f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านเกาะลิบง
วันที่   11   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 319
Bookmark and Share


                            รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

(Self-Assessment  Report : SAR)

ปีการศึกษา ๒๕๖๔

 

 

 

 

โรงเรียนบ้านเกาะลิบง

อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง

 

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                                กระทรวงศึกษาธิการ

 

บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียนบ้านเกาะลิบง ที่อยู่ ๗๘ หมู่ ๑ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  นายอยุทธา ศรีจันทร์งาม  เบอร์โทรศัพท์  ๐๖๒-๒๔๓๐๗๕๔ 

จำนวนบุคลากร  จำแนกเป็น ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการครู ๙ คน  เจ้าหน้าที่อื่นๆ ๒ คน

จำนวนนักเรียน   รวม ๑๒๖ คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล ๔๐ คน ระดับประถมศึกษา ๘๖ คน  

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

          ระดับการศึกษาปฐมวัย

๑.๑   มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของเด็ก                                       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ   ยอดเยี่ยม

.   มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ              มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

 

.   มาตรฐานที่ ๓  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก                                    

          กระบวนการพัฒนา      

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) มุ่งเน้นให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัย โดยมีการปรับรูปแบบการสอน  On hand/ On Demand โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ตามโครงการและจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี ยิ้มใส ไหว้สวย การกล่าวคำทักทายด้วยคำสุภาพ และช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเอง มีมารยาทในการรับประทานอาหาร รู้จักดูแลรักษาความสะอาด ทั้งภายในและนอกห้องเรียน ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต  มีการจัดกิจกรรมด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี พิมพ์ภาพ ปั้นดินน้ำมัน เพื่อสร้างจินตนาการในการคิดสร้างสรรค์ และมีอารมณ์ผ่องใส ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และมีการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย

ผลการพัฒนา

         โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) มุ่งเน้นให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัย โดยมีการปรับรูปแบบการสอน On hand/ On Demand โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ทำให้เด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านเกาะลิบงส่วนใหญ่ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กที่แข็งแรง เด็กมีสุขนิสัยที่ดี สามารถดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัวของตนเองได้ และสามรถปฏิบัติจนเป็นนิสัย พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจเหมาะสมกับวัย มีจินตนาการ มีอารมณ์แจ่มใสมีความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน  พัฒนาการด้านสังคม เด็กแสดงถึงการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดี รู้จักดูแลรักษาความสะอาด พัฒนาการด้านสติปัญญา ส่งผลให้เด็กสามารถสื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน รู้จักแสวงหาความรู้จากสิ่งที่เด็กสนใจ รู้จักสำรวจ มีการค้นพบ จากการฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ส่งผลให้ได้รับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย 

          จุดเด่น

เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน

จุดที่ควรพัฒนา

ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน  การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย การปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย   

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ             

         กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) มุ่งเน้นให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัย โดยมีการปรับรูปแบบการสอน  On hand/ On Demand โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน สถานศึกษามีหลักสูตรคลอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นสถานศึกษาได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม  สนับสนุนให้ครูปฐมวัยเข้ารับการอบรมตามหน่วยงาน อื่น ๆเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก 

         ผลการพัฒนา

          มีการปรับรูปแบบการสอน  On hand/ On Demand โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนจากกระบวนบริหารและและการจัดการที่ดี ทำให้สถานศึกษามีหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทำให้สามารถใช้หลักสูตรเพื่อนำมาส่งเสริมพัฒนาการ ทั้ง ๔ ด้านของเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาได้อย่างสมดุล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก ครูได้วิเคราะห์เด็กและเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละ ทำให้เด็กได้รู้จักพื้นฐานชีวิตของตนเอง เข้าใจบทบาทหน้าในชุมชน สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นของตนเองได้ ครูได้วิเคราะห์ตัวบ่งชี้ก่อนออกแบบหลักสูตรและจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มีความเหมาะสมยืดหยุ่นได้ ครูใช้ทักษะในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการ ได้เข้ารับการพัฒนาตามจุดเน้นของหน่วยงานต้นสังกัด การอบรมต่างๆ ทำให้ครูสามารถนำทักษะกระบวนการต่างๆมาจัดประสบการณ์ได้มีประสิทธิภาพ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและใช้วิธีประเมินหลากหลาย

