f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านต้นปรง
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านต้นปรง
วันที่   6   มิถุนายน   2565
เข้าชม : 304
Bookmark and Share


 

แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล

การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 

ปีการศึกษา 2564  โรงเรียนบ้านต้นปรง

 

 

คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมิน

 

1.     นางจิราภา  วัจนพิสิฐ                  ประธานกรรมการ

2.     นายพรชัย  จันณรงค์                  รองประธานกรรมการ

3.     นางสาวสุวิดา  แก้วพิทักษ์            กรรมการ

4.     นางศดานัน  จันทรมาศ                กรรมการ

5.     นายมุตตอฝา  แสงขาว                กรรมการ

6.     นางจุไรรัตน์  เพ่งพิศ                   กรรมการ

7.     นางมยุรี  สงหนู                         กรรมการและเลขานุการ

8.     นางสาวเจนจิรา  หนูทัด               กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ

 

 

วันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565


แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564

 โรงเรียนบ้านต้นปรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

……………………………………….

1.ข้อมูลทั่วไป

            ชื่อโรงเรียนบ้านต้นปรง  ที่อยู่ เลขที่ 14 หมู่ที่ 1 ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  โทรศัพท์ 075-296118  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา (31 มี.ค. 2565)

บุคลากร

ผู้บริหาร

ครูผู้สอน

พนักงานราชการ

ครูอัตราจ้าง

เจ้าหน้าที่อื่นๆ

ปีการศึกษา 2564

3

39

-

3

2

3.  ข้อมูลนักเรียน (10 พ.ย. 2565)                  

ระดับชั้นเรียน

จำนวน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

อนุบาลปีที่ 1

20

19

 

อนุบาลปีที่ 2

27

31

 

อนุบาลปีที่ 3

39

40

 

รวม

86

90

 

ประถมศึกษาปีที่ 1

54

57

 

ประถมศึกษาปีที่ 2

64

59

 

ประถมศึกษาปีที่ 3

60

42

 

ประถมศึกษาปีที่ 4

60

55

 

ประถมศึกษาปีที่ 5

78

58

 

ประถมศึกษาปีที่ 6

84

61

 

รวม

400

332

 

รวมทั้งหมด

486

422

 

 

4. ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตาม 

    กระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    ประถมศึกษาตรัง เขต 2

    4.1  รูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

         การดำเนินงานของสถานศึกษา

         โรงเรียนบ้านต้นปรงมีการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้หลักบริหารจัดการ PDCA ซึ่งมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีกระบวนการ/ลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

         1.  การวางแผนงาน และกำหนดวิธีการ (Planning)

                กำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา นำเป้าหมายมากำหนดรายละเอียด สิ่งที่ต้องทำโดยเรียงตามลำดับความสำคัญ รายละเอียดขั้นตอน ปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องใช้ระยะเวลาเริ่ม-สิ้นสุด บุคคลหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอน และที่สำคัญที่สุด คือ ตัวชี้วัดผล  ซึ่งตัวชี้วัดจะเป็นตัวที่จะคอยบอกว่าวิธีการที่เราเลือกใช้นั้นถูกต้องหรือไม่ เร็ว-ช้าอย่างไร ทรัพยากรที่ใช้ไปเป็นไปตามแผนหรือเกินกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อที่จะได้ปรับแผนหรือวิธีได้อย่างทันท่วงที 

      2. การลงมือปฏิบัติ (Do)

             บุคลากรลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานและวิธีการที่กำหนดไว้อย่างมีวินัย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีการประชุมเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า การมอบหมายงานเพื่อแบ่งเบาภาระ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนด โดยร้อยละ 80 ขึ้นไปของโครงการ

         3. การตรวจสอบ (Check)

