f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านบางเป้า
วันที่   12   พฤษภาคม   2565
เข้าชม : 235
Bookmark and Share


 

 บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

          โรงเรียนบ้านบางเป้า ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๕ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๗๕-๒๗๐๖๒๔ หมายเลขโทรสาร ๐๗๕-๒๗๐๖๒๔ e-mail : 92020029bbp@gamil.com เว็บไซต์โรงเรียน: www.banbangpao.com  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ผู้บริหารสถานศึกษาชื่อ นายฉัตรชัย  จันทโท โทรศัพท์ ๐๘๙-๗๓๘-๙๐๒๓  มีบุคลากรในโรงเรียนทั้งหมด ๑๘ คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการครู ๑๑ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ๑ คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน วิทยากรอิสลาม ๑ คน และช่างปูน ๑ คน มีการจัดการศึกษา ๒ ระดับ คือ

                   ๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย : การศึกษาปฐมวัย (๓ – ๖ ปี)  มีนักเรียนจำนวน ๓๗ คน

          ๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน      :  ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จำแนกเป็น

-          ประถมศึกษา                 มีนักเรียนจำนวน   ๖๖ คน

-          มัธยมศึกษา                  มีนักเรียนจำนวน   ๔๐  คน

                      รวมทั้งสถานศึกษา         มีนักเรียนจำนวน  ๑๔๓  คน

           

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

            ประเมินคุณภาพ การศึกษา 2 ระดับ คือ     

            1. ระดับการศึกษาปฐมวัย : การศึกษาปฐมวัย มีบุคลากรครู จำนวน 3  คน

                                        นักเรียน  จำนวน ๓๗ คน

                        ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

                        1.1 มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมิน อยู่ในระดับ ดีเลิศ  

                        1.2 มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมิน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม   

                        1.3 มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน  อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีบุคลากรครู จำนวน ๑๑  คน

นักเรียน  จำนวน ๑๐๖ คน

                     ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

                    ๒.๑ มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

                   ๒.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

                    ๒.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน                                                      อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

          กระบวนการพัฒนาและผลการพัฒนา

         

          ด้านคุณภาพของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านบางเป้าได้ดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาในระดับการศึกษาปฐมวัย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน On hand และ On demand  โดยครูออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็ก ได้เรียนรู้     ที่บ้านอย่างเหมาะสมตามสภาพความพร้อมและความแตกต่างของแต่ละครอบครัว โดยอาศัยการมีส่วนร่วมระหว่างครูและผู้ปกครองในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก มีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับ โดยการส่งภาพถ่ายการจัดกิจกรรมและชิ้นงานให้ครูผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ อยู่ในระดับดีเลิศ โดยเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนการมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ อยู่ในระดับดีเลิศ พัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม อยู่ในระดับดีเลิศ  และการมีพัฒนาการด้านสิติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อยู่ในระดับดี ส่งผลให้การประเมินในภาพรวมด้านคุณของภาพเด็กต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ของสถานศึกษา

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านบางเป้า ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์  และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน  มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่  การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น และทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยพิจารณาจากวัยของเด็ก ประสบการณ์ของเด็ก เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  เสริมสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย  นอกจากนี้ยังมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ รวมไปถึงการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ อีกทั้งยังมีการบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนที่ชัดเจน มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามาช่วยคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน เพื่อให้การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินงานตามวงจร PDCA มีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ทำให้มีการตรวจสอบและปรับปรุงตลอดเวลา ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนาและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุง แก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผลการประเมินจากการพัฒนาตามรายมาตรฐาน อยู่ในระดับยอดเยี่ยมทุกมาตรฐาน

ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านบางเป้ามุ่งเน้นความสำคัญของพัฒนาการ    ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ แบบเรียนผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย จัดประสบการณ์การเรียนรู้          ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุก ๆ ด้านให้เหมาะสมกับวัย ดังนี้ ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย       เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ด้านอารมณ์-จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ  ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่  ด้านสติปัญญา มีความคิด      รวบยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสาร และมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย                 จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้ปกครอง ก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จัดบรรยากาศในการเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่เด็ก สร้างความอบอุ่นความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน  และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก มีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน  ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ  และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนต่อไป ทั้งนี้ผลการประเมินจากการพัฒนาตามรายมาตรฐาน อยู่ในระดับยอดเยี่ยมทุกมาตรฐาน ทั้งนี้ได้มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโรงเรียนในด้านต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์โรงเรียน www.banbangpao.com, Facebook โรงเรียนบ้านบางเป้า, กลุ่มไลน์ผู้ปกครองนักเรียน และเอกสารวารสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนบ้านบางเป้า 

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          ๑. การจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกลุ่มอย่างหลากหลาย เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน

           ๒. ส่งเสริมครูในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์ และเน้นให้เด็กปฐมวัยปฏิบัติ
(Active Learning)

           ๓. ประสานความร่วมมือกับชุมชน เครือข่ายผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์เด็ก

  ๔. การนำผลสะท้อนการจัดประสบการณ์ของครู มาเป็นประเด็นในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อไป

จุดเด่น

           สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ครูได้รับการพัฒนาวิชาชีพ มีประสบการณ์และเพียงพอกับการจัดชั้นเรียน ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก

               จุดที่ควรพัฒนา

           การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์  ครูสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข  จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

          กระบวนการพัฒนาและผลการพัฒนา

โรงเรียนบ้านบางเป้ามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีการกำหนดนโยบายและค่าเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม ผู้เรียนมีความสามารถ      ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม มีการนำไปใช้และเผยแพร่ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์และ มีคุณธรรม ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดี พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น ผู้เรียน มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด เป็นแบบอย่างได้ ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย ผู้เรียนสามารถ    อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โดยผู้เรียนมีสุขภาวะ ทางร่างกาย   และจิตสังคม สูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลประเมินในรายมาตรฐานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม โรงเรียน     มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการ ชุมชน นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปได้ในการปฏิบัติ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนที่ชัดเจน           มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย     มีการนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และเป็นแบบอย่างได้มีการใช้หลักการบริหารแบบ   มีส่วนร่วม เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกฝ่าย ได้เข้ามาช่วยคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน เพื่อให้การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินงานตามวงจร PDCA ได้มีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ทำให้มีการตรวจสอบและปรับปรุงตลอดเวลา ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนาและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุง แก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้านของกระบวนการจัดการเรียนการสอน ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ        มีผลประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ครูจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ครูออกแบบ     หน่วยการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาและกิจกรรมตามความสนใจ ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริงผ่านสื่อเทคโนโลยี             และนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ระหว่างรูปแบบ On hand , On demand และ Online ได้แก่ Application: google classroom ,google form, Application: Ka hoot, Application: Line  สื่อวิดีทัศน์ใน YouTube และ Microsoft PowerPoint เป็นต้น อีกทั้งมีสื่อการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีการตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เด็กรักที่จะเรียนรู้ เรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข มีชุมชน    แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้                มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ ครูทุกคนมีการบันทึกผลหลังสอนและรายงานผลการจัดการเรียนการสอนทุกครั้ง รวมไปถึงมีการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน    โดยได้มีการดำเนินงานนิเทศการจัดการเรียนการสอนตามตารางดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ได้มีการเผยแพร่ผล   การดำเนินงานของโรงเรียนในด้านต่างๆ ผ่านเว็บไซต์โรงเรียนบ้านบางเป้า www.banbangpao.com, Facebook       โรงเรียนบ้านบางเป้า, กลุ่มไลน์ผู้ปกครองนักเรียน และเอกสารวารสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนบ้านบางเป้า

 

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑.         ส่งเสริมและพัฒนาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะกระบวนการคิด          เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถคิดค้น เสาะหาและสร้างองค์ความรู้ที่เป็นนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้ตรงกับความต้องการของสังคมในปัจจุบันและอนาคต