          จุดเด่น

โรงเรียนบ้านเกาะลิบง มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและชุมชน มีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์  มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการกำกับนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่องทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย

          จุดที่ควรพัฒนา

ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน โดยผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน การเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในเครือข่าย การมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภายนอก

มาตรฐานที่ ๓  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 

         กระบวนการพัฒนา

          ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ๔๐ หน่วยเรียนรู้หรือ ๔๐ สัปดาห์ที่มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนเวลาและเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยจัดทำแผนจัดประสบการณ์ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ออกแบบกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมให้สามารถพัฒนาพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน และประเมินพัฒนาการจากกิจกรรมหลังแผน ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม ครูสังเกตพฤติกรรมเด็กและบันทึกในแบบวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กรู้แล้ว เพื่อเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ใหม่ 

         ผลการพัฒนา

          ครูมีแบบวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล จากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรม บันทึกพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กสนองตอบความต้องการ ความสนใจ และความถนัดได้ ครูมีแผนการจัดประสบการณ์ที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสม มีแผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ออกแบบกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมให้สามารถพัฒนาพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน ทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาต่อยอด มีพัฒนาการที่ก้าวหน้า เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก 

จุดเด่น

เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล ได้เรียนรู้โดยจัดประสบการณ์การที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม มีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

จุดที่ควรพัฒนา

 

การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนปรับปรุงเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภคให้เอื้อต่อการเรียนรู้และจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก การจัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยผ่านการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นระดับปฐมวัย

 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒.๑  มาตรฐานที่ ๑  ด้านคุณภาพของผู้เรียน                                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

๒.๒  มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ                   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

๒.๓  มาตรฐานที่ ๓  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน                                   

           กระบวนการพัฒนา

        มีการกำหนดนโยบายที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาของผู้เรียนผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้เรียนสามารถสรุปความคิด ด้วยการพูดหรือเขียนตามความคิดนำเสนอความคิด หาวิธีการแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง กำหนดเป้าหมาย คาดการณ์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ สอนโดยวิธีตั้งคำถามแบบวิเคราะห์เบื้องต้น ฝึกหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล การเปรียบเทียบ การจัดลำดับความสำคัญ ในการสร้างนวัตกรรม ทางโรงเรียนสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความรู้ การแก้ปัญหา และทักษะกระบวนการคิดในการประดิษฐ์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยมีครูผู้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การงานอาชีพ จัดการเรียนรู้โดยผ่านการทำโครงงาน กิจกรรมบทเรียน KidBright โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ  

 

        ผลการพัฒนา

       นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน และสื่อสารในระดับดีขึ้นไปร้อยละ ๗๐ มีความสามารถในการคิดคำนวณในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐ มีความสามารถในการสื่อสารในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐ มีความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๗๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ในรายวิชาวิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์  วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา  วิชาศิลปะ และวิชาการงานอาชีพ ในระดับ ๓ ขึ้นไป ร้อยละ ๗๐ มีผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  วิชาภาษาอังกฤษในระดับ ๓ ขึ้นไป ร้อยละ ๖๐ มีผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT)  ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ คะแนนเฉลี่ยในด้านภาษาไทยร้อยละ ๔๔.๓๓ ด้านคณิตศาสตร์ร้อยละ ๓๘ และ    มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโรงเรียนบ้านเกาะลิบงได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น โดยการจัดตั้งกลุ่มนักเรียนเยาวชนพิทักษ์ดุหยง