             หลังจากเราเริ่มลงมือปฏิบัติไปได้สักระยะ ต้องเริ่มทำการตรวจสอบความคืบหน้าของสิ่งที่เราได้ลงมือปฏิบัติไปนั้นว่าเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่จะบ่งบอกได้ก็คือตัวชี้วัดที่เรากำหนดไว้นั่นเอง ถ้าจุดที่เราตรวจสอบได้ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดที่เราตั้งไว้หรือดีกว่าแสดงว่าวิธีการที่เราเลือกใช้นั้นยังคงถูกต้อง แต่ถ้าตรวจสอบออกมาแล้วผลปรากฏว่าต่ำกว่าตัวชี้วัดที่ตั้ง ถือเป็นสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับแผนงานหรือวิธีการที่เรากำหนดไว้ในตอนแรก

        4. การปรับปรุง (Act/Action)

             การปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการ หรือทรัพยากรบางอย่างที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพของสถานศึกษาตามวัตถุประสงค์ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในครั้งแรก ซึ่งกระบวนการปรับปรุงเริ่มจากการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่วางแผนหรือกำหนดไว้ ว่าเกิดจากองค์ประกอบหรือปัจจัยภายใน/ภายนอกใดบ้าง แล้วจึงมากำหนดมาตรการแก้ไข ปรับปรุง/พัฒนาต่อไป 

         ผลการดำเนินงาน         

         1.  โรงเรียนมีการจัดทำโครงสร้างระบบบริหารงานทั้ง 4 กลุ่มงานที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

         2. โรงเรียนมีการกำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศเป็นหมวดหมู่ พร้อมเข้าถึงและให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน

         3. โรงเรียนมีการนำระบบสารสนเทศไปใช้เพื่อบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

    4.2  การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 

           4.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

         1. โรงเรียนบ้านต้นปรงมีการศึกษา วิเคราะห์ มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการการดำเนินงานของสถานศึกษา

         2. กำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่กำหนดอย่างครบถ้วน เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยมีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน

         3. กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้อย่างเหมาะสม โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและมีการประกาศ/ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษาได้รับทราบ

         4. มีการจัดทำคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง ครบถ้วนทุกมาตรฐาน ตัวบ่งชี้

         ผลการดำเนินงาน         

         โรงเรียนบ้านต้นปรง มีแนวทางการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีคู่มือการการดำเนินงาน มีการกำหนดค่าเป้าหมายของมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างชัดเจน เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากรทั้งภายในและชุมชนยอมรับในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

4.2.2  การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

         1. ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลาย ทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันสมัย ทั้งจากแหล่งข้อมูล เอกสาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาการจัดการศึกษา

         2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างชัดเจนโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบและรับรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ

         3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และกำหนดผู้รับผิดชอบกรอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน โดยทุกแผนงาน โครงงาน กิจกรรมครอบคลุมตามภารกิจในแผนพัฒนาการจัดการศึกษา พร้อมทั้งปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายที่สำคัญ

         4.  เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบและรับรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางอย่างมีระบบและแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนบ้านต้นปรง มีแผนและกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม มีการกำหนดแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการ/กิจกรรม และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดในแผนปฏิบัติการประจำปีมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา และมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

4.2.3  การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

         1. กำหนดผู้รับผิดชอบ ปฏิทินและแผนกำกับติดตามการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างชัดเจน ครบถ้วนในทุกโครงการ กิจกรรม โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

         2. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ขึ้นไปของจำนวนโครงการ/กิจกรรม ซึ่งในการดำเนินงานตามโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปีของแต่ละโครงการ มีการบันทึกเสนอขออนุมัติดำเนินงานต่อผู้บริหารโดยผ่านความเห็นชอบจากหัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าแผนงาน หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ เพื่อตรวจสอบโครงการทุกครั้ง มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน มีการประชุมวางแผนก่อนการดำเนินงานตามโครงการ พร้อมกับมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลงานให้ผู้บริหารทราบ

          3. ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนด โดยร้อยละ 80 ขึ้นไปของโครงการ กิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า และผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 80 ขึ้นไปพึงพอใจในการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

การดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดในแผนปฏิบัติการเป็นไปตามเป้าหมาย มีกรอบในการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ชัดเจน ผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรมสามารถดำเนินงานตามแผนงานได้อย่างคล่องตัว และผลการดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ

          4.2.4  การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

         1. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานต้นสังกัด 1 คน กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างชัดเจน และดำเนินการประเมินฯ คุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี โดยได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

         2. วางแผนและกำหนดแนวทางการประเมินฯ คุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีเครื่องมือประเมินฯคุณภาพภายในที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับการศึกษา โดยทุกมาตรฐานและทุกตัวบ่งชี้ดำเนินการประเมินฯ คุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม

ผลการดำเนินงาน

คณะกรรมการทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ มีเครื่องมือในการประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายในการติดตาม และตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างถูกต้อง และชัดเจน

4.2.5  ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

         1.  แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา และมีกระบวนการสร้างความเข้าใจในการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษา มอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถ ร่วมกันวางแผนกำหนดภารกิจและปฏิทินการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และมีการประสานงานอย่างเป็นระบบ

         2. สถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษา ที่แสดงผลการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมภาคเรียนละ 1 ครั้ง

         3. สถานศึกษามีการจัดทำรายงานเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องด้วยรูปแบบที่หลากหลาย และนำผลการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ไปใช้วางแผนดำเนินงานปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการและการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

ผลการดำเนินงาน

การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านต้นปรง มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบส่งผลให้มีผลในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ยังมีในส่วนของการยกระดับผลสัมฤทธิ์ที่ยังคงต้องมีการพัฒนาต่อไป

           4.2.6  จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

         1. สรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียน และผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาอย่างชัดเจน ครอบคลุมตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกฝ่าย

         2. ตรวจสอบ ปรับปรุงคุณภาพของรายงานให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ แล้วจึงเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบอย่างเป็นระบบตามช่วงเวลาที่กำหนด

          3. เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองสถานศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนพร้อมกับนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้ได้รับการเผยแพร่เพื่อนำไปใช้สำหรับการพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนบ้านต้นปรง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 ที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาอย่างชัดเจนครอบคลุมทุกมาตรฐานตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด โดยมีคณะกรรมการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน 4 ส่วน คือ ส่วนของข้อมูลพื้นฐาน ส่วนของแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ส่วนของผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และส่วนของสรุปผลการพัฒนาและนำผลไปใช้

         4.3  ผลงานเด่นของสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2563 - 2564

              4.3.1 ผลงานของสถานศึกษา

รางวัล

หน่วยงานที่มอบให้

วิธีปฏิบัติที่ดี 1 นวัตกรรม 1 โรงเรียน (สิ่งแวดล้อม) ระดับดีเด่น ปีการศึกษา 2563

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

วิธีปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน

(1 นวัตกรรม 1 โรงเรียน) ระดับดีเด่น ปีการศึกษา 2563

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 2 ดาว ปีการศึกษา 2564

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา (ITA)  ปีงบประมาณ 2564 ผ่านระดับ A  ได้คะแนน 93.34

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

เกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรมประกวดโรงเรียนธนาคารดีเด่น ประจำปี 2564 “เยาวชนนักคิดพิชิตเป้าหมายการออม”

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

เกียรติบัตรรับรองมาตรฐานโรงเรียนสงเสริมสุขภาพ ระดับทอง ปี 2564-2567

อธิบดีกรมอนามัย

   

                 4.3.2 ผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา/ครู

                                               1) ผลงาน/รางวัลของผู้บริหารสถานศึกษา

รางวัล

 

หน่วยงานที่มอบให้

คุรุสดุดี ประเภทผู้อำนวยการสถานศึกษา ประจำปี 2563 ได้แก่ นายบุญฤทธิ์ ไชยบุตร

คุรุสภา

ผู้บริหารสถานศึกษาดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน โครงการเครือข่ายครูดีของแผ่นดิน ประจำปี 2564 ได้แก่ นางจิราภา วัจนพิสิฐ,

