทศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และโครงการพัฒนาการอ่าน เขียน การสื่อสาร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  มีผลการดำเนินการคือนักเรียนมีความสามารถ อ่านออกเขียนได้และมีผลการทดสอบ ผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียนสามารถท่องคำศัพท์และรู้ความหมาย นักเรียน ครูและบุคลากรสามารถพูดและสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษพื้นฐานได้เพิ่มสูงขึ้น ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จากการดำเนินงานนิเทศติดตามแผนการสอนหรือแผนการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดย ซึ่งกำหนดให้คุณครูทุกคนจัดทำแผนการสอนหรือแผนการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ จากการติดตามผล  มีครูที่ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม  ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อนวัตกรรม มีผลการดำเนินงานโครงการ คือ โรงเรียนมีนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด นักเรียน ได้ใช้สื่อ เทคโนโลยี ICT และนวัตกรรมในการเรียนอย่างมีคุณภาพ ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมพัฒนาห้องสมุด แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น จากการดำเนินงานเกี่ยวกับงานพัฒนาห้องสมุด  ปีการศึกษา 2564 ห้องสมุดอยู่ในระหว่างการดำเนินการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ อีกทั้งยังมีงบประมาณการจัดซื้อหนังสือเพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์ Covid 19 โดยการดำเนินการเรียนการสอนแบบ On-hand จากเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้ได้รับหนังสือที่มีจำนวนเพียงพอสำหรับนักเรียนผู้เข้าใช้บริการ คาดว่าจะได้เปิดให้บริการกับนักเรียนในปีการศึกษา 2565  ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ภายใน และมีการจัดให้นักเรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอก จากกิจกรรมการทัศนศึกษา  ในรูปแบบออนไลน์ ในปีการศึกษา 2564  โดยมีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่มีการบริหารจัดการ เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข จากการดำเนินงานโครงการเยาวชนไทยเปิดประตูสู่โลกกว้าง (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)  ในปีการศึกษาได้จัดกิจกรรมให้นักเรียน ดังนี้ กิจกรรมลูกเสือ/ยุวกาชาด  กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนสุจริต กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรม ICT กิจกรรมชุมนุม และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ซึ่งจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก็มีนักเรียนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมพัฒนาการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ จากการดำเนินงานการวัดและประเมินผล มีการดำเนินงานตามกรอบงานอย่างเป็นระบบ มีการประชุมวางแผนแนวทางการวัดผลประเมินก่อนเปิดภาคเรียนทำให้การวัดและประเมินผลนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำผลการวัดและประเมินผลมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการสร้างเครื่องมือวัดประเมินผลที่หลากหลาย จากการดำเนินงานการวัดและประเมินผล ครูผู้สอนได้มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนจัดประสบการณ์ที่ประกอบไปด้วยเครื่องวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของวิชานั้น ผลการดำเนินงานกิจกรรมการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ จากการดำเนินงานนิเทศ ติดตาม ผลงานนักเรียน มีการกำกับติดตามการส่งเสริมการมอบหมายภาระงานให้กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม  มีการติดตามแก้ปัญหาการค้างส่งงานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ได้กำกับ ติดตาม รวมรวมผลงานนักเรียนเพื่อจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมผลงานนักเรียนตามโอกาสต่างๆ การจัดทำทะเบียนบันทึกรางวัล และการแสดงผลงานนักเรียนประจำปี และรายงานผลการดำเนินการนิเทศ ติดตาม ผลงานนักเรียน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ จากการดำเนินงานนิเทศ ติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีการกำหนดกรอบการนิเทศ ติดตาม พัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียน ครูผู้สอนได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างมีการจัดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการคิดได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง คิดเป็นแก้ปัญหาได้ ใฝ่เรียนรู้รักการอ่าน  โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกกลุ่มสาระ/วิชา ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ครูผู้สอนได้ศึกษาค้นคว้าพัฒนารูปแบบหรือการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าเพื่อเป็นผู้นำการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นต้นแบบให้กับสถานศึกษาอื่น มีการดำเนินการงานนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีคุณภาพทั่วถึงและต่อเนื่องเป็นระบบและกระบวนการอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง รายงานผลการดำเนินการงานนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และจัดทำบันทึกการนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูทั้งโรงเรียน เพื่อพัฒนา และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม

จุดเด่น 

ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูงกว่าระดับประเทศ สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูง ตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัยจนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชนในเรื่องความมีวินัย การเคารพกฎระเบียบของโรงเรียน ซึ่งบัญญัติไว้ในคู่มือนักเรียน สถานศึกษามีการบริหาร และการจัดการอย่างเป็นระบบ สถานศึกษาได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณที่สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน  ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ  มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาสถานศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานแต่ละด้านอย่างครบถ้วนและเหมาะสม มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการเน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเอง ได้ลงมือปฏิบัติ ได้ร่วมทำงานเป็นกลุ่ม โดยครูคอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำเมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัยและให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่นักเรียน  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ ให้นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงความสามารถของตนเอง นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานยังต้องเร่งพัฒนาการอ่านคล่อง เขียนคล่อง และคิดเลขเร็ว  ด้านการวิเคราะห์สังเคราะห์ การนำเสนอ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล พัฒนาทักษะการพูด และการกล้าแสดงออกให้มากยิ่งขึ้น และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนต้องเน้นการอ่านคล่อง การเขียนคล่องและสวย และฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดนิสัยรักการอ่าน ทำให้ขาดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ต้องสร้างเครือข่าย      ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องครูและบุคลากรยังขาด ความชำนาญทางวิชาชีพ ระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษายังขาดความคล่องตัว ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ยังขาดการเชื่อมโยง และการนำมาใช้ยังไม่ราบรื่น ยังมีการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน ไม่สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และขาดความถูกต้องแม่นยำ ครูและบุคลากรขาดความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี มาตรฐานคุณภาพห้องเรียนยังไม่เป็นเอกภาพและการนิเทศติดตามชั้นเรียนขาดความต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

โรงเรียนต้องตำเนินการนำมาตรฐานตัวชี้วัดคุณภาพลงสู่แผนงาน/โครงการอย่างเป็นรูปธรรม   มีกิจกรรมรองรับชัดเจน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อการกำหนดเป้าหมายอย่างครอบคลุมทุกด้านก่อนการจัดการเรียนการสอนแต่ละภาคเรียน เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยฝ่ายต่างๆ ต้องจัดทำข้อมูลอย่างรอบด้านและรวมเก็บไว้ที่ส่วนกลางของโรงเรียน  เช่น รวมไว้ที่งานสารบรรณหรืองานธุรการให้ผู้สอนสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว ราบรื่น ไม่มีการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อนให้สามารถเรียนใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำยกระดับมาตรฐานคุณภาพห้องเรียนและมีการนิเทศติดตามชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนงบประมาณเพื่อผลิตใช้สื่อ  จัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้พอเพียงต่อความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนให้มากขึ้น ส่งเสริมการฝึกทักษะกระบวนการคิดอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นฝึกความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  สอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา และสังคมโลก

 

ลงชื่อ          ภูวดล   เม่งช่วย

              (นายภูวดล   เม่งช่วย)

  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.