จุดเด่น

นักเรียนได้รับการพัฒนาและมีทักษะการอ่านการเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์และเขียน รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ในระดับ ดีเลิศ นักเรียนมีผลการเรียนผลสัมฤทธิ์ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ วิชาภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ๕๓.๕๗ วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ๓๗.๗๗ และวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๐.๐๐ สูงกว่าระดับประเทศทั้ง ๓ วิชา นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้เรียนมี คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนอย่างรอบด้านและครอบคลุม สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพวิชาการด้านการพัฒนา ทักษะอาชีพ โดยส่งเสริมนักเรียนในด้านการทำโครงงานอาชีพ และนำนโยบายการศึกษาสู่การปฏิบัติจัดทำโครงการ โรงเรียนปลอดขยะ(Zero Waste) สู่การปฏิบัติให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

จุดที่ควรพัฒนา

พัฒนานักเรียนด้านภาษาไทยจากผลทดสอบการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อยู่ในระดับดีแต่ยังต่ำกว่าระดับประเทศ  พัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เนื่องจากผลทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ต่ำกว่าระดับประเทศ และผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ และควรมีการสอนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลในวิชาที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ และส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษให้ดีมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล 

         มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ  

         กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของ หน่วยงานต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องมีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม การวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

 ผลการพัฒนา 

          โรงเรียนบ้านเกาะลิบง มีแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่เป็นไปได้ในการ ปฏิบัติตามกำหนดเป้าหมายมาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ นโยบายและจุดเน้น วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน และนโยบายของรัฐ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนส่งผลต่อ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ มีผลจากการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบ ด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย    มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีถูกสุขลักษณะ และเป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-๑๙ มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการฯ

          จุดเด่น

โรงเรียนบ้านเกาะลิบง มีกระบวนการ บริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ เน้นการปฏิบัติ กิจกรรมตามโครงการต่างๆ ด้วยขั้นตอน PDCA ผ่าน กลุ่มบริหารงานต่างๆ ๔ กลุ่มงานคือ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารงานงบประมาณ และกลุ่มบริหารงานทั่วไป เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน มีการสื่อสารอย่างทั่วถึง มีคณะกรรมการการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ  มีระบบสารสนเทศที่น่าเชื่อถือนำมาเป็นแนวในการพัฒนา ปรับปรุงการผลการดำเนินงานต่างๆ มีคณะกรรมการ สถานศึกษาที่เข้มแข็ง ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากชุมชนอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนา

เพิ่มบทบาทของวิทยากรท้องถิ่นในชุมชุนได้เข้า มาร่วมพัฒนาวิชาการให้มากขึ้น กำกับ ติดตามการ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ พัฒนา เครื่องมือประเมินโครงการที่สามารถสะท้อนข้อมูลที่ น่าเชื่อถือในการตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษา

 

            มาตรฐานที่ ๓  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

            กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้ จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะทางวิชาการ ทักษะ ความสามารถพิเศษต่างๆตามความถนัด กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต สนับสนุนให้ครูทุกกลุ่มสาระมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่ หลากหลาย 

            ผลการพัฒนา 

            ครูและบุคลากรร้อยละ ๑๐๐ มีแผนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรสถานศึกษา ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนการสอนของครูมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๑๐๐ ผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครูมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๙.๘ ครูมีเทคนิคหรือรูปแบบการสอนที่หลากหลาย ครูมีสื่อในการจัดการเรียนรู้ที่อย่างหลากหลายน่าสนใจและปฏิบัติได้จริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัด และประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัด   การเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน และนำผลมาพัฒนา ผู้เรียน 

จุดเด่น

            โรงเรียนบ้านเกาะลิบงส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยดำเนินการ ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร มีรายวิชาและแผนการ เรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และ ชุมชน มีกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร มีแหล่งเรียนรู้ที่ ทันสมัย มีสื่อการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูมีความรู้ ความสามารถ ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีที่หลากหลาย 

จุดที่ควรพัฒนา

 

ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนแบบเชิงรุก (Active Learning) อย่างต่อเนื่อง ปรับการจัดกิจกรรมการสอนให้นักเรียนมีทักษะที่สำคัญเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ ที่ ๒๑ ส่งเสริมกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ และการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.