นางสาวสุวิดา แก้วพิทักษ์ และนางศดานัน จันทรมาศ

มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

นวัตกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 รางวัลระดับดีเลิศ ได้แก่ นางสาวสุวิดา แก้วพิทักษ์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

 

 

 

                                   2) ผลงาน/รางวัลของครูผู้สอน

รางวัล

หน่วยงานที่มอบให้

คุรุสดุดี ประเภทครูผู้สอน ประจำปี 2563 ได้แก่ นางมยุรี สงหนู

คุรุสภา

ครูดีไม่มีอบายมุข ปีที่ 10 ปีการศึกษา 2563 ได้แก่  

นางสาวจิราภร เพชรฤทธิ์, นางสาวทิพย์มณฑา เกื้อคง,

นางนฤมล ทองรักจันทร์, นางปราณี คำแหง, นางสาวศิริรัศม์ แสวงชอบ, นางสาวบุรัสกร ขวัญดี, นางสาวสุกัญญา รามแก้ว, นางสาววรรณา ด้วนรู้ที่, นางสาวณชกนก ศรีทอง,

นางสาวอรวรรณ สิงห์อินทร์, นางสาวสุภัชชา จันทร์สุขศรี, นางสาวคันธมาทน์ บุญรักษา, นางสาวจุฬาลักษณ์ แหลมทอง และนายปราโมทย์ โยธา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

ครูผู้สอนดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์ เนื่องในงานวันครูแห่งชาติ ครั้งที่ 64 ประจำปี 2563 ได้แก่ นางมยุรี สงหนู

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

ครูผู้สอนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน (1 นวัตกรรม 1 โรงเรียน) ระดับดีเด่น ปีการศึกษา 2563 ได้แก่ นางสาวณชกนก ศรีทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

ครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน โครงการเครือข่ายครูดีของแผ่นดิน ประจำปี 2563

มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

ส่งคลิปวิดีโอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เข้าร่วมการประกวดในหัวข้อ “สุดยอดเทคนิคประถม สู่การพัฒนาผู้เรียนเพื่อความเป็นเลิศ” ปีการศึกษา 2564 ได้แก่

นางสาวสุภัชชา จันทร์สุขศรี, นางสาวธันย์ชนก นิติวิศิษฎ์กุล, นางสาวอรวรรณ สิงห์อินทร์ และนางมยุรี สงหนู

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


 


รางวัล

หน่วยงานที่มอบให้

ผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบย่างได้

ในโครงการติดตามการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ นางมยุรี สงหนู

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บุคคลตัวอย่างที่ทรงคุณค่าแห่งชาติ เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2564 ได้แก่ นางมยุรี สงหนู

ชมรมสายใยไทย แทนคุณแผ่นดิน

ครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน โครงการเครือข่ายครูดีของแผ่นดิน ประจำปี 2564 ได้แก่ นายปราโมทย์ โยธา,

นางนฤมล ทองรักจันทร์, นางสาวเจนจิรา หนูทัด,

นางสาวธันย์ชนก นิติวิศิษฎ์กุล, นายธนวัฒน์ สุขบัวแก้ว,

นางสาวสุกัญญา รามแก้ว, นางสาวทิพย์มณฑา เกื้อคง,

นางสาวบุรัสกร ขวัญดี, นายสิทธิโรจน์ ธนะภพ, นางเบญจวรรณ ศรีอ่อน, นางสาวธัญลักษณ์ รักไทย, นางธัญญา นุ่นประดิษฐ์, นางสาววรรณา ด้วนรู้ที่, นางสาวศิริรัศม์ แสวงชอบ,

นางสาวชัญญณัท ชูช่วย และนางสาวสุจินดา สุขเสน

มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

ครูผู้สอนดีเด่น สาขาสุขศึกษาและพลศึกษา เนื่องในงานวันครูแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจำปี 2564 ได้แก่ นายณัฐพงศ์ เคี่ยมการ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