๒.         การส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนด้านทักษะอาชีพที่หลากหลายตามความถนัดและความสนใจ     โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำความรู้จักกับอาชีพที่กำลังเป็นกระแส หรือกำลังเป็นที่นิยมในสังคมปัจจุบันเพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคต เช่น ขายสินค้าออนไลน์, รีวิวสินค้า, Youtuber, Gamer, Streamer, Vlogger, Start up เป็นต้น

๓.         ส่งเสริมครูในการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามทักษะ/สมรรถนะ (competency-based approach) นำวิธีการและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เน้นการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดขั้นสูง รวมไปถึงการใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ (inquiry- and problem-based approaches) โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ( Active Learning )

๔.         ส่งเสริมและพัฒนาครูเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงปฏิบัติการด้านทักษะและการใช้นวัตกรรม พร้อมติดตามผลการนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

จุดเด่น

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน

ผู้เรียนมีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง และหลากหลาย ทั้งในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด มีคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ รู้จักการเสาะแสวงหาความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดทำงาน มีเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นพร้อมทั้งมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคมที่ดี โดยผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม รวมไปถึงแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่นโดยไม่มีความขัดแย้ง

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ


          โรงเรียนบ้านบางเป้ามีการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ส่งเสริมให้มีการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมไปถึงผู้บริหารมีการแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน    อย่างชัดเจน มีการกำหนดนโยบายและการวางแผนเพื่อบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและมีการตรวจสอบติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดงานโดยเน้น การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร       มีหัวหน้าฝ่ายทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงาน และได้กำหนดบทบาทหน้าที่การดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของโรงเรียน นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการจัดการและปรับปรุงระบบงานโดยใช้แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อให้บุคลากรของโรงเรียนได้ร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุผลตามแผนพัฒนาการศึกษา และมีการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผลการดำเนินตามโครงการและกิจกรรม เกิดประสิทธิผลบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ผ่านทาง Google Form พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การประชุมครู การประชุมผู้ปกครองนักเรียน การประชุมกรรมการสถานศึกษา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรม Google Meeting หรือ โปรแกรม Zoom

          มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

          ครูมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการพัฒนางานสอน ครูสอน         ตรงวิชาเอก  และดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

          จุดที่ควรพัฒนา

          มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน

          ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ได้      ค่อนข้างน้อย โรงเรียนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการรวบรวมองค์ความรู้ได้ทั้งด้วยตัวเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวความคิด โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิต ให้มากขึ้น และควรส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางภาษา การฟัง พูด อ่าน เขียน ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมควรบูรณาการในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น โดยเน้นกิจกรรมโครงงาน การผลิตชิ้นงาน ผลงานนักเรียนให้มากขึ้น ควรจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และทุกระดับชั้น รวมไปถึงควรจัดกิจกรรมการแข่งขันความสามารถด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณให้แก่ผู้เรียนเพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าทางการเรียนและการพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคล

          มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

          โรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานวิชาการ ที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสัญญาณอินเทอร์เน็ตของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน รวมไปถึงควรจัดให้มีอาคารหรือห้องปฏิบัติการที่เน้นทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้  โดยมีการนิเทศติดตามเป็นระบบที่ชัดเจน

          มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          ควรพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย ทักษะพื้นฐานในการรู้หนังสือ  ทักษะการคิด  ทักษะการทำงาน ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และทักษะการใช้ชีวิต และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะในรายวิชาต่างๆที่หลากหลาย โดยควรเน้นที่   การจัดการเรียนการสอนตามทักษะ/สมรรถนะ (competency-based approach) นำวิธีการและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดขั้นสูง และการใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ (inquiry-and problem-based approaches) กระตุ้นและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชนมาสนับสนุนการเรียนการสอน



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านควนอารี 15 มิ.ย. 2565
     แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบ้านพรุใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 14 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 14 มิ.ย. 2565
     การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖4 13 มิ.ย. 2565
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา 13 มิ.ย. 2565


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.