f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนหาดปากเมง
วันที่   9   มิถุนายน   2565
เข้าชม : 282
Bookmark and Share


 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

          โรงเรียนหาดปากเมง ตั้งอยู่ริมถนนสายตรัง - หาดปากเมง หมู่ที่  4  ตำบลไม้ฝาด  อำเภอสิเกา  จังหวัดตรัง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภายใต้การบริหารโรงเรียนโดยนายพิทักษ์  สัญวงค์  เบอร์โทรศัพท์ 081-8943523  มีจำนวนครูและบุคลากรทั้งหมด 15 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู 12 คน  ครูอัตราจ้าง 1 คน  พนักงานธุรการ 1 คน วิทยาการอิสลาม 1 คน  มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 279 คน จำแนกเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 43  คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 191 คน  และะดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน  45 คน 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564

1.       ระดับการศึกษาปฐมวัย  สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ยอดเยี่ยม

1.1   มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ

     ยอดเยี่ยม

สรุปผล และแนวทางการพัฒนา

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อสรุปและนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดังนั้น จากผลการพัฒนาของสถานศึกษา สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมของจุดเด่น             จุดควรพัฒนาของแต่ละมาตรฐาน พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาในอนาคตและความต้องการการช่วยเหลือ ได้ดังนี้

จากผลการพัฒนา โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้ จัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบความสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ในแต่ละมาตรฐาน

ทั้งนี้ ผลพัฒนาการเด็กในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

การพัฒนาด้านร่างกาย เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีการเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว   มีการทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดีมีทักษะในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและสามารถปฏิบัติจนเป็นนิสัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตรายต่าง ๆ 

การพัฒนาด้านอารมณ์ เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม ยอมรับและพอใจในความสามารถของตนเองและผู้อื่นมีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดีงาม เด็กกล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน และรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง

การพัฒนาด้านสังคม เด็กสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และข้อตกลงของห้องได้ เด็กมีวินัยในตนเอง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม การทักทาย เป็นต้น เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

การพัฒนาด้านสติปัญญา เด็กมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้ เด็กสามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยได้อย่างเหมาะสมกับวัย และเด็กสามารถใช้เทคโนโลยี เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จากกิจกรรมบ้านนักวิทยศาสตร์น้อย  การจัดการเรียนการสอนปฐมวัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ          On hand/ On Demand / On line

ในด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา       มีความเข้าใจปรัชญา แนวคิด หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนหาดปากเมงพุทธศักราช 2560 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) ให้มีความทันสมัย และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปรับให้สอดคล้องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  รูปแบบการสอน  On hand/ On Demand / On line โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน  และมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการจัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอนให้เพียงพอกับชั้นเรียน และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล สถานศึกษาอำนวยความสะดวก จัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ที่พอเพียง และนอกจากนั้นสถานศึกษามีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ในด้านกระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ พบว่าครูมีความรู้ ความเข้าใจ                        ในกระบวนการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ ครูรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์โดยตรง ด้วยการเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข โดยจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กครบทุกด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้นสติปัญญา   ครูจัดห้องเรียนให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท มีความปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็กและพื้นที่จัดกิจกรมที่เหมาะสม ครูให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดห้องเรียน เช่น ป้ายนิเทศ การทำความสะอาดห้อง การดูแลตันไม้ เป็นต้น  ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย แต่ไม่ใช่การใช้แบบทำสอบในการวิเคราะห์ผล และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  มีรูปแบบการสอน  On hand/ On Demand / On line โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน การประเมินพัฒนาการเด็กให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน

จุดเด่น

1)      เด็กมีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี รู้จักรักษาความปลอดภัยของตนเอง – ผู้อื่นและเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ประสาน สัมพันธ์กัน

2) เด็กมีอารมณ์ที่แจ่มใส และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย

4) เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้

4) เด็กมีทักษะการคิดพื้นฐานและทักษะการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

จุดที่ควรพัฒนา

1) ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิดวิเคราะห์ การกล้าแสดงออก

2) ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาและจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการคิดรวบยอดเพิ่มมากขึ้น

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1) ควรมีการส่งเสริมให้เด็กมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์แบบผังความคิด

2) การส่งเสริมและพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการคิดรวบยอดเพิ่มมากขึ้น

3) จัดหาสื่อ อุปกรณ์ เครื่องเล่นสนาม เพื่อพัฒนาประสบการณ์ผู้เรียนที่เน้นทักษะกระบวนการคิดในรูปแบบหลากหลาย

      4) จัดทำโครงการให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ความต้องการช่วยเหลือ

1)      จัดหาสื่อ อุปกรณ์เครื่องเล่นสนาม ให้เพียงพอกับจำนวนเด็ก

 

         

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ดีเลิศ

     1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

       โรงเรียนมีกระบวนการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ ด้วยรูปแบบการบริหารตามวงจร

คุณภาพ PDCA , HPMS Pakmeng Model (3-3-4-5)  มาขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย   โดยกระบวนการพัฒนามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีการพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง เพื่อปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) มีการปรับการเรียนการสอนโดยเน้นเนื้อหาที่จำเป็น  ตัวชี้วัดที่ควรรู้ ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานใน 3 รูปแบบ ได้แก่  On Line  On Demand  และ On Hand  มีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์  การจัดการเรียนการสอน การแก้ปัญหาและการพัฒนาคุณภาพนักเรียน เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยปรับรูปแบบการประเมินผลให้เข้ากับสถานการณ์  และสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ มาตรฐานและตัวชี้วัด

            ผลการพัฒนา

                 การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนหาดปากเมงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานใน 3 รูปแบบ ได้แก่  On line  On Demand  และ On Hand  ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ สามารถสืบค้นข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ต มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ดีตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ สามารถเป็นผู้นำให้กับครูในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แม้จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับผู้เรียนให้มากที่สุด  ครูมีการพัฒนาตนเองในการสร้างสื่อนวัตกรรม โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีเกิดประสิทธิภาพสูงสุด  ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน  เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1.       ด้านคุณภาพผู้เรียน

1.1   เน้นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน  การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณให้มากยิ่งขึ้น

1.2   พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

1.3   พัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ชิ้นงานที่ภาคภูมิใจของผู้เรียนให้มีความหลากหลาย

              และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1.4    ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล

1.5    ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด

2.       ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ

2.1   ปรับเปลี่ยนเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและ

              สถานการณ์ในปัจจุบันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2.2   การประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องในการร่วมกันพัฒนาสถานศึกษาให้เป็น

              รูปธรรมมากยิ่งขึ้น

3.       ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.1   เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสอน สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม เป็นตัวขับเคลื่อน

              ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน  การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณให้มากยิ่งขึ้น

3.2    ครูประจำวิชาประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหาความสามารถในการอ่าน

              การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณเป็นรายบุคคล

3.3   ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองในสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบในรูปแบบที่หลากหลาย  เพื่อ

              นำความรู้มาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

3.4   การอบรมสั่งสอนหรือการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่

              สถานศึกษากำหนด

          จุดเด่น

      1. การปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) แบบผสมผสานใน 3 รูปแบบ ได้แก่  On line  On Demand  และ On Hand  ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

      2.  ความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการทางด้านการอ่าน การเขียน  และการคิดคำนวณ

               3.  นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองมาก

          ยิ่งขึ้น

4.        ความร่วมมือในการบริหารและการจัดการ  การแก้ปัญหาการดำเนินงานท่ามกลางสถานการณ์การ

           แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

5.       ครูได้เข้ารับการอบรมให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ

           สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้พัฒนาวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพนักเรียนได้ 

6.       ครูสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสื่อ นวัตกรรมที่หลากหลาย

7.       ครูสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย

จุดที่ควรพัฒนา 

1.       เร่งพัฒนาด้านการอ่านออกและเขียนได้ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 13

2.       ปรับปรุง และพัฒนานักเรียนให้มีผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน

ระดับชาติ (NT) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้นร้อยละ 3)

3.       การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน  การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ

4.       การสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทางการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.