ครูผู้สอนดีเด่น สาขาการศึกษาพิเศษ เนื่องในงานวันครูแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจำปี 2564 ได้แก่ นางสาวสุจินดา สุขเสน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การจัดการเรียนรู้สู่

การยกระดับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

(O-NET) ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ระดับคุณภาพดี ได้แก่ นายมุตตอฝา แสงขาว

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

Clip Video การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ โครงการ

การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและ

การออกแบบเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ระดับคุณภาพดี ได้แก่ นางสาวณชกนก ศรีทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

แบบอย่างที่ดีแก่สังคม ด้านคุรุชน คนคุณธรรม ประเภทครูผู้สอน ได้แก่ นางมยุรี สงหนู

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

                 4.3.3 ผลงานนักเรียน

รางวัล

หน่วยงานที่มอบให้

เด็กดีของแผ่นดิน ประจำปี 2564 ได้แก่ เด็กหญิงปาลิกา รองปาน,  เด็กหญิงจันทณิภา รักษากิจ, เด็กหญิงจัสมิน ผดุงสุวรรณ์, เด็กหญิงสลิลทิพย์ ดีชูศร, เด็กหญิงปาณิสรา เขียวบุญจันทร์,

เด็กหญิงพิมประภา นาคเป้า, เด็กหญิงณัฐณิชา รักษาสัตย์, เด็กหญิงกมลชนก บุญยัง, เด็กหญิงเตชินี หวานสนิท,

เด็กชายสัจจพร สาระกูล, เด็กชายณัฐพัชร์ ทองชาติ,

เด็กชายสรวิศ สุขเสน, เด็กชายวีรวัฒน์ เกลี้ยงศรี,

เด็กชายศุภเดช ย้อยคุณา และเด็กชายเสฎฐวุฒิ เพ็ชรจินดา

มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

เด็กหญิงณัฐณิชา คงชูศรี มีผลการทดสอบ NT วิชาภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านต้นปรง ประจำปีการศึกษา 2564 เต็ม 100 คะแนน

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

 

 

 

(ลงชื่อ)                                       ผู้รายงานข้อมูล

                                  (นายมุตตอฝา  แสงขาว)

                             ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านต้นปรง

 

(ลงชื่อ)                                                             ผู้รับรองรายงาน

                                       (นางจิราภา  วัจนพิสิฐ)

       ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นปรง

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

-         สำเนาประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561  ปีการศึกษา 2564 

-         สำเนาเอกสารการเผยแพร่ผลรายงานการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล                การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประกาศโรงเรียนบ้านต้นปรง

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน

ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2564 

.............................................................................................................

          ด้วยโรงเรียนบ้านต้นปรง ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2554 ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษามีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3 คน ที่ประกอบ ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย 1 คน

          ดังนั้น โรงเรียนบ้านต้นปรง จึงประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ดังนี้

         1. นางจิราภา  วัจนพิสิฐ           ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นปรง           ประธานกรรมการ

         2. นายพรชัย  จันณรงค์           ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   รองประธานกรรมการ

         3. นางสาวสุวิดา  แก้วพิทักษ์      รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นปรง       กรรมการ

         4. นางศดานัน  จันทรมาศ         รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นปรง       กรรมการ

         5. นายมุตตอฝา  แสงขาว         ครูโรงเรียนบ้านต้นปรง                      กรรมการ

         6. นางจุไรรัตน์  เพ่งพิศ            ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก                        กรรมการ

         7. นางมยุรี  สงหนู                 ครูโรงเรียนบ้านต้นปรง                      กรรมการและเลขานุการ

         8. นางสาวเจนจิรา  หนูทัด        ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านต้นปรง                กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ

          ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการร่วมดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

                   ประกาศ ณ วันที่ 30 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2565

                            

 

                                                       ลงชื่อ

                                                                 (นางจิราภา   วัจนพิสิฐ)

                                                            ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นปรง

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.