f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านป่ากอ
วันที่   2   มิถุนายน   2565
เข้าชม : 249
Bookmark and Share


 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ชื่อโรงเรียนบ้านป่ากอ  ที่อยู่ 289  หมู่ที่ 6 ตำบลนาวง  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน   นายอิทธิกร  เกตุประกอบ  ครูโรงเรียนบ้านป่ากอ รักษาการในตำแหน่ง

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่ากอ  เบอร์โทรศัพท์ 0887540794  

จำนวนบุคลากรของสถานศึกษาทั้งหมด  10  คน  จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา - คน

ข้าราชการครู   5  คน  ครูอัตราจ้าง  3  คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ  2  คน

จำนวนนักเรียน   รวม  79  คน    จำแนกเป็น ระดับปฐมวัย 22  คน ระดับประถมศึกษา  57  คน

ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาปฐมวัย

          ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐาน

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ดีเลิศ

 

 

 

จุดเด่น

          เด็กมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ที่กำหนด มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายตามวัย การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็ก ประสานสัมพันธ์ เด็กมีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย เด็กมีทักษะการคิดพื้นฐานและทักษะการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น โรงเรียนการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ และมีการบริหารที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้ฝ่ายมีส่วนร่วม ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครอบคลุมทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล ผู้สอนมีการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเรียนรู้แบบ Active learning และการเรียนรู้การทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ห้องเรียน มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลาย และสามารถนำผลการประเมินพัฒนาการไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 จุดที่ควรพัฒนา

          ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดรวบยอด โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาและจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการคิดรวบยอดเพิ่มมากขึ้น การส่งเสริม/พัฒนาครูปฐมวัยให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ควรจัดหาครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่จบหลักสูตรหรือวิชาเอกปฐมวัยโดยตรง การจัดแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน การจัดเครื่องเล่นสนามให้มีความหลากหลาย และคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นหลัก

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

           โรงเรียนมีการส่งเสริมให้เด็กมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดรวบยอด มีการส่งเสริมและพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการคิดรวบยอดเพิ่มมากขึ้น มีการจัดหาสื่อ สื่อเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาประสบการณ์ผู้เรียนที่เน้นทักษะกระบวนการคิดในรูปแบบหลากหลาย มีการจัดหาครูให้เพียงพอกับชั้นเรียนเหมาะสม  ครูมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการเด็กในทุกด้านและมีการวัดผลประเมินผลพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งจัดทำโครงการให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เต็มตามศักยภาพต่อไป

ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดี

มาตรฐาน

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของนักเรียน

ดี

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

ดี


          จุดเด่น

          1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จิตอาสา

          2. การบริหารจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

          3. จัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

          4. ครูมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

          5. นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศภายในชั้นเรียนเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          จุดที่ควรพัฒนา

          1. ผลการประเมินระดับชาติ (RT, NT และ O-NET)

          2. กิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

          3. กิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียนเรียนร่วม

          4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

          5. การพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษของนักเรียน

          6. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอน

          แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

        1. โครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

        2. โครงการพัฒนาระบบงานบริหารเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยใช้กระบวนการ PDCA

        3. จัดทำแผนพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

        4. โครงการปรับภูมิทัศน์ ปรับปรุงอาคารเรียน และสภาพแวดล้อม

        5. โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.